ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2019, 09:29:10 AM »

นราธิวาสเร่งสกัดโรคยางใบร่วง ระบาด6อำเภอกว่า2 แสนไร่
24 ตุลาคม พ.ศ. 2562            ?หนังสือพิมพ์แนวหน้า   
       
             นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติกล่าวว่า จากสถานการณ์พบการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา จ.นราธิวาส ได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรเรื่องการเคลื่อนย้ายวัสดุปลูก ใบยาง กิ่งตายาง อย่าเคลื่อนย้ายไปจังหวัดหรือพื้นที่อื่น ด้วยว่าขณะนี้มีรายงานเฝ้าระวังและตรวจเช็คอยู่ว่าในจ.ปัตตานีและยะลาอาจมีการติดเชื้อของโรคใบร่วงในยางพารา จึงเฝ้าระวังใน 3 จังหวัดชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรฯประสานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เตรียมใช้สารเคมีโดยจะใช้โดรนขึ้นบินและพ่นสารเคมีเพื่อทดสอบว่าวิธีนี้จะยับยั้งการระบาดเชื้อราของโรคใบร่วงในยางพาราได้หรือไม่         
ทั้งนี้ เลขาธิการสภาเกษตรกรฯทำหนังสือถึงประธานสภาเกษตรกรจังหวัด 3 จังหวัดคือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ขอให้สำรวจพื้นที่เพื่อควบคุม และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์ เพื่อต้านทานโรคใบร่วงในยางพารา ส่วนความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยจะหารือกยท.ดูระเบียบใช้กองทุนพัฒนายางพาราโดยเฉพาะ 5   เรื่อง สวัสดิการช่วยผู้ประสบกอุทกภัย วาตภัย หรือภัยจากโรคระบาด ไปเยียวยาให้เกษตรกรที่เกิดโรคระบาดนำไปดูแลยับยั้งเชื้อหรือนำไปซื้อปุ๋ยบำรุงต้นยางต่อไปได้หรือไม่
ด้าน นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เผยว่า โรคใบร่วง ในยางพาราพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเริ่มมีมา 2 ปีแล้วแต่ไม่รุนแรงเหมือนปีนี้ สาเหตุจากลมพัดมาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุกเหมือนกับภาคใต้ของไทย จากการจัดเก็บข้อมูลการระบาดใน จ.นราธิวาสพบระบาดมากคือ อ.แว้ง 83,000 ไร่  สุไหงปาดี 57,000 ไร่  สุคิริน 34,250 ไร่ สุไหงโก-ลก 12,000 ไร่ อ.ระแงะคิดเป็น 70% ของพื้นที่  รือเสาะคิดเป็น 90-100% ของพื้นที่ คำแนะนำเบื้องต้นให้เกษตรกรหยุดกรีดยางแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์และต้านทานโรค ทั้งนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาสประสาน กยท.สุไหงโก-ลก ทดลองใช้โดรนบรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อราโปรยทางอากาศให้ต้นยางในพื้นที่ต.โละจูด หากได้ผลจะนำขยายไปพื้นที่ระบาดอำเภออื่นต่อไป