ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2016, 01:46:55 PM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  25  มีนาคม  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกรรโชกแรงด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้อุณหภูมิลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

2. การใช้ยาง


- กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนระบุว่า จีนมียอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 300,000 คันในปีที่ผ่านมา และคาดว่ายอดการผลิตและขายรถไฟฟ้าในจีนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปีนี้

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในเดือนมกราคม

- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การทรุดตัวของราคาน้ำมันไม่มีแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกจนกว่าอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มปรับตัวขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะฟื้นตัวขึ้น

- ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนเมษายนที่จัดทำโดย Gfk ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันเดือนเมษายนขยับลงสู่ระดับ 9.4 จาก 9.5 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลักบางแห่งของเยอรมัน

- นายกรัฐมนตรีจีนเปิดเผยว่า จีนจะเดินหน้าผลักดันปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ในระหว่างที่เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน และจะยกระดับกลไกทางเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน เพื่อหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยังกล่าวว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการต่าง ๆ อย่างครอบคลุม หากเศรษฐกิจชะลอตัวหลุดกรอบที่สมเหตุสมผล

- รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดการประเมินภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยระบุว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคและบริษัทเอกชนปรับตัวลดลง เนื่องจากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน และการชะลอตัวของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า เฟดอาจใกล้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหม่ หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว ขณะทำการปรับลดคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจเล็กน้อย

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 113.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดตลาดที่ 39.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.33 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 6

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดที่ 40.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 165.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 175.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 149.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สำนักงานแห่งชาติบราซิลรายงานว่า อัตราว่างงานของบราซิลพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 ทั้งนี้อัตราว่างงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 - มกราคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะมีแรงหนุนจากเงินบาทอ่อนค่า และปริมาณผลผลิตที่มีน้อย อย่างไรก็ตาม ราคายางที่สูงขึ้นในขณะนี้ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยในประเทศ ส่วนต่างประเทศการซื้อขายยังคงซบเซา จึงยังมีการขายออกยาก เพราะผู้ซื้อยังคงซื้อในราคาต่ำ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่อาจเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา