ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 10:59:28 AM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  10  มีนาคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ

- ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อาจมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วน มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ต้นยางให้ผลผลิตลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด
2. การใช้ยาง

- ผู้ผลิตยางในประเทศกัมพูชาคาดว่าราคายางทั่วโลกจะฟื้นตัวภายในปีนี้ หลังจากที่ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ 4 ประเทศตกลงที่จะลดปริมาณการส่งออกในช่วง 6 เดือนข้างหน้าเพื่อผลักดันราคายางให้ปรับตัวสูงขึ้น และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยางกล่าวว่า ขณะนี้ราคายางทั่วโลกใกล้ระดับต่ำสุดแล้ว นับตั้งแต่ปี 2552 เนื่องจากปัญหาอุปทานยางล้นตลาด และความต้องการใช้ยางของประเทศจีนลดลง โดยคาดว่าปริมาณผลผลิตยาง
ทั่วโลกมีถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน
3. เศรษฐกิจโลก

- รายงานของธนาคารโลกระบุว่า การขยายตัวของการนำเข้าภาคสินค้าในระดับโลกได้ชะลอตัวลงสู่ร้อยละ 1.7 ในปีที่แล้ว ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและปัญหาในประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ได้เป็นปัจจัยทำให้ปริมาณการค้าในตลาดโลกลดลง
- ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ปฏิเสธมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะเผชิญกับภาวะฮาร์ดแลนดิ้ง หรือภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลจีนได้หันไปอาศัยภาคบริการเพื่อสกัดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
- เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศเม็กซิโก เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยังคงเป็นปัจจัยสร้างเสถียรภาพและแหล่งการพัฒนาของโลก แม้ว่ากำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าสต๊อคสินค้าภาคค้าส่งจะลดลงร้อยละ 0.2
4. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 35.28 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 113.64 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายนปิดตลาดที่ 38.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขานรับการคาดการณ์ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อจำกัดการผลิตในการประชุมเดือนนี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนหลังจากที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ได้ปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ทั้งในปีนี้และปีหน้า
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายนปิดที่ 41.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมัน WTI
ในปีนี้ลงเหลือ 34.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 37.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล และได้ปรับลดคาดการณ์ราคาในปีหน้าลงเหลือ 40.09
ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 50.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

2



- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 3.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับเกือบ 522 ล้านบาร์เรลตามการคาดหมายของนักวิเคราะห์ ขณะที่สต๊อคปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
6. การเก็งกำไร

- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 166.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 175.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.3 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 140.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว

- รายงานของนายกรัฐมนตรีจีนระบุว่า ภายใต้สถานการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา โครงการ Belt and Road Initiative หรือแนวคิดริเริ่มโครงการพื้นที่และเส้นทางเศรษฐกิจจีนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากหลายประเทศและภูมิภาค โดยสามารถนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาใหม่ และประสิทธิภาพในการผลักดันเศรษฐกิจที่อยู่ตามแนวเส้นทางดังกล่าว
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ

- ราคายางน่าจะทรงตัวเพราะราคาที่สูงขึ้นและลดลงอย่างรวเร็ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการซื้อขายและรอดูสถานการณ์ที่ชัดเจนว่าราคาที่สูงขึ้นเกิดจากความต้องการซื้อจริงหรือเป็นการบั่นราคา อย่างไรก็ตาม ปริมาณยางที่มีน้อยในระยะนี้โอกาสที่ราคายางจะกลับมาสูงขึ้นยังมีอยู่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และเงินเยนอ่อนค่า รวมทั้งปริมาณอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลง ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินบาทมีทิศทางแข็งค่า และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันนี้ และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า (วันที่ 15 - 16 มีนาคม 2559)

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา