ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2019, 08:14:42 AM »คึก! "วันนี้" นัดถกด่วนแก้ยางตกเตรียมบุกกรุงเสนอ "สุนันท์" 26 ส.ค.
25 Aug 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
?สุนันท์? เทียบหนังสือเชิญ 15 อรหันต์เข้ากรุงแก้ปัญหาราคายาง 26 ส.ค.นี้ ด้านรัฐมนตรีเกษตร เตรียมเดินหน้าเปิด"ตลาดไทยคอม" ดันไทยเป็นผู้นำกำหนดชี้ชะตาราคายางขายทั่วโลก
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมาผลการประชุมแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ครั้งที่ 3/2562 เพื่อติดตามการแก้ปัญหายางพาราที่มีผลกระทบต่อราคาและเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ในราคายางแผ่น 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด DRC 100% ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย DRC 100% ราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม คิดพื้นที่ยางจากสวนยางที่อายุ 7 ปีขึ้นไป การจ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้งคือ ตุลาคม 2562 - พฤศจิกายน 2562 ธันวาคม 2562 - มกราคม 2563 และกุมภาพันธ์ 2563 วิธีการจ่ายนั้นจะจ่ายเข้าบัญชีเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 3 หมื่นล้านบาท (เฉพาะผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำนวน 1.1 ล้านราย
แหล่งข่าวการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมหารือโครงการชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการจากผู้แทน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางนั้น ทาง กยท. โดย นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยได้เชิญ 15 ตัวแทนเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรได้ร่วมหารือ ในวันที่ 26 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานเครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ และสมาชิกเครือข่าย กยท. ได้แก่ นายเขศักดิ์ สุดสวาท นายสวัสดิ์ ลาดปาละ นายสงวน สัพโส นายสุรัตน์ เทือกสุบรรณ นายประทบ สุขสนาน นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน นายประเสริฐ จรัญฤทธิกุล นายเกรียงไกร เทพินทร์อารักษ์ และ นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ
นอกจากนี้ยังมีนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสาวยางแห่งประเทศไทย(สยยท.),นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย,นายมนัส บุญพัฒน์ นายสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) และนายทศพล ขวัญรอดประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.)
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า โครงการประกันรายได้ เป็นการหยุดเลือดเท่านั้น ถ้าไม่ทำอะไรเลยราคายางจะถูกกดราคาลงไปอีก เพราะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย และต้องมีมาตรการที่จะต้องทำควบคู่ ต้องไปกำหนดราคาตลาดโลก ตลาดล่วงหน้า เป้าหมายใหญ่ก็คือ ตั้ง "ตลาดไทยคอม" ทำให้ไทยเป็นตลาดกลางของพาราโลกให้ได้
25 Aug 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
?สุนันท์? เทียบหนังสือเชิญ 15 อรหันต์เข้ากรุงแก้ปัญหาราคายาง 26 ส.ค.นี้ ด้านรัฐมนตรีเกษตร เตรียมเดินหน้าเปิด"ตลาดไทยคอม" ดันไทยเป็นผู้นำกำหนดชี้ชะตาราคายางขายทั่วโลก
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมาผลการประชุมแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ครั้งที่ 3/2562 เพื่อติดตามการแก้ปัญหายางพาราที่มีผลกระทบต่อราคาและเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ในราคายางแผ่น 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด DRC 100% ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย DRC 100% ราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม คิดพื้นที่ยางจากสวนยางที่อายุ 7 ปีขึ้นไป การจ่ายเงินชดเชย 2 เดือนครั้งคือ ตุลาคม 2562 - พฤศจิกายน 2562 ธันวาคม 2562 - มกราคม 2563 และกุมภาพันธ์ 2563 วิธีการจ่ายนั้นจะจ่ายเข้าบัญชีเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 3 หมื่นล้านบาท (เฉพาะผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำนวน 1.1 ล้านราย
แหล่งข่าวการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมหารือโครงการชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการจากผู้แทน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางนั้น ทาง กยท. โดย นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยได้เชิญ 15 ตัวแทนเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรได้ร่วมหารือ ในวันที่ 26 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานเครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ และสมาชิกเครือข่าย กยท. ได้แก่ นายเขศักดิ์ สุดสวาท นายสวัสดิ์ ลาดปาละ นายสงวน สัพโส นายสุรัตน์ เทือกสุบรรณ นายประทบ สุขสนาน นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน นายประเสริฐ จรัญฤทธิกุล นายเกรียงไกร เทพินทร์อารักษ์ และ นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ
นอกจากนี้ยังมีนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสาวยางแห่งประเทศไทย(สยยท.),นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย,นายมนัส บุญพัฒน์ นายสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) และนายทศพล ขวัญรอดประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.)
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า โครงการประกันรายได้ เป็นการหยุดเลือดเท่านั้น ถ้าไม่ทำอะไรเลยราคายางจะถูกกดราคาลงไปอีก เพราะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย และต้องมีมาตรการที่จะต้องทำควบคู่ ต้องไปกำหนดราคาตลาดโลก ตลาดล่วงหน้า เป้าหมายใหญ่ก็คือ ตั้ง "ตลาดไทยคอม" ทำให้ไทยเป็นตลาดกลางของพาราโลกให้ได้