ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2016, 02:41:51 PM »

สิ่งดีๆสมควรแชร์  เมืองตรัง ต้นแบบ "ยางแผ่นพรีเมียม" พร้อมขยายเครือข่ายทั้งจังหวัด 
 
 
 
นอกจากประเทศไทยจะเป็น ?เอก? ของโลก ด้านการผลิตและส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลกแล้ว เรายังมีชื่อเสียงเรื่องการผลิตยางคุณภาพ
 

 
 
 หนึ่งในยางคุณภาพขึ้นชื่อของไทย คือ ยางแผ่นรมควัน ยางประเภทนี้ต้องใช้ความพิถีพิถันในการผลิต โดยเฉพาะความสะอาดต้องใช้ความละเอียดทุกขั้นตอน
 
 
 แต่เมื่อเทรนด์ความต้องการใช้วัตถุดิบยางที่เปลี่ยนไป ทำให้ ?ยางแท่ง? เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับภาวะราคายางตกต่ำเกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันมาผลิตยางก้อนถ้วยป้อนอุตสาหกรรมยางแท่งเป็นหลัก ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตยางแผ่น เป็นต้น
 
 
 
 หากแต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นคุณภาพ ยังคงมีความต้องการยางใช้แผ่นรมควัน เช่น ล้อยางรถยนต์ พื้นรองเท้า และสายพานต่างๆ เป็นต้น
 
 
 ขณะที่บริษัทผู้ผลิตยางเองก็ประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบยางแผ่นรมควัน มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมการผลิตสินค้า ภายหลังจึงมีบางบริษัทจับมือกับสหกรณ์ผู้ผลิตยาง เพื่อควบคุมการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะทำให้ได้คุณภาพตามความต้องการ พร้อมกับซื้อยางราคาสูง ดังตัวอย่างของ กลุ่มบริษัท IRC กับ สหกรณ์กองทุนสวนยางคลองปาง จำกัด ใน จ.ตรัง เป็นต้น
 
 สอดคล้องกับ นโยบายของ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่มุ่งเน้นให้กลุ่มเกษตรกรหันมาผลิตยางคุณภาพ และมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ยางมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะซื้อยางในราคาสูง
 
 
 เรื่องนี้ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า กยท. มีต้องการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปขั้นกลางเป็นยางแผ่นรมควัน ซึ่งในแต่ละปีมีปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันหลายล้านบาท อย่างในปี 2558 ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกยางแผ่นรมควันประมาณ 6.4 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 35,628 ล้านบาท 
 
 
 ทั้งนี้เพื่อให้คุณภาพของยางแผ่นรมควันได้มาตรฐานสากล กยท.จึงมีการออกใบรับรองมาตรฐาน GMP ให้กับโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 5906-2556 เรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตยางแผ่นรมควัน (GOOD MANUFACTURING PRACTICES FOR RIBBED SMOKED SHEET) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องอุตสาหกรรมยาง ของ กยท. เริ่มตั้งแต่น้ำยางที่กรีดลงถ้วย ภาชนะที่ใส่ การรีดยาง การรมควัน คัดชั้นคุณภาพ การบรรจุ และขนส่ง ทุกขั้นตอนจะถูกควบคุมอย่างละเอียด
 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย[/c][/t] 
  ขณะนี้ กยท. ดูแลและส่งเสริมการดำเนินงานธุรกิจแปรรูปด้วยการสร้างโรงอบ/รมยางของสหกรณ์กองทุนสวนยาง ทั่วประเทศ จำนวน 176 แห่ง และ จังหวัดตรัง เป็นหนึ่งในลำดับต้นๆ ของประเทศที่มีสหกรณ์ดำเนินธุรกิจในการแปรรูปยางแผ่นรมควันมากถึงจำนวน 30 สหกรณ์ นับว่าเป็นจังหวัดตัวอย่างที่เกษตรกรและสถาบันเกษตรมีความต้องการยกระดับสินค้าของตนเอง พร้อมรับเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐาน GMP ยางแผ่นรมควัน
 
 
 
 ล่าสุด กยท. ได้ให้การตรวจรับรองมาตรฐาน GMP โรงงานยางแผ่นรมควันและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 5 สหกรณ์ ใน จ.ตรัง ได้แก่ 
 สหกรณ์กองทุนสวนยางโพธิ์โทน จำกัด
 สหกรณ์กองทุนสวนยางวังคีรี จำกัด
 สหกรณ์กองทุนสวนยางคลองปาง จำกัด
 สหกรณ์กองทุนสวนยางหนองบัว จำกัด
 และสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองศรีจันทร์ จำกัด
 
 
 ทั้ง 5 สหกรณ์ดังกล่าว ได้ใช้เวลาในการประเมินอย่างเข้มงวดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ส่งผลให้ได้แผ่นยางมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ทั้งความกว้าง ความยาว ความหนา และน้ำหนัก รวมทั้งลักษณะภายนอกอื่นๆ เป็นการยกระดับมาตรฐานยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม และยังคงมีสหกรณ์กองทุนสวนยางอีก 25 สหกรณ์ที่พร้อมจะให้ทาง กยท. เข้าตรวจให้การรับรองมาตรฐาน GMP ตามแนวทางที่จะให้ทั้งจังหวัดทำยางเกรดพรีเมียมมาตรฐาน GMP
 
  ทั้งนี้การผลักดันโรงงานผลิตยางแผ่นรมควันและโรงงานยางอัดก้อนให้ได้ตามมาตรฐาน GMP เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับประโยชน์ทั้งในเรื่องผลิตยางที่มีคุณภาพดี ภายใต้โรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล สามารถต่อรองราคาสินค้าในราคาที่สูงขึ้นได้  และยังส่งผลถึงผู้ประกอบการที่รับซื้อยางก็จะมีความมั่นใจในกระบวนการผลิต และการจัดเก็บ พร้อมทั้งมีความสะดวกในการรับซื้อมากขึ้น ซึ่งทาง กยท. จะเข้าไปตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกษตรกรรักษาคุณภาพยางให้ได้ตามมาตรฐานพรีเมียมที่กำหนดไว้
 
 
 
 
 
 


ที่มา http://yangpalm.blogspot.com/2016/10/blog-post_3.html