ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 16, 2016, 09:03:20 AM »


กยท.ดันตลาดซื้อยางแผ่นรมควันอัดก้อนส่งต่างประเทศ



หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2559 00:00:47 น.
 
กยท.ดันตลาดซื้อขายยางแผ่นรมควันอัดก้อนส่งออกต่างประเทศ ยัน 2 บริษัทยักษ์ใหญ่มิชลิน และบริดจสโตนยังรับซื้อยางก้อนถ้วยไม่แบนตามที่เป็นข่าว
 
การยางแห่งประเทศไทยเดินหน้าเปิดโครงการตลาดซื้อ-ขายยางแผ่นรมควันอัด ก้อน (GMP) ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีหวังกระตุ้นราคายางแผ่นดิบ พร้อมเตือนเกษตรกรชาวสวนยางเร่งผลิตยางที่มีคุณภาพ เพื่อเสริมการส่งออกสู่ต่างประเทศ



สุราษฎร์ธานี/ ที่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง สุราษฎร์ธานี หมู่ 3 ต.ควนสุบรรณ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นายเชาว์ ทรงวุธ รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตลาดซื้อ-ขายยางแผ่นรมควันมาตรฐานการจัดการ คุณภาพที่ดี (GMP) เพื่อเสริมศักยภาพการส่งออกสู่ตลาดมาตรฐานต่างประเทศ และเป็นการช่วยเหลือและกระตุ้นการซื้อขายยางให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางใน พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้ทางตัวแทนชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด ทำ MOU ซื้อขายยางแผ่นรมควันอัดก้อน (GMP) กับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสุราษฎร์ธานี จำกัด ที่ทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสุราษฎร์ธานี ได้รวบรวมยางแผ่นรมควันจากสหกรณ์ฯ ที่เป็นสมาชิกแล้วมาจำหน่ายต่อ โดยมีการผลิตยางรมควันอัดก้อน (GMP) เดือนละประมาณ 1,500-2,000 ตันต่อเดือน แต่ไม่สามารถส่งขายตรงไปยังต่างประเทศได้ เนื่องจากยังไม่มีแบรนด์ (Brand) เป็นของตัวเอง
 
นายเชาว์ ทรงวุธ รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากกรณีมีข่าวว่าทางบริษัท มิชลิน และบริดจสโตน บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตยางรถยนต์ได้แบนการรับซื้อยางก้อนถ้วยในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนใช้กรดซัลฟูริกในน้ำ ยาง เนื่องจากมีราคาถูกกว่ากรดฟอร์มิก ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยางแห่งประเทศไทย ได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทผู้รับซื้อ หรือตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางได้มาพูดคุยกัน และล่าสุดในวันนี้ทางบริษัทมิชลินได้ยืนยันว่าข่าวที่ออกมานั้นไม่เป็นความ จริง รวมทั้งข่าวที่ทางบริษัทมิชลินจะไปสร้างโรงงานแปรรูปยางในพื้นที่ภาคอีสาน 2,000 ล้านนั้นก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน
 
นายเชาว์ ทรงวุธ ยังได้กล่าวเตือนเกษตรกรชาวสวนยางว่าจะต้องผลิตยางให้มีคุณภาพและต้องคำนึง ถึงสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน ทางการยางแห่งประเทศไทยได้จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้พัฒนาใน เรื่องการปรับปรุงคุณภาพยาง โดยเฉพาะยางก้อนถ้วยนั้น จะมีโครงการส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ผลิตยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นดิบรมควันให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยให้เกษตรกรหันมาใช้กรดฟอร์มิก ที่เป็นกรดไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และจะทำให้คุณภาพยางมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมกับขอให้ยกเลิกการใช้กรดซัลฟูริกที่เคยใช้กันอยู่