ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 08, 2016, 03:17:05 PM »

บีบผู้ประกอบการซื้อยางพารา

8 ม.ค.59

  รัฐบาลขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ซื้อยาง 8 แสนตันหวังดันราคา ขู่ใช้กฎหมายคุมส่งออก
 นายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบ เปิดเผยว่า ได้ขอให้กลุ่มผู้ใช้ยางพาราทั้ง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย สหกรณ์ชาวสวนยาง สมาคมผู้ผลิตถุงมือยาง สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย และการยางแห่งประเทศไทย ช่วยกันซื้อยางพาราจากเกษตรกร เพื่อช่วยประคองให้ราคาไม่ต่ำลงกว่าปัจจุบัน

 "ราคาเริ่มตกมาตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค. จาก 40 บาท ลงมาถึงขณะนี้ 32.50 บาท เพราะไม่มีการเข้าซื้อ ทั้งที่แต่ละแห่งมีออร์เดอร์ส่งออกและใช้ยาง เหมือนกับช่วยกันกดราคายาง ทำให้ราคายางตกลง ดังนั้นจากนี้ไป รัฐบาลขอความร่วมมือให้ช่วยกันซื้อ โดยจะให้ช่วยกันแบ่งตัวเลขวันละ 8,000 ตันออกไปตามยอดธุรกิจ เพราะรัฐบาลมีตัวเลขทั้งหมดว่า ใครซื้อยางเท่าไหร่ อย่างไร คาดว่าหลังจากที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือราคายางน่าจะดีขึ้นหรือไม่ต่ำกว่า วันนี้" นายอำนวย กล่าว

 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากมาตรการให้ภาคเอกชนเข้าช่วยซื้อยางไม่ได้รับความร่วมมือ ก็อาจต้องพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมยาง ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมการส่งออกยางพารา เข้ามาใช้

 นายไพฑูรย์ วงศาสุทธิกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการไม่ได้กดราคารับซื้อ การซื้อขายยางเป็นไปตามกลไกตลาด ผู้ประกอบการจะซื้อเมื่อมีออร์เดอร์ ซื้อมาขายไป ไม่มีใครซื้อมาเก็บ อย่างไรก็ตามพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล แต่การเข้าซื้อต้องเป็นไปตามราคาตลาด

 ด้านแกนนำกลุ่มเกษตรกรสวนยางภาคใต้หลายกลุ่ม ก็มีความเห็นแตกต่างกันในการจัดชุมนุมใหญ่เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

 นายกิตติศักดิ์ วิโรจน์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมการชุมนุมเนื่องจากเห็นว่าไม่โปร่งใส เพราะผู้ชุมนุมต้องการให้ระบายยาง 3 แสนตันให้รัฐบาลจีน ซึ่งจะทำให้ราคายางตกต่ำลงไปอีก ทั้งที่ควรนำมาแปรรูปในประเทศ

 นายไพโรจน์ ฤกษ์ดี แนวร่วมเกษตรกรชาวสวนยางบ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ก็ระบุว่า เตรียมเคลื่อนไหวเพื่อกดันรัฐบาลอย่างแตกหัก

 ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ชุมนุมไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะคงไม่ให้ตามนั้นอยู่แล้ว แต่จะช่วยในแบบวิธีการที่ยั่งยืน หากออกมาก็มีคดี ชาวสวนยางควรปฏิรูปตนเองด้วย เช่น การปลูกพืชเป็นรายได้ทดแทนระหว่างที่ยางพาราราคาตกต่ำ
 
     

 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)