ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 22, 2016, 09:21:50 PM »ดันตลาดยางอาเซียนโละสต๊อก เอกชนผิดหวังต่างคนต่างพาย/ข้างทีเฟกต์เร่งดันซื้อขาย
ก.เกษตร เตรียมโละยาง 3.1 แสนตัน เทรดขายผ่านตลาดยางพาราของภูมิภาคอาเซียน ถือโอกาสดันตลาดแจ้งเกิดใหม่ 26 ก.ย.นี้ ด้านนักลงทุนผิดหวัง -เหนื่อยใจกระทรวงต่างฝ่ายต่างทำ ไม่เป็นผลดีกับอนาคตยางพาราของไทย ขณะทีเฟกซ์ เตรียมคลอดแพ็กเกจอุ้มนักลงทุนเอเฟทช่วงเปลี่ยนผ่าน จับมือสถาบันการเงิน อัพสภาพคล่องให้ เผยไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องใช้เวลาเพิ่มโวลุ่ม
นายเชษฐา มีมั่งคั่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ็กโกร์ว เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ซึ่งเป็นอดีตบริษัทโบรกเกอร์ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(เอเฟท) เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ในเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะนำยางพาราในสต๊อกจาก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 175,807 ตัน และในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 142,732.775 ตัน รวม 318,539.775 ตัน นำมาขายในตลาดยางพาราของภูมิภาคอาเซียน (Regional Rubber Market: RRM)
?เดิมตลาดนี้ เป็นตลาดที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้พยายามที่จะผลักดันการจัดตลาดกลางยางพาราของอาเซียน สมัยคุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้การบ้านแต่ละประเทศไปจัดตั้งกันเอง ต่างคนต่างทำไปก่อน ส่วนฝ่ายไทย กระทรวงเกษตรฯ ก็พยายามจะดันให้แจ้งเกิดให้ได้ และมีแนวคิดที่จะนำยางในสต๊อกรัฐบาล 3.1 แสนตันมาเทรดขาย ถือโอกาสแจ้งเกิดใหม่ของตลาดอีกครั้งมองน่าจะโปร่งใส?
นายเชษฐา กล่าว ความคิดนี้ดี แต่ไม่เข้าใจ ทำไมตลาดซื้อขายยางไม่รวมกันไปเลย ก่อนหน้านั้นกระทรวงพาณิชย์ ก็ทำตลาดเอเฟท แต่รัฐบาลก็กำลังจะควบรวมเอเฟทเข้ามาซื้อขายใน บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มาถึงตรงนี้กลายเป็นทีเฟกซ์ และกระทรวงเกษตรฯ จะมาทำตลาดขึ้นมาใหม่อีก เพราะจริงๆ แล้วถ้ารวมข้อดีข้อเสีย ทั้ง 3 ตลาด เชื่อว่าจะไม่น้อยหน้าตลาดไซคอม ของสิงคโปร์ที่ซื้อขายยางล่วงหน้า ทั้งที่สิงคโปร์ไม่ได้ปลูกยาง ดังนั้นถ้าไม่มีรีบผลักดันให้เทียบเท่าจะทำให้เราเสียเปรียบการค้าอย่างมาก
ขณะที่ ดร.รินใจ ชาครพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการทีเฟกซ์ กล่าวถึงทิศทางสินค้าเกษตรประเภทยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มาซื้อขายในตลาดเข้าเดือนที่ 2 ยังต้องใช้เวลาให้นักลงทุนมีความคุ้นเคยมากกว่านี้ ทางตลาดเองก็มิได้นิ่งนอนใจได้มีการเรียกบริษัทใหญ่ที่เคยเทรดในเอเฟทเข้ามาซื้อขาย แต่ในช่วงแรกนี้ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เข้ามาเริ่มซื้อขายใหม่ในตลาด ส่วนนักลงทุนที่มาจากตลาดเอเฟท กำลังช่วยหาผู้ดูแลสภาพคล่องให้ ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมช่วยเหลือเต็มที่ แต่ต้องใช้เวลา ขณะเดียวกันทีเฟกซ์จะจัดอบรมให้กับนักลงทุนที่อยู่ในตลาดได้มีความรู้ความเข้าใจในสินค้าตัวนี้มากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตไม่นานจะมีการเพิ่มวอลุ่มในการซื้อขายยางพาราได้อย่างแน่นอน
ด้านนายสุธี อินทรสกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง (สวย.) เผยว่า ตลาดซื้อขายยางพารา ทั่วไปเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า และจะมีการส่งมอบจริง จะต่างจากของตลาดเอเฟท กับตลาดทีเฟกซ์ ทีมีการส่งมอบยางจริงน้อยมาก และจะมีการกำหนดราคาซื้อขายแบบเอฟโอบี โดยใช้สำนักงานที่องค์การสวนยางเดิม ตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมา จะเปิดตลาดในวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่จะถึงนี้ โดย ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้แถลงข่าวเปิดตัว
(ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 21 กันยายน 2559)
ก.เกษตร เตรียมโละยาง 3.1 แสนตัน เทรดขายผ่านตลาดยางพาราของภูมิภาคอาเซียน ถือโอกาสดันตลาดแจ้งเกิดใหม่ 26 ก.ย.นี้ ด้านนักลงทุนผิดหวัง -เหนื่อยใจกระทรวงต่างฝ่ายต่างทำ ไม่เป็นผลดีกับอนาคตยางพาราของไทย ขณะทีเฟกซ์ เตรียมคลอดแพ็กเกจอุ้มนักลงทุนเอเฟทช่วงเปลี่ยนผ่าน จับมือสถาบันการเงิน อัพสภาพคล่องให้ เผยไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องใช้เวลาเพิ่มโวลุ่ม
นายเชษฐา มีมั่งคั่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ็กโกร์ว เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ซึ่งเป็นอดีตบริษัทโบรกเกอร์ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(เอเฟท) เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ในเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะนำยางพาราในสต๊อกจาก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 175,807 ตัน และในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 142,732.775 ตัน รวม 318,539.775 ตัน นำมาขายในตลาดยางพาราของภูมิภาคอาเซียน (Regional Rubber Market: RRM)
?เดิมตลาดนี้ เป็นตลาดที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้พยายามที่จะผลักดันการจัดตลาดกลางยางพาราของอาเซียน สมัยคุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้การบ้านแต่ละประเทศไปจัดตั้งกันเอง ต่างคนต่างทำไปก่อน ส่วนฝ่ายไทย กระทรวงเกษตรฯ ก็พยายามจะดันให้แจ้งเกิดให้ได้ และมีแนวคิดที่จะนำยางในสต๊อกรัฐบาล 3.1 แสนตันมาเทรดขาย ถือโอกาสแจ้งเกิดใหม่ของตลาดอีกครั้งมองน่าจะโปร่งใส?
นายเชษฐา กล่าว ความคิดนี้ดี แต่ไม่เข้าใจ ทำไมตลาดซื้อขายยางไม่รวมกันไปเลย ก่อนหน้านั้นกระทรวงพาณิชย์ ก็ทำตลาดเอเฟท แต่รัฐบาลก็กำลังจะควบรวมเอเฟทเข้ามาซื้อขายใน บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มาถึงตรงนี้กลายเป็นทีเฟกซ์ และกระทรวงเกษตรฯ จะมาทำตลาดขึ้นมาใหม่อีก เพราะจริงๆ แล้วถ้ารวมข้อดีข้อเสีย ทั้ง 3 ตลาด เชื่อว่าจะไม่น้อยหน้าตลาดไซคอม ของสิงคโปร์ที่ซื้อขายยางล่วงหน้า ทั้งที่สิงคโปร์ไม่ได้ปลูกยาง ดังนั้นถ้าไม่มีรีบผลักดันให้เทียบเท่าจะทำให้เราเสียเปรียบการค้าอย่างมาก
ขณะที่ ดร.รินใจ ชาครพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการทีเฟกซ์ กล่าวถึงทิศทางสินค้าเกษตรประเภทยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มาซื้อขายในตลาดเข้าเดือนที่ 2 ยังต้องใช้เวลาให้นักลงทุนมีความคุ้นเคยมากกว่านี้ ทางตลาดเองก็มิได้นิ่งนอนใจได้มีการเรียกบริษัทใหญ่ที่เคยเทรดในเอเฟทเข้ามาซื้อขาย แต่ในช่วงแรกนี้ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เข้ามาเริ่มซื้อขายใหม่ในตลาด ส่วนนักลงทุนที่มาจากตลาดเอเฟท กำลังช่วยหาผู้ดูแลสภาพคล่องให้ ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมช่วยเหลือเต็มที่ แต่ต้องใช้เวลา ขณะเดียวกันทีเฟกซ์จะจัดอบรมให้กับนักลงทุนที่อยู่ในตลาดได้มีความรู้ความเข้าใจในสินค้าตัวนี้มากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตไม่นานจะมีการเพิ่มวอลุ่มในการซื้อขายยางพาราได้อย่างแน่นอน
ด้านนายสุธี อินทรสกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง (สวย.) เผยว่า ตลาดซื้อขายยางพารา ทั่วไปเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า และจะมีการส่งมอบจริง จะต่างจากของตลาดเอเฟท กับตลาดทีเฟกซ์ ทีมีการส่งมอบยางจริงน้อยมาก และจะมีการกำหนดราคาซื้อขายแบบเอฟโอบี โดยใช้สำนักงานที่องค์การสวนยางเดิม ตั้งเป็นสำนักงานขึ้นมา จะเปิดตลาดในวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่จะถึงนี้ โดย ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้แถลงข่าวเปิดตัว
(ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 21 กันยายน 2559)