ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2015, 10:57:59 AM »'ทศพล' จี้ รัฐสร้างอาชีพเสริมชาวสวนยาง
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2015 เวลา 10:59 น.
ชาวสวนยางโอด ราคายางต่ำสุดในประวัติการณ์ จี้ รัฐผลักดันสร้างอาชีพเสริม พร้อมสนับสนุนการใช้ยางในประเทศ
นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม 16 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยกับรายการ ไอ.เอ็น.เอ็น. โฟกัสเศรษฐกิจ ว่า เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนจากราคายางที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน โดยสถานการณ์ราคายางพาราขณะนี้ค่อนข้างวิกฤติ ต่ำสุดที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งราคาน้ำยางสดอยู่ที่ประมาณ 30 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นดิบประมาณ 38.85 บาทต่อกิโลกรัม และยางแผ่นรมควันอยู่ที่ประมาณ 41 บาทต่อกิโลกรัม เบื้องต้นในเดือนมกราคม 2559 เตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ภาครัฐผลักดัน ช่วยเหลือเยียวยาในเบื้องต้นเช่นการสนับสนุนไร่ละ 1,500 บาท แม้วิธีดังกล่าวจะไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แต่จะสามารถเยียวยาเกษตรกรให้สามารถอยู่รอดและเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงการสนับสนุนการใช้ยางในประเทศมากขึ้น เช่น การทำถนนด้วยน้ำยางพารา และการสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนให้กับชาวสวนยางได้
ที่มา : INN News (17 ธ.ค. 58)
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2015 เวลา 10:59 น.
ชาวสวนยางโอด ราคายางต่ำสุดในประวัติการณ์ จี้ รัฐผลักดันสร้างอาชีพเสริม พร้อมสนับสนุนการใช้ยางในประเทศ
นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม 16 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยกับรายการ ไอ.เอ็น.เอ็น. โฟกัสเศรษฐกิจ ว่า เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนจากราคายางที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน โดยสถานการณ์ราคายางพาราขณะนี้ค่อนข้างวิกฤติ ต่ำสุดที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งราคาน้ำยางสดอยู่ที่ประมาณ 30 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นดิบประมาณ 38.85 บาทต่อกิโลกรัม และยางแผ่นรมควันอยู่ที่ประมาณ 41 บาทต่อกิโลกรัม เบื้องต้นในเดือนมกราคม 2559 เตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ภาครัฐผลักดัน ช่วยเหลือเยียวยาในเบื้องต้นเช่นการสนับสนุนไร่ละ 1,500 บาท แม้วิธีดังกล่าวจะไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แต่จะสามารถเยียวยาเกษตรกรให้สามารถอยู่รอดและเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงการสนับสนุนการใช้ยางในประเทศมากขึ้น เช่น การทำถนนด้วยน้ำยางพารา และการสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนให้กับชาวสวนยางได้
ที่มา : INN News (17 ธ.ค. 58)