ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2016, 06:57:02 AM »

ภัยมืดสารจับตัวยางก้อนถ้วย สร้างความเสียหายต่อคุณภาพยางไทย


 

ปัจจุบันเกษตรกรทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากใช้น้ำน้อย ประหยัดแรงงาน มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่น ต้นทุนการผลิตต่ำยางก้อนถ้วยนับว่าเป็นวัตถุดิบยางขั้นต้นที่ใช้ในการผลิตยางแท่ง โดยมีปริมาณการผลิตทางภาคตะวันออกเฉียง
เหนือและภาคเหนือ 386,173 ตัน และ 55,375 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) หรือร้อยละ 75 และ 70 ตามลำดับ ของผลผลิตยางทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการผลิตยางแท่งหลายรายมักประสบปัญหาเรื่องคุณภาพยางก้อนถ้วยที่ไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการนยางแท่งไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะล้อยางพาหนะ สาเหตุจากการใช้สารจับตัวยางชนิดอื่นที่ไม่ใช่กรดฟอร์มิคในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นกรดซัลฟิวริค เกลือแคลเซียมคลอไรด์ กรดที่อ้างว่าเป็นกรดอินทรีย์ กรดชีวภาพ กรดออร์แกนิค นส้มควันไม้ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

 

ภัยมืดของสารจับตัวยางสารจับตัวยางที่จำหน่ายในภาคอีสานและภาคเหนือมีมากกว่า 30ชนิด บางชนิดใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่สีของสารละลายแตกต่างกัน มีตั้งแต่ใสไม่มีสี สีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้ม สีดำ เป็นต้น

บางชนิดยี่ห้อเดียวกันแต่มีฉลากระบุสำหรับทำยางก้อนถ้วยบ้าง ทำยางแผ่นบ้าง มีทั้งระบุและไม่ระบุถึงวิธีการใช้งาน มีทั้งใช้โดยตรงและต้องเจือจางน้ำ ทั้งหมดจะไม่ระบุชนิดของกรด ไม่ระบุวันเดือนปี ที่หมดอายุ ยกเว้นกรดฟอร์มิคที่จะระบุชื่อว่า?ฟอร์มิค?

จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรภาคอีสานมีปริมาณการใช้กรดซัลฟิวริคถึงร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิคจนทำให้ผู้ประกอบการยางแท่งกังวลว่าผู้ผลิตยางล้ออาจสั่งยกเลิกออเดอร์ยางอีสาน เนื่องจากปริมาณซัลเฟตตกค้างใน
ยางสูงจนกลายเป็นปัญหาใหม่ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมยาง

นอกจากนี้ การใช้กรดดังกล่าวยังก่อมลพิษต่อสุขภาพของแรงงานตามสวนยางและสถานที่รับซื้อ รวมถึงปัญหาน้ำยางเหม็นไหลลงตามถนน จนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชน


 
สารจับตัวยางที่มีส่วนผสมกรดซัลฟิวริค
กรดซัลฟิวริคมีจำหน่ายกันมากทางภาคอีสาน ส่วนใหญ่มักเป็นสารปลอมปนสารเคมีชนิดอื่นลงไปด้วยสารปลอมปนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของยางก้อนถ้วยที่นำไปผลิตเป็นยางแท่งแทบทั้งสิ้น โดยพบว่าสารจับตัวที่จำหน่ายในรูสารละลายมักจะอ้างชื่อต่างๆ นานา เช่น กรดออร์แกนิค กรดชีวภาพ กรดซุปเปอร์ชีวภาพ กรดอินทรีย์ กรดสู้ฝน ทำให้เกษตรกรหลงเชื่อถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

จากการศึกษาพบว่าสารจับตัวตามที่อ้างมีส่วนผสมของเนื้อกรดซัลฟิวริค ร้อยละ 8 ? 25 นอกจากนี้ ยังพบองค์ประกอบของเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมอีกด้วย ส่งผลให้ยางมีความยืดหยุ่นต่ำลง ยางแข็ง ค่าความหนืดสูงยางเสื่อมสภาพเร็ว ทั้งยังทำให้ยางคล้ำ ผิวหน้าเยิ้มปริมาณความชื้นมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐานที่ระบุ ยิ่งนำสารปลอมปนต่าง ๆ เหล่านี้ไปผลิตเป็นยางแผ่นดิบจะเห็นผลชัดเจนขึ้นคือ ยางจะย้วยและอ่อนตัว ไม่สามารถจัดเป็นยางแผ่นดิบคุณภาพดีได้ข้อดีของกรดซัลฟิวริคมีข้อเดียวคือยางจับตัวเร็วภายใน 30 นาที นอกนั้นเป็นข้อเสียของกรดซัลฟิวริคทั้งสิ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำยางก้อนถ้วยเกษตรกรจะต้องหยอดน้ำกรดลงในถ้วยรองรับน้ำยาง การใช้กรดซัลฟิวริคที่เป็นกรดแก่แม้ว่าจะเจือจางแล้วก็ตาม โอกาสที่ไอของน้ำกรดไปสัมผัสกับหน้ากรีดหรือกระเด็นไปโดนหน้ากรีด จะทำให้หน้ากรีดมีสีคล้ำ และมีโอกาสที่จะเกิดอาการเปลือกแห้ง ส่งผลให้ต้นยางมีอายุกรีดได้สั้นลง

ยกตัวอย่างสารออร์แกนิคยี่ห้อหนึ่งระบุว่า ?สามารถใช้แทนกรดน้ำส้มได้เป็นอย่างดี มีราคาถูกกว่า ปลอดภัยกว่า น้ำยางสามารถจับตัวแข็งตัวไวกว่า ก้อนยางสีสวย ไม่ติดก้นถ้วย ไม่มีกลิ่นของสารระเหยที่รุนแรงกับจมูก ไม่แสบคันเมื่อสัมผัส ขี้ยางไม่มีกลิ่นเหม็น?

จากการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบของกรดซัลฟิวริคเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยกรดอะซีติกในปริมาณเล็กน้อย และกรดฟอร์มิคในปริมาณที่น้อยมาก และเมื่อทดลองใช้กรดออร์แกนิคตามที่อ้างเปรียบเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิคเกรดทางการค้าในยางก้อนถ้วยพบว่า ยางแห้งช้า เหนียวเยิ้มที่ผิวของก้อนยาง และเมื่อทดลองนำมาผลิตยางแผ่น ยางที่ใช้กรดออร์แกนิคจะมีสมบัติทางกายภาพต่ำกว่ามาตรฐานยางแท่ง STR 20 โดยเฉพาะค่าความอ่อนตัวเริ่มแรก(Po) ต่ำกว่าการใช้กรดฟอร์มิคประมาณ 10 หน่วย มีค่าความหนืดต่ำกว่าประมาณ 20 หน่วย และมีปริมาณความชื้นที่เกินกว่ามาตรฐานที่ระบุในมาตรการยางแท่ง STRนอกจากนี้ ยังไม่มีความสามารถในการดึงปริมาณแคลเซียมออกจากเนื้อยางทั้งๆ กรดออร์แกนิคตามที่อ้างพบว่า มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และสีของยางก้อนถ้วยยังคงขาวขุ่นทั้ง ๆ ที่ตั้งทิ้งไว้นานนับเดือน ทำให้ยางแผ่นดิบที่ใช้กรดออร์แกนิคชนิดนี้ในการจับตัวยาง เนื้อยางไม่แข็งแรง แผ่นยางเกิดการย้อยตัวจึงสรุปได้ว่าไม่แนะนำให้ใช้กรดออร์แกนิคตามที่อ้างในการผลิตยางดิบทุกประเภท รวมทั้งสารอื่นๆ ที่มักพบทั้งในรูปสารละลายและที่เป็นผง ส่งผลต่อการนำยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางแท่ง โดยเฉพาะสารซัลเฟตที่ตกค้างก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกระบวนการผลิตทำให้เครื่องจักรสึกกร่อนเร็วขึ้น ใช้พลังงานสูงขึ้น

ส่วนน้ำเสียที่เกิดขึ้นมีสีคล้ำยากต่อการบำบัดและส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์จากยางแห้งที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น น้ำหมักชีวภาพ และ น้ำส้มควันไม้


 


 

