ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 30, 2020, 09:35:17 PM »

กยท. เผยสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราดีขึ้นเกือบ 100 % ย้ำชาวสวนยางการ์ดอย่าตก เชื้อร้ายอาจกลับมาอีก     


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบพื้นที่ติดโรคเหลือเพียง 20 ไร่เศษ จากพื้นที่เคยติดโรคเกือบ 8 แสนไร่ ผลพวงจากการผลัดใบตามธรรมชาติและสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ย้ำเกษตรกรชาวสวนยางอย่าชะล่าใจหมั่นตรวจสอบสวนยางพาราของตน หากพบโรคให้รีบแจ้ง กยท. ทันที

ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ล่าสุดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราว่ามีแนวโน้มดีขึ้น หลังลงพื้นที่สำรวจสวนยางพาราที่เคยได้รับรายงานการติดเชื้อทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล พังงา ตรัง พัทลุง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี พบว่าต้นยางพาราที่ยังคงติดเชื้อโรคใบร่วงชนิดใหม่ฯ เหลือเพียง 20 ไร่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น หลัง กยท. พบรายงานการระบาดของโรคดังกล่าวตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2562 ในจังหวัดนราธิวาส และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อราที่ฟุ้งกระจายในอากาศ ส่งผลให้มีต้นยางพาราติดเชื้อเกือบ 8 แสนไร่ ทั่วประเทศ กยท. จึงร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) บูรณาการร่วมกันในการเร่งแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ด้วยการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาเชื้อ และนำระบบดาวเทียมเข้ามาช่วยสำรวจพื้นที่ที่ติดเชื้อ รวมถึงใช้สารเคมีในกลุ่มกำจัดเชื้อรา ฉีดพ่นสวนยางที่ติดเชื้อด้วยเครื่องพ่นแรงดันสูงแบบลากสาย และแอร์บรัช จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด
ดร.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ทำให้โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราดีขึ้น ผลพวงส่วนหนึ่งมาจากการผลัดใบตามธรรมชาติของต้นยางพารา เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพุ่มใบของต้นยางพารา เมื่อยางทิ้งใบร่วงจนหมดทำให้เชื้อราหายไปค่อนข้างเยอะ กอบกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ไม่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อ

?เกษตรกรต้องหมั่นตรวจสอบสวนยางพาราของตนเอง และบำรุงต้นยางพาราอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากช่วงยางผลัดใบต้นยางพาราจะค่อนข้างอ่อนแอ ควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งฤดูฝนที่กำลังจะเข้ามาจะเอื้ออำนวยต่อการเพาะเชื้อ เกษตรกรไม่ควรชะล่าใจ หากพบการระบาดหรือติดเชื้อให้รีบแจ้ง กยท. ในพื้นที่เพื่อเข้าตรวจสอบอย่างเร่งด่วน?

   

    link ที่มา : ThaiPR.net



(ติดตามข่าวสารเรื่องยางอย่างใกล้ชิด พร้อมบทวิเคราะห์-แนวโน้มราคายาง)