ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 30, 2016, 07:29:42 AM »


ไทย - อินโดฯ - มาเลย์ จับมือเปิดตลาด RRM ส่งมอบจริง 100% การยางฯ เร่งพัฒนากระบวนการชื้อ - ขายราคายุติธรรม เปิดโอกาสสถาบันเกษตรกร เข้าขายยางในตลาด


ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 15:25:30 น.
กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--การยางแห่งประเทศไทย
 
ประเทศไทยจับมือเปิดตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) กับอินโดนีเซียและมาเลเซียพร้อมกันเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา การยางฯ หน่วยงานหลักในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เร่งพัฒนาระบบตลาดด้วยการสร้างตลาดที่มีความยุติธรรมทั้งผู้ซื้อ ? ผู้ขาย และมีการส่งมอบจริง 100 เปอร์เซ็นต์ เปิดโอกาสให้สถาบันเกษตรกร เข้าร่วมในตลาดแห่งแรกของ 3 ประเทศผู้ผลิต


นายสุธี อินทรสกุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค เผยว่า การจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค (Regional Rubber Market : RRM) ร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย ซึ่งเปิดตลาดพร้อมกันไปในวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมานั้นตามมติที่ประชุมระดับรัฐมนตรีไตรภาคียาง (International Tripartite Rubber Council : ITRC) ซึ่งแต่ละประเทศมีข้อกำหนด ระเบียบการซื้อขายยาง วิธีการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงมาตรฐานและชนิดของสินค้าร่วมกันโดยคุณภาพสินค้าประเภทยางแผ่นรมควันใช้มาตรฐาน Green book ส่วนยางแท่ง (Technically specified Rubber: TSR) ใช้มาตรฐานสากลในการควบคุมคุณภาพนอกจากนี้ตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาคได้กำหนดคุณสมบัติผู้ขายยางในตลาด โดยจะต้องมีโรงงานในการผลิตยางแผ่นรมควันและยางแท่งที่ผ่านการอนุมัติรับรอง (Approved factory list) จากตลาดยางสิงคโปร์ (SICOM)เพราะวงการค้ายางทั่วโลกต่างยอมรับใน Approved factory list ของ SICOM โดยมีกระบวนการตรวจสอบเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการคัดกรองบริษัทผู้เข้ามาขายยาง ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ค้าในตลาด
 
"ด้านการทำธุรกรรมนั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องวางหลักประกันธนาคารในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่า กรณีของผู้ขายสามารถใช้ยางที่มีอยู่จริงในโกดังเป็นหลักประกันแทนเงินสดได้ การจับคู่สัญญาในระบบจะใช้วิธีการจับคู่โดยอัตโนมัติ (Continuous auto matching)จะพิจารณาจากคำสั่งซื้อ-ขาย ที่มีการเสนอชนิดยาง ปริมาณยาง ท่าเรือส่งมอบตรงกัน รวมถึงราคาต่อกิโลกรัมซึ่งมีมูลค่าเป็นหน่วยดอลล่าร์สหรัฐโดยทั้งผู้ขายและผู้ขายมีความพึงพอใจในราคาที่ตรงกัน ทำให้เกิดการซื้อ ? ขายยางในระบบอย่างยุติธรรม ทั้งนี้จะกำหนดให้มีการส่งมอบจริงภายใน 30 วันหลังจากการเปิดรับซื้อขายในระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงมั่นใจได้ว่าตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาคเป็นตลาดที่เกิดการส่งมอบสินค้าจริง 100 เปอร์เซ็นต์"นายสุธี กล่าว
 
ประธานคณะทำงานฯ เผยข้อมูลหลังจากเปิดตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค RRM เป็นวันแรกว่า หลังจากเปิดตลาดวันแรก ผู้ซื้อขายยางส่วนมากจะเข้าสู่กระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในตลาดเป็นหลัก ในวันนี้มีบริษัทเอกชนซึ่งอยู่ในรายชื่อการอนุมัติรับรองจากตลาดยางสิงคโปร์ (SICOM) แล้ว ทั้งสิ้น 5 ราย ได้แก่ บริษัท บีไรท์รับเบอร์ จำกัด บจก.เซาท์แลนด์รีซอร์ซMetalcoCo,Ltd. Oriental Rubber Products Co,Ltdและ บจก.เซาท์แลนด์รับเบอร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของตลาด RRM นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสถาบันเกษตรกรที่สนใจเข้ามาขายยางในตลาด RRM อีกจำนวน 4 ราย ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ กลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมา และสหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว จำกัด โดยทั้ง 4 ราย เป็นสถาบันเกษตรกรชั้นนำของประเทศที่ผ่านการรับรองมาตรฐานGMP จาก กยท.แล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอรับรองจากคณะกรรมการอนุมัติผู้ขายเพิ่มเติมจากสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ ให้เข้ามาเป็นผู้ขายยางในตลาด RRMต่อไปได้
 
สำหรับ กยท. มีแนวทางสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการยางพาราประชารัฐ โดยมุ่งส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรผลิตยางให้มีคุณภาพผ่านมาตรฐาน GMPซึ่งสถาบันเกษตรกรสามารถนำยางที่ผ่านมาตรฐานนี้ มาขายในตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาคได้ ถือเป็นการช่วยหาตลาดรองรับผลผลิตยางให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ส่งผลถึงรายได้ของกลุ่มสถาบันเกษตรกรที่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงขอฝากถึงเกษตรกรให้ผลิตยางให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำยางเข้ามาขายในตลาดนี้ได้ในอนาคต
 
"กยท. มั่นใจว่าการซื้อขายยางผ่านระบบตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาคนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการหาตลาดใหม่ให้กับผู้ประกอบการยางและสถาบันเกษตรกรได้ อีกทั้งเป็นการซื้อขายยางในราคาที่ยุติธรรม(Fair Price) ผู้ซื้อได้สินค้าที่มีมาตรฐานตรงกับความต้องการ ตลอดจนเป็นการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของสถาบันเกษตรกรให้เกิดการรวมตัวกันแปรรูปยางที่มีคุณภาพผ่านรับมาตรฐาน GMP สามารถขายผ่านระบบ RRMให้กับผู้ซื้อยางในตลาดต่างประเทศได้โดยตรง" นายสุธี กล่าวเพิ่มเติม