สถาบันวิจัยยาง ได้กำหนดมาตรฐานยางแผ่นดิบคุณภาพดี ด้วยกรรมวิธีที่ใช้กรดอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย เช่น กรดฟอร์มิค ในการจับตัวยางเพื่อให้ได้ยางแผ่นที่มีสีสวย ไม่มีสารตกค้างในแผ่นยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำยางแผ่นให้มีความสะอาดนั้นจะต้องพิถีพิถันในขั้นตอนการกรอง การใช้น้ำสะอาด แต่การทำยางแผ่นดิบของเกษตรกรบางรายพบว่า มีการใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติหรือสารชีวภาพ เช่น น้ำส้มควันไม้ และ น้ำหมักชีวภาพ ทดแทนการใช้กรดในการจับตัว โดยมีรายงานว่าน้ำส้มควันไม้สามารถยับยั้งเชื้อราได้

ส่วนน้ำหมักชีวภาพมีความเป็นกรดสูงใช้จับตัวยางได้เช่นกัน ทำให้มีผู้ประกอบการหลายรายจำหน่ายทั้งน้ำส้มควันไม้และน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำมาใช้จับตัวยางก้อนถ้วย โดยให้เหตุผลว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น ยางไม่ขึ้นรา จับตัวเร็ว มีการใช้น้ำหมักชีวภาพทั้งในการผลิตยางแผ่นดิบและยางก้อนถ้วย

โดยพบว่าระยะเวลาการจับตัวขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ หากใช้ในปริมาณมากสามารถจับตัวได้เร็วขึ้น แต่ยางแผ่นดิบที่ได้จะมีสีคล้ำมาก เมื่อนำไปจัดชั้นยางจะได้ยางแผ่นคุณภาพคละและจากการทดลองนำน้ำหมักชีวภาพผลิตยางก้อนถ้วยจะต้องใส่ในปริมาณมากถึง 50 มิลลิลิตร ยางจะจับตัวได้อย่างสมบูรณ์ ก้อนยางสีคล้ำ เมื่อนำไปผลิตเป็นยางแท่งจัดได้ยางแท่งชั้น STR 20หากเปรียบเทียบกับยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจะสามารถจัดเป็นชั้น STR 10 ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ ส่วนมากเกษตรกรมักใช้น้ำส้มควันไม้ในการทำยางแผ่น เนื่องจากคิดว่าแผ่นยางไม่ขึ้นรา แต่จากการศึกษาการใช้น้ำส้มควันไม้ ทั้งใส่ จุ่ม แช่ ในยางแผ่นดิบพบว่า ไม่สามารถยับยั้งเชื้อราได้ทุกกรณี ยางแผ่นดิบที่ได้จัดเป็นคุณภาพคละ โดยมีปริมาณสิ่งสกปรกในแผ่นยางมากกว่ายางแผ่นดิบที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิคทั้งยังทำให้ยางแผ่นมีสีคล้ำ ด่าง ดำ การใช้น้ำส้มควันไม้จับตัวในปริมาณที่มากเกินพอจะเสียค่าใช้จ่ายในการทำยางแผ่นเพิ่มขึ้น น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร ราคา 100 บาท หากเกษตรกรใส่ในอัตรา 90มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักยางแผ่น 1 กิโลกรัม จะเสียค่าใช้จ่ายในการทำยางแผ่นถึง 9 บาทต่อกิโลกรัม

ขณะที่ใส่กรดฟอร์มิค 1 ลิตร ราคา 50 บาท มีต้นทุนการใช้กรดไม่เกิน 0.32 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นการผลิตยางแผ่นดิบจึงไม่แนะนำให้ใส่น้ำส้มควันไม้ นอกจากจะส่งผลต่อสมบัติยางแผ่นดิบ แล้วยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการจับตัวด้วยกรดอีกด้วย

เกลือแคลเซียม
เกลือที่มักจำหน่ายเพื่อจับตัวยางก้อนถ้วยมักอยู่ในรูปแคลเซียมคลอไรด์ โดยโฆษณาข้างขวดว่าได้น้ำหนักดี เป็นสูตรสู้ฝน ยางจับตัวดี เป็นต้น ทำให้เกษตรกรบางรายหลงเชื่อใช้เกลือชนิดนี้แทนกรดฟอร์มิค

จากการศึกษาพบว่า ยางที่จับตัวด้วยแคลเซียมคลอไรด์จะแข็งกระด้าง ขาดความยืดหยุ่น ผิวหน้าก้อนยางเหนียวเยิ้ม สีดำ คล้ำ หลังจากที่ตั้งทิ้งไว้นานกว่า 7 วัน พบว่า ก้อนยางมีสีคล้ำมากขึ้นและผิวหน้ายังคงเหนียวเยิ้ม ขณะที่ยางก้อนที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิคจะได้เนื้อยางที่จับตัวแน่นสมบูรณ์ ความยืดหยุ่นดีนอกจากนี้ ผลการทดสอบสมบัติเชิงวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบกับมาตรฐานยางแท่ง STR 10 พบว่า ยางก้อนถ้วยที่ใส่เกลือแคลเซียมคลอไรด์มีปริมาณความชื้นสูงมาก ปริมาณความอ่อนตัวเริ่มแรก และดัชนีความอ่อนตัวต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งบ่งชี้
ถึงยางขาดความยืดหยุ่น ทำให้ยางมีลักษณะเปื่อยยุ่ยขาดความคงทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความหนืดต่ำมาก แสดงถึงโมเลกุลยางถูกทำลาย

อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบสมบัติการคงรูปเป็นข้อแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ายางก้อนถ้วยที่จับตัวด้วยเกลือแคลเซียมคลอไรด์มีค่าความทนแรงดึง การทนต่อแรงยืดจนขาด ทั้งก่อนบ่มเร่งและหลังบ่มเร่ง ต่ำกว่ายางก้อนที่ใช้กรดฟอร์มิคในการจับตัวมาก ส่งผลให้ค่าความหนืดต่ำ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการนำยางเหล่านี้ไปทำเป็นผลิตภัณฑ์และก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิตและมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่นำยางไปใช้


 

กรดฟอร์มิคสถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้กรดฟอร์มิคหรือที่เรียก ?กรดมด?เป็นสารจับตัวยาง เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HCOOH มีคาร์บอนเพียงตัวเดียว จึงนับว่าเป็นกรดอ่อนที่มีความแรงของกรดไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับกรดชนิดอื่น ในทางการค้ามีความเข้มข้น 94% หรือ 90% ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต นับว่ากรดฟอร์มิคเป็นกรดอินทรีย์ชนิดเดียวที่จับตัวยางได้อย่างสมบูรณ์ เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี ซึ่งเป็นสมบัติที่สำคัญที่สุดของยางธรรมชาติ อีกทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ตกค้างในยาง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

ในวงการอุตสาหกรรมด้านยางพารา กรดฟอร์มิคเป็นสารจับตัวยางใช้ในการผลิตยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และยางแท่ง STR 5L สามารถจับตัวสมบูรณ์ได้ภายใน 45 นาที สีของยางที่แห้งแล้วเหลืองสวย ไม่คล้ำยางแห้งเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ

แต่ยังพบเกษตรกรรายย่อยยังคงใช้กรดซัลฟิวริค หรือที่เรียกกรดกำมะถัน ในการทำยางแผ่น ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นกรดแก่ค่อนข้างอันตราย มีกลิ่นเหม็นแสบจมูก หากจะใช้ในการทำยางก้อนถ้วยจะส่งผลกระทบต่อหน้ากรีด เกิดสีดำคล้ำ เพราะไอของกรดมีเกลือซัลเฟตจะเปลี่ยนสภาพเป็นซัลไฟด์ที่มีสีคล้ำ และยังพบว่าเกษตรกรมักใช้ในอัตรามากกว่ากำหนด ซึ่งส่งผลให้แผ่นยางมีสีคล้ำ เกิดฟองอากาศ แผ่นยางเหนียว แห้งช้า เนื้อแข็งกระด้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกษตรกรนำยางไปตากแดด ยิ่งทำให้ยางเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นจัดเป็นยางคุณภาพคละ ซึ่งขายได้ราคาต่ำกว่ายางคุณภาพดีเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.20 บาท

สำหรับต้นทุนของกรดฟอร์มิกอยู่ที่ 0.32 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กรดซัลฟิวริคมีต้นทุนไม่เกิน 0.15 บาทต่อกิโลกรัม ในท้องตลาดมักพบสารละลายกรดซัลฟิวริกที่เจือจางแล้วเข้มข้น 5 - 10% พร้อมใช้บรรจุในขวดขนาด 750 ซีซี ราคาจำหน่ายขวดละ 15-20 บาท

หากจะเปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิค เกรดทางการค้าแล้ว พบว่ามีราคาสูงกว่าถึง 5 เท่าเลยทีเดียว


 
กรดอะซีติค
กรดอะซีติกหรือที่เรียกกรดน้ำส้ม สามารถจับตัวยางได้เช่นกัน แต่กรดชนิดนี้เป็นกรดอ่อนกว่ากรดฟอร์มิคมีกลิ่นฉุน กรดอะซีติค ทางการค้าความเข้มข้น 99.85%แกลลอนขนาด 30 กิโลกรัม ราคา900 บาท ส่วนกรดฟอร์มิค ความเข้มข้น 94% แกลลอนขนาด 35กิโลกรัมราคา 1,300 บาท

แต่ในการทำแผ่นต้องใช้ปริมาตรของกรดอะซีติคมากกว่าฟอร์มิคถึง2 เท่า จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าและในการจับตัวยางยังต้องใช้ระยะเวลาการจับตัวนานกว่า ซึ่งหากเกษตรกรจะใช้ระยะเวลาในการจับตัวเท่ากับที่เคยใช้กรดฟอร์มิคจับตัวยางแล้วเนื้อยางจะจับตัวไม่สมบูรณ์ น้ำเซรั่มยังคงขาวขุ่นจะได้เนื้อยางอ่อน ส่วนสีของแผ่นจะมีสีเหลืองใสเช่นเดียวกับฟอร์มิค ส่วนความยืดหยุ่นต่ำกว่าฟอร์มิก และน้ำเสียที่เกิดจากการใช้กรดอะซีติคมีกลิ่นเหม็นฉุนจากกรดน้ำส้มที่ยังคงตกค้างอยู่



 

สรุปและข้อเสนอแนะ

กรดฟอร์มิค เป็นสารจับตัวยางที่ดีที่สุดสำหรับทำยางทุกชนิดเนื่องจากเป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยง่ายปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม สามารถจับตัวสมบูรณ์ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี สีสวย เหมาะในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด




กรดอะซีติค ถึงแม้ว่าจะเป็นกรดอ่อน แต่มีกลิ่นฉุนใช้ระยะเวลาการจับตัวที่นานกว่า มีราคาแพงกว่ากรดฟอร์มิค

กรดซัลฟิวริค เป็นกรดอนินทรีย์ จัดว่าเป็นกรดแก่ที่อันตราย มีปริมาณซัลเฟตตกค้างในยางก้อนถ้วยมากยากต่อการสลายตัว ถึงแม้ว่าจะจับตัวยางได้เร็วกว่ากรดชนิดอื่นแต่ทำให้ยางรัดตัวแน่น แข็ง ปริมาณความชื้นในยางสูงจากปริมาณซัลเฟตที่ดูดความชื้นจากอากาศ ยางจึงเหนียวเยิ้มและมีสีคล้ำ ในทางการค้ามักมีการเติมเกลือแคลเซียมคลอไรด์จึงทำให้ยางมีความยืดหยุ่นต่ำ สร้างความเสียหายอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรที่สึกกร่อนเร็วอีกทั้งตกค้างในสิ่งแวดล้อม

น้ำส้มควันไม้และน้ำหมักชีวภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรด แต่ก็ส่งผลต่อสมบัติทางกายภาพของยาง ทำให้มีปริมาณสิ่งสกปรกในยางสูง ความหนืดสูง และมีต้นทุนการผลิตมากกว่ากรดฟอร์มิค

เกลือแคลเซียมคลอไรด์ ทำให้ก้อนยางเหนียวเยิ้มสีดำคล้ำ ยางแข็งกระด้าง ความหนืดสูง ความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพต่ำ ปริมาณความชื้นสูง หากนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จะต้องใช้พลังงานในการบดยางสูงโอกาสที่บดผสมยางกับสารเคมียาก และได้ผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพต่ำ

ดังนั้น หากเกษตรกรต้องการซื้อสารจับตัวยางควรศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีและความเข้มข้นที่ระบุข้างขวดเท่านั้น แต่หากไม่มีก็ไม่ควรใช้และหันไปใช้กรดฟอร์มิคซึ่งจะระบุชื่อ ความเข้มข้นอย่างชัดเจน และจากการที่ใช้สารจับตัวยางชนิดที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อการนำยางก้อนถ้วยไปแปรรูปยางแท่งและผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะที่มีปริมาณการใช้จากยางแห้งมากที่สุด และควรช่วยกันรณรงค์มาใช้กรดฟอร์มิค ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสารจับตัวยางที่มีราคาถูกกว่าและคุณภาพดีกว่า

นอกจากนี้ควรนึกถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกเรื่องโดย ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล



ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย