ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 12, 2016, 09:11:15 AM »


สหกรณ์สวนยางภาคใต้ เล็งลงทุน Rubber City


สหกรณ์สวนยางภาคใต้ เล็งลงทุน Rubber City


โดย...อัสวิน ภฆวรรณ


นิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ Rubber City จ.สงขลา ก่อรูปให้เห็นเป็นจริงมากขึ้น หลังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพาราไปแล้วเมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา


ในส่วนของนักลงทุนก็มีผู้ประกอบการ 17 ราย เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่จากไทย จีน และญี่ปุ่น 5 ราย รวมทั้งเครือข่ายสหกรณ์และผู้ประกอบการขนาดกลางหรือเอสเอ็มอีอีกประมาณ 12 ราย สนใจเข้ามาลงทุน


ชำนาญ เมฆตรง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชสยท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มสหกรณ์สวนยางกำลังหารือกันและที่ตกลงเข้าไปลงทุนในนิคมฯ ยางพาราของ กนอ. ขณะนี้ตอบรับแล้วจำนวน 7 กลุ่มสหกรณ์ เป็นสหกรณ์ยางในพื้นที่ จ.สงขลา เป็นหลัก เพราะเป็นพื้นที่ใกล้เคียง มูลค่าการลงทุนประมาณ 150 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันในกลุ่มสหกรณ์สามารถแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ได้จำนวน 7-8 ผลิตภัณฑ์ และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค


ด้าน ประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ ประธานกรรมการสหกรณ์ สกย.อุตสาหกรรมยางปัตตานี 2015  กล่าวว่า สำหรับกลุ่มสหกรณ์ผู้ที่ลงทุนเหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรมยางพารา จะเป็นกลุ่มสหกรณ์ในพื้นที่ จ.สงขลา และรอยต่อ หากเป็นกลุ่มสหกรณ์ในพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส จะมีระยะห่าง สหกรณ์ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับวัตถุดิบ จึงอำนวยความสะดวกต่อการบริหารจัดการ


สำหรับการลงทุนของสหกรณ์กลุ่มต่างๆ และการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ในรับเบอร์ซิตี้นั้น ประยูรสิทธิ์ มองว่า จะเกิดผลประโยชน์ต่อชาวสวนยาง เพราะบริษัทผู้ลงทุนจะแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ส่วนกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มยางต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์กลางน้ำ เช่น ยางคอมปาวด์ เป็นต้น


?ในส่วนคอนเนกชั่นกลุ่มที่จะเข้าไปลงทุนในรับเบอร์ซิตี้มี 7 สหกรณ์ กับ 2 บริษัท เบื้องต้นเท่าที่ปรากฏจะมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตัวหลัก คือ แผ่นพื้นรองเท้า ส้นรองเท้า ฯลฯ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สำหรับการแปรรูปเป็นยางคอมปาวด์นั้น ทางสหกรณ์ไม่ต้องลงทุน เพราะรับเบอร์ซิตี้สร้างโรงงานกลางเอาไว้อำนวยความสะดวกแล้ว ผู้ลงทุนจึงใช้ทุนน้อยลงตามลำดับ?


ส่วนกลุ่มสหกรณ์ชาวสวนยางที่มีนโยบายการผลักดันโดยกู้เงินจากรัฐบาลประมาณ 3,000 ล้านบาท มาลงทุนโรงงานอุตสาหกรรมล้อยางนั้น ประยูรสิทธิ์ บอกว่า ก็ยังดำเนินการได้ เพราะกลุ่มสหกรณ์ทางด้านการเกษตรนั้นจำเป็นทางด้านสินเชื่อ เพราะมีเงินจำนวนน้อยมาก ต่างกับกลุ่มสหกรณ์ที่ทำธุรกรรมทางด้านการเงิน กลุ่มนี้มีศักยภาพทางด้านการเงินสูงมาก


?เรื่องการตลาดของอุตสาหกรรมล้อยางนั้นไม่น่าหวั่นวิตก ขั้นต้นทำการตลาดผลิตเอง ใช้เอง โดยชาวสวนยางพารา ตัวเลขเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1.5 ล้านครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 7 ล้านคน?


นิคมอุตสาหกรรมยางพาราถือเป็นความหวังของภาคเศรษฐกิจการเกษตรภาคใต้ ซึ่งเป็นความหวังมานานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตามหลัง กนอ.ลงนามสัญญาก่อสร้าง คาดว่าระยะแรกจะแล้วเสร็จในปี 2561