ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2016, 07:54:52 AM »

พื้นที่ตอนกลางของจังหวัด Sulawesi ในอินโดนีเซียจะปลูกยางมากขึ้น




 เกษตรกรในจังหวัด Sulawesi ในภาคกลางของอินโดนีเซียเริ่มปลูกต้นยางพาราภายหลังจากที่องค์การป่าไม้มองเห็นศักยภาพเชิงเศรษฐกิจจากต้นยางพารา


    ตามข้อมูลขององค์การป่าไม้แสดงถึงการขยายตัวในการเพาะปลูกยางในจังหวัดSulawesi และเจ้าหน้าที่ของจังหวัดยังประมาณการว่ายางพาราจะกลายเป็นสินค้าเกษตรหลักเนื่องจากเกษตรกรเริ่มปลูกต้นยางมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาพื้นที่Sulawesi (BRPRS) ระบุว่าพื้นที่ปลูกต้นยางทางตอนกลางของจังหวัดSulawesi มีถึง 6,520 เฮกตาร์ ให้ผลผลิตน้ำยาง 7,216 ตันต่อปี


    นาย Nahardiหัวหน้าองค์การป่าไม้ระบุว่า ปัจจุบันต้นยางในหมู่บ้าน Malonasและเขต Donggala มีการกรีดแล้วราว 30,000 ต้น และทางหน่วยงานก็ได้ส่งเสริมการปลูกยางเนื่องจากเป็นพืชที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง


    ?ผู้รับซื้อยางส่วนใหญ่ในจังหวัด Sulawesi จะติดต่อกับเกษตรกรโดยตรง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการขายน้ำยาง? นาย Nahardiกล่าวว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกยางเพราะในพื้นที่ปลูกยังสามารถใช้ปลูกพืชชนิดอื่นได้อีก โดยเฉพาะพืชที่ช่วยสร้างรายได้เสริมแต่ก็ต้องชักชวนมากขึ้นเพื่อเร่งการปลูกเนื่องจากประชาชนในจังหวัดนี้ไม่คุ้นเคยกับต้นยางพารา


    ?ในระยะแรกนั้นค่อนข้างยากในการชักชวนพวกเขา บางหมู่บ้านถึงกับปฏิเสธที่จะปลูกยาง แต่ภายหลังจากที่หมู่บ้านข้างเคียงประสบความสำเร็จในการปลูกยาง พวกเขาจึงเห็นความสำคัญมากขึ้น?


    อย่างไรก็ตาม ในเขต Morowaliตอนเหนือ กลับมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่อาศัยในพื้นที่กล่าวว่าราคายางในพื้นที่ยังคงตกต่ำซึ่งปัจจุบันเกษตรกรสวนยางได้ขายน้ำยางให้กับผู้รับซื้อที่ราคา 6,000 รูปีต่อกิโลกรัม (0.46 เหรียญสหรัฐ) ในขณะที่ก่อนหน้านี้เคยมีราคาสูงถึง 20,000 รูปีต่อกิโลกรัม


    น้ำยางเป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของจังหวัด LemboและจังหวัดLemborayaทางตอนเหนือของเขต Morowaliเกษตรกรจึงประสบกับปัญหาราคายางลดลง  ซึ่งเกษตรกรในหมู่บ้าน Lembarและ Lemboกล่าวว่าการที่ราคายางตกต่ำทำให้เกษตรกรบางรายเริ่มไปทำอาชีพคนงานก่อสร้างหรือเป็นคนงานในสวนปาล์มน้ำมัน โดยมีรายได้ราว 70,000 รูปีต่อวัน และเกษตรกรบางรายก็ได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในนาและเริ่มปลูกต้นโกโก้และกานพลู
   
    (ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 28/09/2016)