ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2019, 07:54:24 AM »

ลับ ลวง พราง รายได้ประกันชาวสวนยาง กิโลละ 60 บาท


 


27 Aug 2019  ที่มา ฐานเศรษฐกิจ


ชาวสวนปักษ์ใต้เดือด จนแต้มพยายามเสนอ ?เฉลิมชัย? รายได้ประกันสวนยางแผน 60 บาท/กก. วิธีอื่น แต่ไร้สนองตอบ จำยอมต้องคล้อยตาม หวั่นยืดเยื้อ ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน  บิ๊ก กยท.ปูดจ่ายเงินได้ ม.ค.ปี 63 เคว้ง ?ทศพล?  ผวารัฐเมินชดเชยคนไร้เอกสารสิทธิ์ คนกรีดยาง แนะชดเชยน้ำยางทุกหยด ส่งเสริมแปรรูปล้อยางใช้ในประเทศ ดันราคายาง

 
นายมนัส  บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? หลังประชุมกับนายเฉลิมชัย อ่อนศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กยท.ตั้งธงอยู่แล้วที่จะชดเชยรายได้ราคายางแผ่นดิบตามสูตรคำนวณที่คิดมา โดยไม่ได้ฟังเสียงชาวสวนยางเลย จำเป็นต้องคล้อยตาม เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น แต่ปัญหาก็คือการออกแบบจ่ายเงินชดเชยรายได้ยางแผ่น กิโลกรัมละ 60 บาทยืดเย้อ หลายขั้นตอน และซับซ้อน ซ่อนเงื่อน  ระยะเวลาต้องเร่ง เพราะ กยท.บอกว่าเดือนมกราคมถึงจะจ่ายเงิน และขั้นตอนจะต้องลดเพื่อจ่ายให้เร็วขึ้น

สอดคล้องนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.) กล่าวว่า รัฐควรจะแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางอยู่อย่างแร้นแค้น แม้ว่าส่วนตัวจะไม่ปลื้มในการจ่ายเงินชดเชย เพราะจะต้องไปแยกจ่ายให้กับผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น แต่ในส่วนผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และคนกรีดยาง รัฐบาลยังไม่ฟันธงว่าจะได้รับหรือไม่ ดังนั้นเสนอให้ชดเชยทุกกิโลฯยาง แล้วพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทั้งประเทศจะต้องได้รับการชดเชยรายได้สิทธิเท่าเทียมกัน แล้วก็ให้เร่งแก้ไขปัญหาระยะกลาง และระยะยาว กยท.จะต้องเร่งรัดและให้การสนับสนุน

ปิดท้าย นายทวี ขวัญศรีสุทธิ์ นายกสมาคมผลิตยางแผ่นลุ่มน้ำทะเลใต้ กล่าวว่า ยางพาราอยู่ในสถานะอาการโคม่า ก็จำเป็นที่จะต้องรับการรักษานั่นคือผลประโยชน์ของเกษตรกรที่จะได้รับการชดเชยรายได้ แต่ในโครงการระยะยาวนั้นต้องการดึงยางออกจากระบบโดยเร็ว เพี่มใช้ยางในประเทศ โดยการแปรรูปล้อยาง โดยให้หน่วยงานรัฐและชาวสวนร่วมกันใช้เอง ราคายางจะปรับขึ้นอัตโนมัติโดยไม่ง้อตลาดต่างประเทศ