ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 03:32:06 PM »

สหกรณ์ฯตรังขาดทุน4แห่งชาวสวนยางหมดปัญญาใช้หนี้


  พิษราคายางดิ่ง ชาวสวนยางหมดปัญญาส่งเงินคืนสหกรณ์ฯ ขาดทุนแล้ว 4 แห่ง จังหวัดอนุมัติงบฯพัฒนา 24 ล้านบาทอุ้ม หวังช่วยแก้ปัญหาราคายาง เน้นเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา พร้อมแนะเกษตรกรขึ้นทะเบียนเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือจากภาครัฐ
 นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรังมีสหกรณ์กองทุนสวนยางจำนวน 36 แห่ง สมาชิกจำนวน 6,710 คน มีทุนดำเนินงาน 280 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจรวบรวม แปรรูปประมาณ 860 ล้านบาท
 ในปี 2558 สหกรณ์ดำเนินธุรกิจมีกำไร 32 แห่ง เป็นเงินประมาณ 28 ล้านบาท ขาดทุน 4 แห่ง จำนวน 0.53 ล้านบาท จากสภาพปัญหาราคายางที่ตกต่ำส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์ และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถส่งชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ ได้
 ทั้งนี้ จังหวัดตรัง ได้อนุมัติงบฯพัฒนาจังหวัด วงเงินประมาณ 24 ล้านบาท เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาราคายางโดยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา จำนวน 2 โครงการ เป้าหมาย 4 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์บ้านหนองครก ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง สหกรณ์บ้านหนองศรีจันทร์ และสหกรณ์ตำบลคลองปาง ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้ความช่วยเหลือสหกรณ์ฯและเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง
 อย่างไรก็ตามยังมีสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จทั้ง ๆ ที่สหกรณ์กองทุนสวนยางหลายแห่งต่างประสบปัญหาขาดทุนอันเนื่องมาจากราคา ยางพาราตกต่ำ ซึ่งตนได้มีโอกาสเดินทางไปตรวจเยี่ยมผลการดำเนินกิจการของสหกรณ์กองทุนสวน ยางวังคีรี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบว่าสหกรณ์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2537 มีโรงอบ/รมยาง จำนวน 2 โรง ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 533 คน ทุนเรือนหุ้นประมาณ 6 ล้านบาท ทุนดำเนินงานประมาณ 19 ล้านบาท
 ที่ผ่านมา มีการดำเนินธุรกิจ 5 ประเภท มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 84 ล้านบาท ประกอบด้วยธุรกิจแปรรูปยาง ปุ๋ย ประมาณ 66 ล้านบาท ธุรกิจรวบรวมผลผลิตน้ำยางสด เศษยาง รวมประมาณ 6.4 ล้านบาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ขายปุ๋ยและสินค้าทั่วไปประมาณ 6 ล้านบาท ธุรกิจรับฝากเงิน 6 ล้านบาท และธุรกิจสินเชื่อประมาณ 1 บาท รายได้ประมาณ 80 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายประมาณ 75 ล้านบาท มีกำไรสุทธิประมาณ 4 ล้านบาท
 สำหรับกำไรของสหกรณ์ฯ ได้มีการจัดสรรคืนแก่สมาชิกเป็นเงินประมาณ 1.79 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.38 และเก็บไว้เป็นทุนในการดำเนินงานและสวัสดิการสมาชิก 1.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.87 และเป็นโบนัสกรรมการและอื่น ๆ 0.37 คิดเป็นร้อยละ 9.75
 นายเดชรัฐกล่าวอีกว่า การดำเนินการที่มีผลกำไรของสหกรณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้มแข็ง มีการเชื่อมั่นศรัทธา การช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสำเร็จของสหกรณ์ฯซึ่งขณะนี้ รัฐบาลโดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้จัดให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้ความช่วยเหลือ เป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนายางพารา โดยเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่ง ประเทศไทยเท่านั้น--จบ--
      ประชาชาติธุรกิจ (Th)