ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2016, 09:24:50 AM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ภาคเหนืออุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตลดลงเพราะหลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 541,330 คัน ทำสถิติปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์ขนาดเล็กปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

- ผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ รายงานยอดจำหน่ายเดือนกุมภาพันธ์ที่สดใส ขณะที่ลูกค้ากลับเข้าซื้อรถยนต์ หลังเผชิญภาวะอากาศหนาวจัดในเดือนมกราคม ทั้งนี้ฟอร์ดรายงานยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เฟียต ไครส์เลอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ส่วนนิสสันมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 อย่างไรก็ดี เจเนอรัลมอเตอร์มียอดจำหน่ายลดลงร้อยละ 1.5

3. เศรษฐกิจโลก


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า มูลค่าการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่ยังน้อยกว่าไตรมาส 3 ที่ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 11.2 ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน

- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากร่วงลงร้อยละ 4.4 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านก่อสร้างเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 สู่ระดับ 1.14 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 หรือในรอบกว่า 8 ปี จากเดือนธันวาคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6

- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุทานของสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ มีการปรับตัวดีกว่าคาดในเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ระดับ 49.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เพิ่มขึ้นจาก 48.2 ในเดือนมกราคม อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 บ่งชี้ถึงการหดตัว โดยดัชนีอยู่ในภาวะหดตัวติดต่อกัน 5 เดือน

- ผลสำรวจดัชนีธุรกิจขนาดย่อมของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 100.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนมกราคม ซึ่งดัชนีที่สูงกว่า 100.0 บ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เผยผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้

    ภาคการผลิตยูโรโซน อยู่ที่ 51.2 เมื่อเทียบกับรายงานเบื้องต้นที่ 51.0 และตัวเลขเดือนมกราคมที่ 52.3
    ภาคการผลิตเยอรมัน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ที่ 50.5 จาก 52.3 ในเดือนมกราคม
    ภาคการผลิตฝรั่งเศส ปรับตัวสูงบขึ้นสู่ระดับ 50.2 จาก 50.0 ในเดือนมกราคม
    บ่งชี้ถึงการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยของภาวการณ์ดำเนินงานในภาคการผลิต
    ภาคการผลิตอิตาลี ลดลงแตะ 52.2 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 12 เดือน จาก 53.2 ในเดือนมกราคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.63 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 114.01 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.73 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายนปิดตลาดที่ 34.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากทางการรัสเซียระบุว่าใกล้มีการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ในการจำกัดการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ยังคงขานรับข่าวธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR)

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายนปิดที่ 36.81 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- รัสเซียระบุว่า ใกล้มีการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ในการจำกัดการผลิตน้ำมัน ขณะที่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะมีขึ้นในการประชุมเดือนนี้

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 152.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 158.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.1 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 130.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนมกราคมปรับตัวลดลงสู่ร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.3 ในเดือนธันวาคม โดยรายงานระบุว่าสัดส่วนตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นแตะ 1.28 ในเดือนมกราคม หมายความว่ามีตำแหน่งว่าง 128 ตำแหน่งสำหรับผู้หางานทำทุก 100 คน

- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เดือนมกราคมอัตราว่างงานในยูโรโซนลดลงสู่ร้อยละ 10.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปีครึ่ง จากร้อยละ 10.4 ในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ผู้ว่างงานมีจำนวนลดลง 105,000 ราย อยู่ที่ 16.65 ล้านราย

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงข้น เพราะปริมาณยางที่ลดลงตามฤดูกาล ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเร่งซื้อ ก่อนที่จะมีการหยุดกรีดเพิ่มขึ้น

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาน้ำมันที่ปิดตลาดฟื้นตัวขึ้นเหนือระดับ 34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ประกอบกับนักลงทุนขานรับข่าวจีนกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ รวมทั้งปริมาณผลผลิตยางที่ลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา