ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 17, 2017, 09:58:30 PM »สั่งปิด7วัน 2โรงงานยางแท่งเหม็น แก้ไขรอบสุดท้าย
วันที่: 17 มี.ค. 60 เวลา: 19:37 น. ที่มา มติชนออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เจ้าหน้าที่จาก สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี แพทย์พยาบาลจาก 3 รพ. และคณะจาก รพ.สต. ออกตรวจคัดกรองสุขภาพราษฎร 6 หมู่บ้าน และคนงานใน 2 โรงงาน บ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) และ บ.วงศ์บัณฑิต จก. ต.หนองนำคำ อ.เมือง ผลกระทบจากกลิ่นเหม็นโรงยางวันสุดท้าย ตามคำสั่งนายชยาวุธ จันทร ผวจ.อุดรธานี หลังจากตรวจคัดกรองไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซนต์ จากราว 6,000 คน โดยการตรวจจะมีไปจนถึง 21.00 น.ของวันนี้ เพื่อรอการเดินทางกลับจากที่ทำงานขณะที่เจ้าหน้าที่จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี , สิ่งแวดล้อมภาค 9 , เกษตร จ.อุดรธานี , เกษตรสหกรณ์ จ.อุดธานี และพาณิชย์ จ.อุดรธานี ร่วมเดินทางลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง น้ำกรดหยดยาง ที่ประกอบไปด้วย กรดฟอร์มิค หรือกรดมด , กรดน้ำส้ม และกรดซัลฟิวริก ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในพื้นที่ อ.บ้านผือ , น้ำโสม และนายูง เพื่อนำมาตรวจทะเบียนการค้า , องค์ประกอบ และสารแปลกปลอม หลังจากมีการสุ่มเบื้องต้นว่า ฉลากไม่ระบุชนิดสาร และมีโลหะหนักเจือบนนายชยาวุธ จันทร ผวจ.อุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า สั่งให้ทั้ง 2 โรงงานยางแท่งหยุดเดินเครื่องผลิต 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 21-27 มีนาคมนี้ เพื่อให้รถโมบายตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ตรวจวัดค่าอากาศในบ้านจำปา หมู่ 7 ที่ถือว่าเป็นจุดตัวอย่างทดแทนหมู่บ้านอื่น และให้ทางสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ประสานส่งเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ มาทำการเก็บตัวอย่างอากาศ ให้เจ้าหน้าที่ที่พิสูจน์กลิ่นหาค่าความเหม็นของกลิ่นในวันที่ 27 ที่เป็นวันสุดท้ายที่ให้ปิดทั้ง 2 โรงงาน? วันที่ 28 , 29 มีนาคม ให้สลับกันเดินเครื่องแบบเต็มที่ และวันที่ 30 มีนาคม ให้ทั้ง 2 โรงงานเดินเครื่องจักรพร้อมกัน ซึ่งทุกวันจะเก็บตัวอย่างอากาศตรวจสอบ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการเก็บตัวอย่างอากาศไปตรวจพิสูจน์แล้ว แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อน ที่อยู่ในช่วงระหว่างทั้ง 2 โรงงานกำลังมีการปรับปรุงแก้ไข คาดว่าหลังจากดำเนินการเก็บตัวอย่างอากาศแล้ว ในวันที่ 5 เมษายน จะเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เคยให้คำแนะนำในการปรับปรุงปล่องควันของทั้ง 2 โรงงาน มาร่วมประชุมพิจารณาอีกครั้ง ?นายชยาวุธฯ กล่าวอีกว่า จะดูผลว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้อุตสาหกรรมจังหวัด ในฐานะเจ้าพนักงานโรงงาน ออกคำสั่งตามมาตรา 37 พรบ.โรงงาน ให้แก้ไขปรับปรุงอีกครั้งตามผลการตรวจสอบ โดยค่าที่จะได้ผลออกมา จะเป็นค่าที่นำไปใช้เทียบเคียงตาม พรบ.โรงงาน 23 โรงงานประเภทอื่น เนื่องจากทาง พรบ.โรงงาน ไม่มีค่ามาตรฐานของโรงงานยางพารา หลังจากมีการสั่งให้หยุดปรับปรุง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เราใช้เทียบเคียงกับค่าอื่น คงต้องเสนอต่ออธิบดีกรมโรงงาน ใช้อำนาจตามมาตรา 32 วรรค 2 สั่งให้ปิดโรงงานต่อไป ซึ่งทั้งหมดไม่ได้เป็นการซื้อเวลา แต่คงต้องใช้เวลาบ้าง เพราะว่าตามกฎหมายไม่มีค่ามาตรฐานของโรงงานยางพารากำหนดไว้
