ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:43:41 AM »กยท.เผย 3 เดือนจ่ายเงินช่วยเหลือชาวสวน-คนกรีดยางแล้ว 95% รวมกว่า 1 หมื่นลบ.
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางจากภาวะราคายางตกต่ำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชาวสวนยาง และช่วยเหลือค่าครองชีพคนกรีดยางว่า ผลการดำเนินงานเป็นเวลากว่า 3 เดือน ขณะนี้ทั่วประเทศมีเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 807,930 ครัวเรือน แต่มีเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ได้แจ้งเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 88,920 ครัวเรือน ดังนั้น จึงมีเกษตรกรที่มาแจ้งจริงๆ แค่ 719,010 ครัวเรือน จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว 683,563 ครัวเรือน คิดเป็น 95% เป็นเจ้าของสวนยาง 683,563 ครัวเรือน และคนกรีดยาง 646,733 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 10,041,839,475 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2559) ในส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบข้อมูลและจ่ายเงินให้ครบตามโครงการฯ
การจ่ายเงินดังกล่าวใช้ข้อมูลตามทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2557/2558 จำนวน 850,000 ครัวเรือน เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือ 1,500 บาท/ไร่ ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน ให้แก่เจ้าของสวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง และคนกรีดยางที่ขึ้นทะเบียน กับ กยท. รวมงบประมาณกว่า 12,750 ล้านบาท โดยเริ่มจ่ายเงินตั้งแต่ 28 ธ.ค.2558
?โครงการนี้ช่วยเหลือด้านค่าครองชีพจากปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ เพราะเม็ดเงินที่จะจ่ายลงไปในพื้นที่จำนวน 12,750 ล้าน จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้ ถึงแม้ว่าเม็ดเงินจะไม่กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทุกคน เนื่องจากหลักเกณฑ์โครงการจะช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางที่มีสวนยางเปิดกรีด แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกรณีราคายางตกต่ำ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้พออยู่ได้" นายธีธัช กล่าว
นอกจากนี้ กยท.ได้ปรับรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ใหม่เป็น www.raot.co.th โดยเปิดให้ทุกภาคส่วน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถใช้บริการได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเว็บไซต์ใหม่นี้จะมีการสร้างจุดเด่นด้วยภาพ และสีสันทำให้เป็นที่จดจำของผู้ชม สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้รับข้อมูลข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ความเคลื่อนไหวของราคายางพารา การให้การสงเคราะห์ปลูกแทน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร การชำระเงินสงเคราะห์ทาง Electronic ผ่านระบบ NSW และนโยบายหรือโครงการสำคัญจากทางรัฐบาล รวมถึงข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร เช่น ข่าวผู้บริหาร ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม ข่าวยางพารา ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง และข่าวประกาศ
ทั้งนี้ กยท. จะทยอยนำข้อมูล และแนวคิดใหม่ๆ ในเรื่องของยางพารา มาปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน โดย กยท. หวังว่าเว็บไซต์รูปแบบใหม่นี้จะทำให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ และประโยชน์อย่างสูงสุดในการเข้าใช้บริการ
ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) (วันที่ 12 เมษายน 2559)
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางจากภาวะราคายางตกต่ำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชาวสวนยาง และช่วยเหลือค่าครองชีพคนกรีดยางว่า ผลการดำเนินงานเป็นเวลากว่า 3 เดือน ขณะนี้ทั่วประเทศมีเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 807,930 ครัวเรือน แต่มีเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ได้แจ้งเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 88,920 ครัวเรือน ดังนั้น จึงมีเกษตรกรที่มาแจ้งจริงๆ แค่ 719,010 ครัวเรือน จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว 683,563 ครัวเรือน คิดเป็น 95% เป็นเจ้าของสวนยาง 683,563 ครัวเรือน และคนกรีดยาง 646,733 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 10,041,839,475 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2559) ในส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบข้อมูลและจ่ายเงินให้ครบตามโครงการฯ
การจ่ายเงินดังกล่าวใช้ข้อมูลตามทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2557/2558 จำนวน 850,000 ครัวเรือน เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือ 1,500 บาท/ไร่ ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน ให้แก่เจ้าของสวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง และคนกรีดยางที่ขึ้นทะเบียน กับ กยท. รวมงบประมาณกว่า 12,750 ล้านบาท โดยเริ่มจ่ายเงินตั้งแต่ 28 ธ.ค.2558
?โครงการนี้ช่วยเหลือด้านค่าครองชีพจากปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ เพราะเม็ดเงินที่จะจ่ายลงไปในพื้นที่จำนวน 12,750 ล้าน จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้ ถึงแม้ว่าเม็ดเงินจะไม่กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทุกคน เนื่องจากหลักเกณฑ์โครงการจะช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางที่มีสวนยางเปิดกรีด แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกรณีราคายางตกต่ำ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้พออยู่ได้" นายธีธัช กล่าว
นอกจากนี้ กยท.ได้ปรับรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ใหม่เป็น www.raot.co.th โดยเปิดให้ทุกภาคส่วน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถใช้บริการได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเว็บไซต์ใหม่นี้จะมีการสร้างจุดเด่นด้วยภาพ และสีสันทำให้เป็นที่จดจำของผู้ชม สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้รับข้อมูลข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ความเคลื่อนไหวของราคายางพารา การให้การสงเคราะห์ปลูกแทน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร การชำระเงินสงเคราะห์ทาง Electronic ผ่านระบบ NSW และนโยบายหรือโครงการสำคัญจากทางรัฐบาล รวมถึงข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร เช่น ข่าวผู้บริหาร ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม ข่าวยางพารา ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง และข่าวประกาศ
ทั้งนี้ กยท. จะทยอยนำข้อมูล และแนวคิดใหม่ๆ ในเรื่องของยางพารา มาปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน โดย กยท. หวังว่าเว็บไซต์รูปแบบใหม่นี้จะทำให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ และประโยชน์อย่างสูงสุดในการเข้าใช้บริการ
ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) (วันที่ 12 เมษายน 2559)