ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 10:01:16 AM »

กลุ่มชาวสวนยางรายย่อยพัทลุงรวมตัวตั้ง ?กองทุนข้าวสาร? ช่วยเหลือกันช่วงหน้าฝน

พัทลุง - กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยและลูกจ้างกรีดยาง ต.ตลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง รวมกันจัดตั้ง ?กองทุนข้าวสาร? เพื่อช่วยเหลือกันในช่วงฤดูฝน
 
 วันนี้ (17 พ.ย.) ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านคลองใหญ่ ท้อง ที่ หมู่9 ต.ตลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยและลูกจ้างกรีดยาง ได้ระดมทุนเรือนหุ้นจัดตั้งกองทุนข้าวสาร เพื่อนำมาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนตก เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นลูกจ้างและเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ไม่สามารถออกไปกรีดยางได้ แต่ค่าครองชีพยังคงสูงเป็นปกติ ต้องแบกรับรายจ่ายประจำวันทั้งค่าอาหาร ค่าส่งบุตรหลานเรียน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งกลุ่มกองทุนข้าวสาร เพื่อช่วยเหลือกันในสภาวะฝนตกและขาดรายได้
 
 โดย นายดร พุมมาลี อายุ 42 ปี ประธานกลุ่มเครือข่ายคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยพัทลุง กล่าวว่า ในทุกปีช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่ชาวสวนยางรายย่อยและลูกจ้างต้องใช้ชีวิตแบบ อัตคัด มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงได้นั่งคิดร่วมกับเพื่อนสมาชิกว่าจะจัดตั้งกองทุนข้าวสารเพื่อไว้ในการ ช่วยเหลือสมาชิก โดยให้สมาชิกกว่า 600 ครอบครัวได้ลงขัน ลงทุน ระดมหุ้น เพื่อจัดชื้อข้าวสาร มาขายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดจากปกติ อย่างข้าวหอมมะลิท่อน ราคากิโลกรัมละ 20 บาท ทางกองทุนข้าวสารได้ชื้อมากิโลกรัมละ16 บาท และจะนำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกในราคากิโลกรัมละ 18 บาท และส่วนต่าง 2 บาทที่ได้จะนำมาใช้เป็นสวัสดิการแก่สมาชิกมีการปันผลเรือนหุ้นปลายปีต่อไป
 
 นายดรยังกล่าวอีกว่า ชาวสวนยางรายย่อยและลูกจ้างคนกรีดยาง เป็นครอบครัวใหญ่หาเช้ากินค่ำ อยู่กันครอบครัวละ 8-10 คน ในแต่ละวันต้องใช้ข้าวสารถึง 5 กิโลกรัม ซึ่งการตั้งกองทุนข้าวสารทำให้ประหยัดรายจ่ายได้ถึงครอบครัวละ 300-500 บาทต่อเดือน โดยเงินส่วนนี้สามารถเอาไปซื้อกับข้าวหรือค่าอาหารให้กับบุตรได้ และชาวสวนยางที่นี่ไม่ได้รับค่าชดเชยหรือการช่วยเหลือจากภาครัฐ ไร่ละ 2,560 บาท ต่อไร่ และ1,000 ต่อไร่ และการให้กู้เงิน 100,000 บาทจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางก็ไม่สามารถกู้ได้ เพราะที่ดินที่นี่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
 
 ด้าน นางเบญจมล ไพรพฤกษ์ อายุ 45 ปี สมาชิก ลูกจ้างกรีดยางกล่าวว่า ดีใจที่ได้ร่วมกันตั้งกองทุนข้าวสาร เพื่อจัดชื้อข้าวสารมาจำหน่ายให้กับชาวสวนยางพารารายย่อย ทุกปีในช่วงหน้าฝนไม่มีรายได้เท่าที่ควร และต้องกู้หนียืมสิน เพราะค่าใช้จ่ายยังต้องใช้จ่ายตามปกติ   

ที่มา  ผู้จัดการออนไลน์(17/11/58)