ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 13, 2016, 08:33:16 AM »ชาวยางใต้ติงมติ ครม.ทบทวนราคาสต๊อกยาง หวั่นขายราคาต่ำกว่า กก.ละ 60 บาท
วันที่: 12 ก.ย. 59 เวลา: 16:30 น.
วันที่ 12 กันยายน ที่สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช นายมนัส บุญพัฒน์ เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มีมติเห็นชอบในการทบทวนเงื่อนไขการกำหนดราคาขายยางพาราในสต๊อกรัฐบาล จำนวน 3.1 แสนตัน ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาศักยภาพให้แก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคายางในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจำนวน 1.7 แสนตัน และโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) จำนวน 1.4 แสนตัน จากราคาขายต้องไม่ต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ให้เป็นไปตามกลไกตลาดและคิดค่าเสื่อมตามคุณภาพยางพารา ซึ่งหลังจากนั้นจะเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ก่อนที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะนำไปดำเนินการสู่การระบายยางในสต๊อกรัฐบาลต่อไปว่า เป็นความพยายามของกลุ่มคนบางกลุ่มที่จะนำยางในสต๊อกยางออกมาขายในราคาที่ต่ำ กว่า 60 บาท ทั้งๆ ที่มติที่ประชุมบอร์ด กนท. ได้ระบุชัดให้พิจารณาขายตามสภาพสภาวะตลาดและไม่กระทบกับราคาขายยางของ เกษตรกรในท้องถิ่น หรือ ให้ระบายในช่วงเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น
?มีนัย กำกวมอะไรบางอย่างที่กลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งพ่อค้าส่งออกขยันออกตามหน้าสื่อ และออกโดยใครสักคนที่ชาวสวนยางเห็นหน้าแล้วกลัวจนขี้ขึ้นสมอง ออกมาย้ำว่า ?ปรับราคาให้ต่ำกว่ามติ ครม.เดิม (ยางแผ่นรมควัน) จากราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาทให้เป็นไปตามสถานการณ์ราคาเป็นคราวๆ? อย่างนี้นี่เองที่มันจะเป็นผีหลอกชาวสวนยางเอาทั้งประเทศ เพราะคำว่า ?ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท? ถ้าเอาไปเล่นแร่แปรธาตุ แบบตรงๆ เหมือนศรีธนญชัย ให้ราคายางมีค่าเพียง 1 บาท 2 บาท 20 บาท หรือ 30 บาท แล้วราคายางซื้อขายภายในประเทศจะอยู่อย่างไร จะทำให้ทุกหย่อมหญ้าได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้าอีกวาระ แล้วก็ถึงเวลาที่รัฐบาลก็จะต้องวิ่งหาเงินมาแก้ปัญหามาเยียวยา หรืออะไรก็แล้วแต่ไม่เพราะคนที่ขยันออกสื่อคำ คำนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าจบไม่สิ้นเข้าในวังวนเดิน ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาเรื่องยางพาราทั้ง 2 รัฐบาลสูญเสียเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท เพียงแค่คิดว่าจะนำยางออกมาขาย พ่อค้าส่งออกก็ตีปีกรับช่วงทันที? นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าว เหตุผลสำคัญที่สอดรับที่กลุ่มคนพยายามชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องขายยางในสต๊อก 2 ประการ คือ รัฐบาลแบกรับภาระในการเก็บสต๊อกยางไม่ไหว และสภาพยางเสื่อม สิ่งเหล่านี้มันย้อนกลับเข้าสู่วังวนเดิม และหากว่าในรอบนี้ราคายางตกถึงขั้นวิกฤตอีกครั้ง สมาคมคนกรีดยางฯไม่มีใครทนได้อีกแล้ว พอถึงเวลาจะมาทัดทาน จะมาขอร้องให้อดทน ก็คงจะไม่มีใครยอมอีก ถึงครั้งนี้มันจะต้องต่อสู้กันอีกครั้ง เพื่อเส้นโลหิตของชาวสวนยางต่อไป อยากรียกร้องให้ ครม.ทบทวนตามข้อเท็จจริงอีกครั้ง อย่าเอากลุ่มคนกลุ่มเดิมออกมาบอกกล่าวข้อเท็จ มากกว่าที่จะมีความเป็นจริง วันนี้คนที่เดือดร้อนคือเกษตรกร มิใช่พ่อค้านายทุน ไม่เคยเห็นพ่อค้านายทุนยางรายใดเจ็บปวดกับราคายางตกต่ำ มีแต่ชาวสวนยางเท่านั้นที่เดือดปุดๆ ทุกวัน
วันที่: 12 ก.ย. 59 เวลา: 16:30 น.
วันที่ 12 กันยายน ที่สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช นายมนัส บุญพัฒน์ เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มีมติเห็นชอบในการทบทวนเงื่อนไขการกำหนดราคาขายยางพาราในสต๊อกรัฐบาล จำนวน 3.1 แสนตัน ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาศักยภาพให้แก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคายางในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจำนวน 1.7 แสนตัน และโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) จำนวน 1.4 แสนตัน จากราคาขายต้องไม่ต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ให้เป็นไปตามกลไกตลาดและคิดค่าเสื่อมตามคุณภาพยางพารา ซึ่งหลังจากนั้นจะเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ก่อนที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะนำไปดำเนินการสู่การระบายยางในสต๊อกรัฐบาลต่อไปว่า เป็นความพยายามของกลุ่มคนบางกลุ่มที่จะนำยางในสต๊อกยางออกมาขายในราคาที่ต่ำ กว่า 60 บาท ทั้งๆ ที่มติที่ประชุมบอร์ด กนท. ได้ระบุชัดให้พิจารณาขายตามสภาพสภาวะตลาดและไม่กระทบกับราคาขายยางของ เกษตรกรในท้องถิ่น หรือ ให้ระบายในช่วงเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น
?มีนัย กำกวมอะไรบางอย่างที่กลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งพ่อค้าส่งออกขยันออกตามหน้าสื่อ และออกโดยใครสักคนที่ชาวสวนยางเห็นหน้าแล้วกลัวจนขี้ขึ้นสมอง ออกมาย้ำว่า ?ปรับราคาให้ต่ำกว่ามติ ครม.เดิม (ยางแผ่นรมควัน) จากราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาทให้เป็นไปตามสถานการณ์ราคาเป็นคราวๆ? อย่างนี้นี่เองที่มันจะเป็นผีหลอกชาวสวนยางเอาทั้งประเทศ เพราะคำว่า ?ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท? ถ้าเอาไปเล่นแร่แปรธาตุ แบบตรงๆ เหมือนศรีธนญชัย ให้ราคายางมีค่าเพียง 1 บาท 2 บาท 20 บาท หรือ 30 บาท แล้วราคายางซื้อขายภายในประเทศจะอยู่อย่างไร จะทำให้ทุกหย่อมหญ้าได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้าอีกวาระ แล้วก็ถึงเวลาที่รัฐบาลก็จะต้องวิ่งหาเงินมาแก้ปัญหามาเยียวยา หรืออะไรก็แล้วแต่ไม่เพราะคนที่ขยันออกสื่อคำ คำนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าจบไม่สิ้นเข้าในวังวนเดิน ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาเรื่องยางพาราทั้ง 2 รัฐบาลสูญเสียเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท เพียงแค่คิดว่าจะนำยางออกมาขาย พ่อค้าส่งออกก็ตีปีกรับช่วงทันที? นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าว เหตุผลสำคัญที่สอดรับที่กลุ่มคนพยายามชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องขายยางในสต๊อก 2 ประการ คือ รัฐบาลแบกรับภาระในการเก็บสต๊อกยางไม่ไหว และสภาพยางเสื่อม สิ่งเหล่านี้มันย้อนกลับเข้าสู่วังวนเดิม และหากว่าในรอบนี้ราคายางตกถึงขั้นวิกฤตอีกครั้ง สมาคมคนกรีดยางฯไม่มีใครทนได้อีกแล้ว พอถึงเวลาจะมาทัดทาน จะมาขอร้องให้อดทน ก็คงจะไม่มีใครยอมอีก ถึงครั้งนี้มันจะต้องต่อสู้กันอีกครั้ง เพื่อเส้นโลหิตของชาวสวนยางต่อไป อยากรียกร้องให้ ครม.ทบทวนตามข้อเท็จจริงอีกครั้ง อย่าเอากลุ่มคนกลุ่มเดิมออกมาบอกกล่าวข้อเท็จ มากกว่าที่จะมีความเป็นจริง วันนี้คนที่เดือดร้อนคือเกษตรกร มิใช่พ่อค้านายทุน ไม่เคยเห็นพ่อค้านายทุนยางรายใดเจ็บปวดกับราคายางตกต่ำ มีแต่ชาวสวนยางเท่านั้นที่เดือดปุดๆ ทุกวัน