ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 08:53:28 AM »ด่วน! ส.ชาวสวนยาง 16 จว.ใต้ แถลงการณ์ 5 ข้อ ไม่รับเจรจาตัวแทน ก.เกษตร ลั่นชุมนุมใหญ่
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 23:12:00 น
นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง (แฟ้มภาพ)
เมื่อวันที่ 10 มกราคม นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง เปิดเผยว่า หลังจากแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางได้ประกาศเขตประสบภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำ จนได้รับการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันราคายางพารายังคงตกต่ำอย่างหนัก แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางจึงได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 10 มกราคม 2559 รวม 5 ข้อคือ
1.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างเร่งด่วน
2.ให้รัฐบาลยุติการขายยางพาราในสต๊อก 3.6 แสนตัน โดยประกาศให้เป็น Dead Stock และใช้มาตรา 44 เพื่อบังคับให้มีการใช้ยางในประเทศต่อไป
3.ให้การยางแห่งประเทศไทยขับเคลื่อนโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อให้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เป็นเครื่องมือและกลไกในการปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดการยาง) ทันทีเมื่อเปิดประชุมคณะรัฐมนตรี และเร่งสรรหาผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยให้เร็วที่สุด
4.มีมติสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทุกเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศในการต่อสู้เพื่อเกษตรกรชาวสวนยางและมีมติ เข้าร่วมประชุมแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ที่ จ.ตรัง ในวันที่ 12 มกราคม 2559 โดยมีข้อเสนอต่อที่ประชุม ?เรียกร้องราคายางที่กิโลกรัมละ 60 บาท หากรัฐบาลทำไม่ได้ พร้อมจัดชุมนุมใหญ่"
5.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทบทวนการทำงานของที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยฯนายอำนวยปะติเส และผู้ช่วยรัฐมนตรี นางจินตนา ชัยยวรรณาการ เพราะไม่มีความสามารถและสร้างความแตกแยกให้เกษตรกรชาวสวนยาง
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 23:12:00 น
นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง (แฟ้มภาพ)
เมื่อวันที่ 10 มกราคม นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง เปิดเผยว่า หลังจากแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางได้ประกาศเขตประสบภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำ จนได้รับการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันราคายางพารายังคงตกต่ำอย่างหนัก แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางจึงได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 10 มกราคม 2559 รวม 5 ข้อคือ
1.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างเร่งด่วน
2.ให้รัฐบาลยุติการขายยางพาราในสต๊อก 3.6 แสนตัน โดยประกาศให้เป็น Dead Stock และใช้มาตรา 44 เพื่อบังคับให้มีการใช้ยางในประเทศต่อไป
3.ให้การยางแห่งประเทศไทยขับเคลื่อนโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อให้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เป็นเครื่องมือและกลไกในการปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดการยาง) ทันทีเมื่อเปิดประชุมคณะรัฐมนตรี และเร่งสรรหาผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยให้เร็วที่สุด
4.มีมติสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทุกเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศในการต่อสู้เพื่อเกษตรกรชาวสวนยางและมีมติ เข้าร่วมประชุมแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ที่ จ.ตรัง ในวันที่ 12 มกราคม 2559 โดยมีข้อเสนอต่อที่ประชุม ?เรียกร้องราคายางที่กิโลกรัมละ 60 บาท หากรัฐบาลทำไม่ได้ พร้อมจัดชุมนุมใหญ่"
5.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทบทวนการทำงานของที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยฯนายอำนวยปะติเส และผู้ช่วยรัฐมนตรี นางจินตนา ชัยยวรรณาการ เพราะไม่มีความสามารถและสร้างความแตกแยกให้เกษตรกรชาวสวนยาง