ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2016, 11:44:35 AM »วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้
ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต
และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง - โฆษกรัฐบานศรีลังกากล่าวว่า รัฐบาลจะลดเงินสงเคราะห์ยางดิบที่ส่งออกจากเดิมที่
อัตรา 15 รูปีต่อกิโลกรัม เหลือเพียง 4 รูปีต่อกิโลกรัม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ราคา
ขายที่ดีขึ้น โดยการเพิ่มการแข่งขันระหว่างผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ
3. เศรษฐกิจโลก - สำนักงานสถิติเยอรมันเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรก
ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า สินทรัพย์ของรัฐบาลภาคเอกชนและนักลงทุนรายย่อย
ของญี่ปุ่นในต่างประเทศได้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ณ สิ้นปี 2558 โดย
ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากเงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์
- สถาบันพัฒนาเกาหลี ซึ่งเป็นสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาหลีใต้ ได้ปรับลด
คาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2559 ของเกาหลีใต้จากร้อยละ 3.0
เหลือเพียงร้อยละ 2.6 สะท้อนถึงการปรับตัวลดลงของการส่งออก และความกังวลใน
วงกว้างเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กร อาจส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานจำนวนมาก
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภาคการผลิตของจีนจะได้รับปัจจัยหนุนมากขึ้นจากการที่
เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของจีนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเสถียรภาพและปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจ
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 6.5 หมื่นล้านหยวน เข้าสู่ระบบ
ธนาคาร เพื่อคลี่คลายสภาพตึงตัว
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและ
นักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศลดลงแตะระดับ 6.4 ในเดือน
พฤษภาคม จาก 11.2 ในเดือนเมษายน
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ค รายงานว่า หนี้ภาคครัวเรือนทั้งหมดของ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สู่ระดับ 12.25 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในไตรมาสแรก ซึ่งเป็น
การเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 7 ไตรมาส และเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดของหนี้เงินกู้ในภาค
ที่อยู่อาศัย นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของยุคเศรษฐกิจถดถอย
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 110.15 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.41 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
48.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับ
แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว
โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 48.61
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 156.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 158.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 150.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.6 ในเดือนเมษายน สู่ระดับ 619,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ขณะที่
ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
8. ข้อคิดเห็นของ ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว ไม่ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าที่เปิดตลาดเช้านี้ปรับตัวสูงขึ้น
เพราะราคาที่ซื้ออยู่ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการใน
ประเทศบางรายที่ยังมีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนยาง จะทำให้ราคายางไม่ปรับตัว
ลดลงมาก
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจาก
เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับข่าวธนาคารจีนประกาศ
อัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาด อีกทั้งยอดจำหน่ายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี อย่างไรก็ตาม
ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ที่มา สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้
ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต
และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง - โฆษกรัฐบานศรีลังกากล่าวว่า รัฐบาลจะลดเงินสงเคราะห์ยางดิบที่ส่งออกจากเดิมที่
อัตรา 15 รูปีต่อกิโลกรัม เหลือเพียง 4 รูปีต่อกิโลกรัม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ราคา
ขายที่ดีขึ้น โดยการเพิ่มการแข่งขันระหว่างผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ
3. เศรษฐกิจโลก - สำนักงานสถิติเยอรมันเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรก
ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า สินทรัพย์ของรัฐบาลภาคเอกชนและนักลงทุนรายย่อย
ของญี่ปุ่นในต่างประเทศได้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ณ สิ้นปี 2558 โดย
ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากเงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์
- สถาบันพัฒนาเกาหลี ซึ่งเป็นสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาหลีใต้ ได้ปรับลด
คาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2559 ของเกาหลีใต้จากร้อยละ 3.0
เหลือเพียงร้อยละ 2.6 สะท้อนถึงการปรับตัวลดลงของการส่งออก และความกังวลใน
วงกว้างเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กร อาจส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานจำนวนมาก
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภาคการผลิตของจีนจะได้รับปัจจัยหนุนมากขึ้นจากการที่
เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของจีนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเสถียรภาพและปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจ
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 6.5 หมื่นล้านหยวน เข้าสู่ระบบ
ธนาคาร เพื่อคลี่คลายสภาพตึงตัว
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและ
นักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศลดลงแตะระดับ 6.4 ในเดือน
พฤษภาคม จาก 11.2 ในเดือนเมษายน
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ค รายงานว่า หนี้ภาคครัวเรือนทั้งหมดของ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สู่ระดับ 12.25 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในไตรมาสแรก ซึ่งเป็น
การเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 7 ไตรมาส และเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดของหนี้เงินกู้ในภาค
ที่อยู่อาศัย นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของยุคเศรษฐกิจถดถอย
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 110.15 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.41 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
48.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับ
แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว
โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 48.61
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 156.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 158.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 150.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.6 ในเดือนเมษายน สู่ระดับ 619,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ขณะที่
ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
8. ข้อคิดเห็นของ ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว ไม่ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าที่เปิดตลาดเช้านี้ปรับตัวสูงขึ้น
เพราะราคาที่ซื้ออยู่ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการใน
ประเทศบางรายที่ยังมีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนยาง จะทำให้ราคายางไม่ปรับตัว
ลดลงมาก
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจาก
เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับข่าวธนาคารจีนประกาศ
อัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาด อีกทั้งยอดจำหน่ายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี อย่างไรก็ตาม
ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ที่มา สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา