ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 09, 2016, 04:49:37 PM »

"บิ๊กตู่"ทุบโต๊ะขีดเส้น3เดือนโละบอร์ดยาง

โดยฐานเศรษฐกิจ


 -8 September 2559ธ.ก.ส. เตรียมไล่บี้ทวงเงิน กยท.อีกรอบ หลังส่อแววชักดาบ ลักไก่ขอมติที่ประชุม กนย. นำเงินขายยาง 2 โครงการร่วมพันล้าน ไปหมุนเป็นค่าบริหารจัดการ ด้าน ?ประยุทธ์? ไม่พอใจบอร์ด ขีดเส้น 3 เดือน แก้ปัญหาราคายางไม่เห็นผล โละทิ้งยกยวง ฟาก?กยท.? โชว์แผนขายยางเก่าในสต๊อก 3.1 แสนตัน ภายใน 10 เดือน กลุ่มเกษตรกรค้านหวั่นทุบราคาดิ่ง


แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ในเร็ว ๆ นี้ ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะทำหนังสือทวงเงินขายยางในสต๊อกรัฐบาล 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง รวมวงเงินกู้ 2.1 หมื่นล้านบาท และ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง(บัฟเฟอร์ฟันด์) อีกจำนวน 8.8 พันล้านบาท

ทั้งนี้เป็นผลจากที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายย่างธรรมชาติ (กนย.)ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา โดยจะขอนำเงินรายได้จากการขายยางใน 2 โครงการข้างต้น ซึ่งประเมินแล้วร่วมพันล้านบาท เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เรื่องนี้มองว่าไม่ถูกต้อง เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ดังนั้นขายได้เท่าไร ก็ต้องส่งคืนก่อน แต่อยู่ ๆ จะตัดเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งมองเจตนาแล้วอาจจะเข้าข่ายส่อทุจริต

?บรรยากาศในที่ประชุม กนย.ครั้งล่าสุด ค่อนข้างตึงเครียด และพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะประธาน กนย.และประธานในที่ประชุมไม่พอใจการดำเนินงานของบอร์ด ไม่ว่าจะเป็น 1.เรื่องแผนยุทธศาสตร์ยางพาราที่ยังไม่มีความคืบหน้า 2.แผนการใช้ยางพาราในประเทศก็ยังไม่เพิ่มขึ้น 3.ให้หน่วยงานแต่ละกรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราต้องปรับเปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงรุก จะต้องมีแผนระยะสั้น ระยะยาว หากเกิดราคายางตกต่ำ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอะไรข้างหน้า จะต้องเตรียมมาตรการแก้ไขให้ทันท่วงที?แหล่งข่าวกล่าวและว่า

นายกรัฐมนตรีให้เวลา 3 เดือนให้ทุกหน่วยไปทำการบ้านมาใหม่ หากไม่เห็นผลอีกจะรื้อบอร์ดปรับใหม่ทั้งหมด โดยย้ำว่าไม่ต้องมารายงานเหตุการณ์ในอดีต ท่านอยากจะฟังสถานการณ์ปัจจุบัน การพยากรณ์ในอนาคต เพื่อที่แก้ปัญหาก่อน ไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วมาตามแก้ภายหลัง?

ต่อเรื่องนี้นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามระเบียบไม่ว่าจะเป็นการขายข้าว มันสำปะหลังในสต๊อกรัฐบาล จะต้องคืนเงินให้กับ ธ.ก.ส. ก่อนเนื่องจากเงินที่นำมาใช้บริหารจัดการเป็นเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการะบายจะต้องขอเงินชดเชยการขาดทุนจากการขาย รวมทั้งเงิน ค่าบริหารจะต้องแยกออกมาต่างหาก ไม่เกี่ยวกับที่จะต้องคืนกับ ธ.ก.ส. การจำแนกออกมาจะต้องให้เด่นชัด อาทิ ขายในโครงการไหน ราคาเท่าไร ก่อนนั้นมาซื้อราคาเท่าไร โครงการนี้ขาดทุนเท่าไร จะทำมั่วไม่ได้ ไม่งั้นจะถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)เล่นงาน

ส่วนของกระทรวงมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลห่างๆ จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะรัฐวิสาหกิจมีบอร์ดบริหารอยู่แล้ว แต่ถ้าผิดหลักปฎิบัติก็ต้องติงด้วยหลักการที่ถูกต้องเท่านั้น ส่วนมติการระบายยางในสต๊อก 3.1 แสนตันนั้นเป็นไปตามที่ กยท.เสนอขายในราคาตลาด เป้าหมายการระบายยางทั้ง 2 โครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2560

ด้านแหล่งข่าวจากกนย. เปิดเผยถึงแผนการระบายยาง ใน 2 โครงการ จำนวน 3.18 แสนตันมีระยะเวลา 10 เดือน เริ่มตั้งแต่สิงหาคม 2559 ถึงพฤษภาคม 2560 ว่า ในเดือนสิงหาคมจะเป็นการขายยางในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ จำนวน 8.42 พันตัน และในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯอีก 1.27 หมื่นตัน, ขณะที่กันยายน ขายในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ 2.78 หมื่นตัน และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ 702.9 ตัน ส่วนตุลาคม ขายในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ 3.12 หมื่นตัน และพฤศจิกายน ในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ 3.99 หมื่นตัน และเดือนธันวาคม ในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ 3.75 หมื่นตัน

ขณะที่เดือนมกราคม 2560 แผนขายยางในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ 2.67 หมื่นตัน ,เดือนกุมภาพันธ์ ในโครงการมูลภัณฑ์กันชนฯ 3.12 หมื่นตัน ,เดือนมีนาคม ในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ 3.65 หมื่นตัน,เดือนเมษายน ในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ 1.62 หมื่นตัน และในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ 1.43 หมื่นตัน และเดือนพฤษภาคม ในโครงการพัฒนาศักยภาพฯ 1.44 หมื่นตัน และในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ จำนวน 2 หมื่นตันเศษ ทั้งนี้การขายยางจะเริ่มจากโกดังที่เช่าเอกชนก่อน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย

ส่วนกรอบแนวทางการระบายให้เอกชนจะมี 3 วิธี ประกอบด้วย 1. การประมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ของ กยท. 2.การเจรจาต่อรองกับเอกชน โดยการกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมเจรจา และ 3. ดำเนินการระบายสต๊อกยางทั้ง 2 วิธี โดยจะดำเนินการกันอย่างโปร่งใส ทั้งนี้การขายยางในส่วนของ กยท. ได้เหตุผลว่าราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ตลาดกลางยางพาราเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50-53 บาท ในขณะที่ราคาเอฟโอบี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53-55 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคาเดิมที่กำหนดให้ขายในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท(แต่ปัจจุบัน ปัจจุบันค่าเช่าโกดังในปี 2559 ใน 2 ปีงบประมาณ ค่าเช่าโกดัง/ค่าเบี้ยประกันภัย ใน 2 โครงการนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกว่า 511 ล้านบาท

ด้านนายเหวิน แซ่จาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไชน่าไทยรับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ราคายางในประเทศจีนในขณะนี้ สูงกว่าในประเทศไทย ทำให้ผู้ส่งออกพอมีกำไรบ้างเล็กน้อย แต่ถ้ารัฐบาลจะระบายยางในสต๊อก สถานการณ์ที่เหมาะสมน่าจะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า เพราะช่วงนี้ปริมาณยางของเกษตรกรเริ่มออกมาแล้วคาดว่าจะมีออกมาในช่วงเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายนจะกระทบกับราคายางในประเทศ

เช่นเดียวกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ กรรมการ กนย.และประธานสภาเครือข่ายและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) กล่าวไม่เห็นด้วย ที่จะมีขายยางในสต๊อกช่วงนี้ มองว่าจะเป็นทุบราคายางให้ตกต่ำมากกว่านี้ ซึ่งในวันที่ 16 กันยายนนี้ จะมีการรวมตัวกันของคนในวงการยางทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการเพื่อหารือเกี่ยวกับมติ กนย. เรื่องการขายยางในสต๊อก และจะมีการจัดเสวนา ?อนาคตยางพาราบนบริบทไทยแลนด์ 4.0? ที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว

ขณะ 2 ผู้ค้ายางรายใหญ่ทั้งนายหลักชัย กิตติพล ประธานกรรมการบริหาร บริษท ไทยฮั้วยางพาราจำกัด (มหาชน) และ ท.พ.พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการบริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด ให้ความเห็นในทิศทางเดียวกัน โดยระบุว่า การระบายยางในสต๊อก 3.1 แสนตันไม่มีผลกับราคายางในประเทศ เพราะปัจจุบันดีมานต์ความต้องการยางในตลาดโลกมีมากกว่าซัพพลาย จากผลผลิตมีน้อย ประกอบกับภาวะฝนตกในหลายพื้นที่สร้างความกังวลให้ผู้ประกอบการเร่งซื้อยาง เพราะเกรงจะขาดแคลนยางส่งมอบ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,190 วันที่ 8 ? 10 กันยายน พ.ศ. 2559