ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 09:20:34 AM »

"นิพิฏฐ์"อัดรัฐบาลดีแต่พูด ระบุทำงานช้ามาก จนราคายางดิ่งลงเหว

วันที่ 11 มกราคม  พ.ศ. 2559 เวลา 06:00:47 น. ที่มา มติชน






?นิพิฏฐ์?ยันข้อเสนอแก้ปัญหายางของ ปชป. รัฐไม่ลงมือทำ ดีแต่พูด สอนมวย รบ.อย่าเอาแต่สั่ง เพราะไม่มีคนทำจริง วอนอย่าใช้วาทกรรมตอกย้ำชาวสวนยาง เพราะเกษตรกรไม่มีเงินเดือนเหมือน ครม.




เมื่อวันที่ 10 มกราคม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีแกนนำชาวสวนยางจ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่าพรรค ปชป.เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุทำให้ราคายางตกต่ำว่า ขอให้พูดด้วยใจเป็นธรรม และเอาความจริงมาพูดกัน ว่าในช่วงที่พรรค ปชป.เป็นรัฐบาล ราคายางเป็นอย่างไร แม้ในช่วงรัฐบาลนี้ ที่ผ่านมาตนและกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ได้แถลงข่าวและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้เร่งรัดการพยุงราคายางและแก้ไขปัญหายางอย่างเป็นระบบ แต่สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุจะสร้างเมืองยางและมาตรการอื่นๆ ที่ใช้นั้น ก็เป็นข้อเสนอที่ตรงกับพรรคยื่นไป อาทิ ใช้ยางพาราทำพื้นสนามเด็กเล่นทั่วประเทศ ทั้งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียน ใช้น้ำยางพาราและยางดิบเป็นส่วนผสมในการทำถนนทั่วประเทศและอีกหลายข้อ

นายนิพิฏฐ์กล่าวต่อว่า ที่สำคัญต้องยอมรับว่ารัฐบาลนี้ทำช้ามาก ทั้งที่มีช่องทางในการบริหารจัดการได้รวดเร็ว เพราะหากรัฐบาลทำตามข้อเสนอที่เราได้เสนอไปตั้งแต่ครั้งแรก สถานการณ์ยางจะไม่ดิ่งเหวเช่นนี้ เพราะราคายาง 4 กิโลกรัม 100 บาท แบบนี้ถือว่าเกษตรกรสวนยางอยู่ไม่ได้จริงๆ เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องกล้ายอมรับความจริงว่ามีปัญหาในการบริหารจัดการ หรือบริหารผิดพลาด เพราะนายกฯสั่งการให้ทำ แต่กระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่ติดตามเรื่องนี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เพราะปัญหายางเกี่ยวกับหลายกระทรวง เช่น กระทรวงมหาดไทย ต้องมีการสำรวจแล้วว่า อปท.และโรงเรียนทั่วประเทศถ้าจะทำสนามเด็กเล่นต้องใช้ยางดิบ หรือน้ำยางกี่หมื่นตัน หรือกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท จะต้องรู้ว่ามีถนนกี่เส้นที่จะสร้างใหม่ในแต่ละปี หรือซ่อมแซมใช้ยางปริมาณเท่าไหร่ แต่ละหน่วยงานกลับไม่ประสานบูรณาการ คนสั่งก็สั่งไป แต่กลับไม่มีคนทำ เพราะถ้าไม่มีเจ้าภาพหลักควบคุม และนำไปสู่การทำจริง ปัญหานี้ก็จะแก้ไขไม่ได้



"ผมไม่อยากให้รัฐบาลใช้กฎหมายมาข่มขู่เกษตรกรสวนยาง เพราะไม่เข้าใจอารมณ์ของชาวบ้านที่เดือดร้อน ลำบากทั้งครอบครัว นายกฯหรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึง ผบ.ตร. ต้องเข้าใจว่าชาวบ้านไม่มีเงินเดือนเหมือนพวกท่าน ที่ทุกสิ้นเดือนจะมีเงินโอนเข้าบัญชี ดังนั้น การจะพูดอะไรขอให้เอาหัวใจไปใส่ใจเขาด้วย อย่าตอกย้ำความรู้สึกด้วยวาทกรรม แต่ขอให้สำนึกว่าเงินเดือนที่พวกท่านใช้ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานและน้ำตาของชาวสวนยาง ถามว่า ครม.จะกล้าเสียสละไม่นับเงินเดือนสัก 2-3 เดือนหรือไม่ หรือบางคนที่รับเงินเดือนสองทางเป็นทั้ง สนช.และข้าราชการประกาศไม่รับเงินเดือนหรือไม่ และต้องเลิกเกรงใจบริษัทยักษ์ใหญ่ที่นำเข้ายางแอสฟัสต์ (ยางมะตอย) ที่ใช้ทำถนนได้แล้ว เพราะเราเสนอไปปีกว่าไม่มีอะไรคืบหน้าเลย" นายนิพิฏฐ์กล่าว