ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 17, 2016, 10:21:24 AM »164 องค์กรขานรับแปรรูปยาง เคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรม
164 องค์กรขานรับการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ ในเวทีขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขตจตุจักร กทม.
โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การยางแห่งประเทศไทย บริษัทสหเจริญ จำกัด บริษัท ยง ฟง แมชชินเนอรี่ จำกัด ร่วมบรรยายแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผู้แทนองค์กรเกษตรกรจากจังหวัดกำแพงเพชร ตาก พะเยา พิษณุโลก อุทัยธานี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราดประจวบคีรีขันธ์ สระแก้วบึงกาฬ มุกดาหาร ศรีสะเกษอุดรธานี อุบลราชธานี ตรังนครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงาเชียงราย ร่วมในเวทีครั้งนี้ 150 คน
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนที่ 2 กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการการขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตร อุตสาหกรรม ว่าจากทิศทางการนำของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่มุ่งพาเกษตรกรปฏิรูปตนเองจากการผลิตและจำหน่ายผลผลิตเป็นวัตถุดิบไปสู่ เกษตรอุตสาหกรรมที่นำผลผลิตมาแปรรูปและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์
ในภาคส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา คณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กำหนดจัดโครงการขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตรอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรชาวสวนยาง มีความรู้ ความเข้าใจในการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ และเข้าใจหลักเกณฑ์ การเข้ารับการสนับสนุนจากรัฐบาลตามโครงการ 1 ตำบล 1 SME เกษตร และโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา
ด้านนายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีขั้นตอนการเตรียมการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 ในการสำรวจความต้องการและความพร้อมขององค์กรเกษตรกรด้านยางพาราทั่วประเทศ ต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางซึ่งมี 164 องค์กรได้แสดงความจำนง หลังจากนั้นได้แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อนำเกษตรกรก้าวไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมยางพารา
ด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า การที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอให้มีนโยบาย 1 ตำบล 1 SME เกษตร ก็เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตรให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์จาก ผลผลิตของตนเอง การดำเนินงานของคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นความสอดคล้องกันทั้งระบบในการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อมุ่งสร้างความ มั่นคง ยั่งยืนให้กับภาคเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
ส่วนข้อห่วงใยด้านการทำกิจการผลิตภัณฑ์ยางของเกษตรกร สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ขอให้ ธ.ก.ส.สร้างความเข้าใจในการทำแผนธุรกิจ และ ธ.ก.ส.เองก็จะกลั่นกรองเพื่อให้เกิดความมั่นใจให้กับองค์กรเกษตรกร อีกทั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ยังได้ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนงานอื่นๆ จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล อำเภอละ 1 ตำบล เพื่อให้เกษตรกรร่วมมือกันมุ่งสู่การสร้างสินค้าเกษตรในตำบลนั้นๆไปสู่เกษตร อุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
(ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 16 กันยายน 2559)
164 องค์กรขานรับการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ ในเวทีขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขตจตุจักร กทม.
โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การยางแห่งประเทศไทย บริษัทสหเจริญ จำกัด บริษัท ยง ฟง แมชชินเนอรี่ จำกัด ร่วมบรรยายแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผู้แทนองค์กรเกษตรกรจากจังหวัดกำแพงเพชร ตาก พะเยา พิษณุโลก อุทัยธานี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราดประจวบคีรีขันธ์ สระแก้วบึงกาฬ มุกดาหาร ศรีสะเกษอุดรธานี อุบลราชธานี ตรังนครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงาเชียงราย ร่วมในเวทีครั้งนี้ 150 คน
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนที่ 2 กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการการขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตร อุตสาหกรรม ว่าจากทิศทางการนำของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่มุ่งพาเกษตรกรปฏิรูปตนเองจากการผลิตและจำหน่ายผลผลิตเป็นวัตถุดิบไปสู่ เกษตรอุตสาหกรรมที่นำผลผลิตมาแปรรูปและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์
ในภาคส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา คณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กำหนดจัดโครงการขับเคลื่อนการพัฒนายางสู่เกษตรอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรชาวสวนยาง มีความรู้ ความเข้าใจในการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ และเข้าใจหลักเกณฑ์ การเข้ารับการสนับสนุนจากรัฐบาลตามโครงการ 1 ตำบล 1 SME เกษตร และโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา
ด้านนายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีขั้นตอนการเตรียมการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 ในการสำรวจความต้องการและความพร้อมขององค์กรเกษตรกรด้านยางพาราทั่วประเทศ ต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางซึ่งมี 164 องค์กรได้แสดงความจำนง หลังจากนั้นได้แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อนำเกษตรกรก้าวไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมยางพารา
ด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า การที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอให้มีนโยบาย 1 ตำบล 1 SME เกษตร ก็เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตรให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์จาก ผลผลิตของตนเอง การดำเนินงานของคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นความสอดคล้องกันทั้งระบบในการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อมุ่งสร้างความ มั่นคง ยั่งยืนให้กับภาคเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
ส่วนข้อห่วงใยด้านการทำกิจการผลิตภัณฑ์ยางของเกษตรกร สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ขอให้ ธ.ก.ส.สร้างความเข้าใจในการทำแผนธุรกิจ และ ธ.ก.ส.เองก็จะกลั่นกรองเพื่อให้เกิดความมั่นใจให้กับองค์กรเกษตรกร อีกทั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ยังได้ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนงานอื่นๆ จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล อำเภอละ 1 ตำบล เพื่อให้เกษตรกรร่วมมือกันมุ่งสู่การสร้างสินค้าเกษตรในตำบลนั้นๆไปสู่เกษตร อุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
(ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 16 กันยายน 2559)