วันที่: 17 มี.ค. 60 เวลา: 19:37 น. ที่มา มติชนออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เจ้าหน้าที่จาก สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี แพทย์พยาบาลจาก 3 รพ. และคณะจาก รพ.สต. ออกตรวจคัดกรองสุขภาพราษฎร 6 หมู่บ้าน และคนงานใน 2 โรงงาน บ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) และ บ.วงศ์บัณฑิต จก. ต.หนองนำคำ อ.เมือง ผลกระทบจากกลิ่นเหม็นโรงยางวันสุดท้าย ตามคำสั่งนายชยาวุธ จันทร ผวจ.อุดรธานี หลังจากตรวจคัดกรองไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซนต์ จากราว 6,000 คน โดยการตรวจจะมีไปจนถึง 21.00 น.ของวันนี้ เพื่อรอการเดินทางกลับจากที่ทำงานขณะที่เจ้าหน้าที่จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี , สิ่งแวดล้อมภาค 9 , เกษตร จ.อุดรธานี , เกษตรสหกรณ์ จ.อุดธานี และพาณิชย์ จ.อุดรธานี ร่วมเดินทางลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง น้ำกรดหยดยาง ที่ประกอบไปด้วย กรดฟอร์มิค หรือกรดมด , กรดน้ำส้ม และกรดซัลฟิวริก ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในพื้นที่ อ.บ้านผือ , น้ำโสม และนายูง เพื่อนำมาตรวจทะเบียนการค้า , องค์ประกอบ และสารแปลกปลอม หลังจากมีการสุ่มเบื้องต้นว่า ฉลากไม่ระบุชนิดสาร และมีโลหะหนักเจือบนนายชยาวุธ จันทร ผวจ.อุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า สั่งให้ทั้ง 2 โรงงานยางแท่งหยุดเดินเครื่องผลิต 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 21-27 มีนาคมนี้ เพื่อให้รถโมบายตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ตรวจวัดค่าอากาศในบ้านจำปา หมู่ 7 ที่ถือว่าเป็นจุดตัวอย่างทดแทนหมู่บ้านอื่น และให้ทางสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ประสานส่งเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ มาทำการเก็บตัวอย่างอากาศ ให้เจ้าหน้าที่ที่พิสูจน์กลิ่นหาค่าความเหม็นของกลิ่นในวันที่ 27 ที่เป็นวันสุดท้ายที่ให้ปิดทั้ง 2 โรงงาน? วันที่ 28 , 29 มีนาคม ให้สลับกันเดินเครื่องแบบเต็มที่ และวันที่ 30 มีนาคม ให้ทั้ง 2 โรงงานเดินเครื่องจักรพร้อมกัน ซึ่งทุกวันจะเก็บตัวอย่างอากาศตรวจสอบ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการเก็บตัวอย่างอากาศไปตรวจพิสูจน์แล้ว แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อน ที่อยู่ในช่วงระหว่างทั้ง 2 โรงงานกำลังมีการปรับปรุงแก้ไข คาดว่าหลังจากดำเนินการเก็บตัวอย่างอากาศแล้ว ในวันที่ 5 เมษายน จะเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เคยให้คำแนะนำในการปรับปรุงปล่องควันของทั้ง 2 โรงงาน มาร่วมประชุมพิจารณาอีกครั้ง ?นายชยาวุธฯ กล่าวอีกว่า จะดูผลว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้อุตสาหกรรมจังหวัด ในฐานะเจ้าพนักงานโรงงาน ออกคำสั่งตามมาตรา 37 พรบ.โรงงาน ให้แก้ไขปรับปรุงอีกครั้งตามผลการตรวจสอบ โดยค่าที่จะได้ผลออกมา จะเป็นค่าที่นำไปใช้เทียบเคียงตาม พรบ.โรงงาน 23 โรงงานประเภทอื่น เนื่องจากทาง พรบ.โรงงาน ไม่มีค่ามาตรฐานของโรงงานยางพารา หลังจากมีการสั่งให้หยุดปรับปรุง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เราใช้เทียบเคียงกับค่าอื่น คงต้องเสนอต่ออธิบดีกรมโรงงาน ใช้อำนาจตามมาตรา 32 วรรค 2 สั่งให้ปิดโรงงานต่อไป ซึ่งทั้งหมดไม่ได้เป็นการซื้อเวลา แต่คงต้องใช้เวลาบ้าง เพราะว่าตามกฎหมายไม่มีค่ามาตรฐานของโรงงานยางพารากำหนดไว้