ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2015, 01:54:59 PM »

ชงครม.คลอดมาตรการอุ้มยาง

02 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:12 น ที่มา โพสต์ทูเดย์


เกษตรฯ เสนอ ครม.ออกมาตรการช่วยสวนยางยันภาคอุตสาหกรรมอังคาร 3 พ.ย.นี้

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 พ.ย.นี้ จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและอนุมัติงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวน ยาง1.2 หมื่นล้านบาท และขอขยายมาตรการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรม

เนื่องจากที่ผ่านมา โครงการเพิ่มการใช้ยางพาราที่รัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการติดขัดเดินหน้าไม่ได้ เพราะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้ที่เข้มงวดมากเกินไป ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถขับเคลื่อนตามนโยบายได้ หาก ครม.มีมติเห็นชอบ ก็จะสามารถเดินหน้าทุกโครงการได้ทันที

พล.อ.ฉัตรชัย ชี้แจงว่า มาตรการที่เสนอ ครม. ประกอบด้วย 1.โครงการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในระยะเร่งด่วน1.2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ 1.2 ล้านราย เป็นชาวสวนยาง 8.5 แสนราย และคนกรีดยางอีก 4 แสนราย โดยผ่านการช่วยเหลือชาวสวนยางไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่/ครัวเรือน อบรมการให้ความรู้เกษตรกร200 บาท/ไร่ ช่วยเหลือด้านค่าครองชีพคนกรีดยาง 600 บาท/ไร่

มาตรการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศที่ ครม.ได้อนุมัติในโครงการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ภาคอุตสาหกรรมแปรรูป ยางพารา 1.5 หมื่นล้านบาทแต่การดำเนินงานกลับไม่คืบหน้า เนื่องจากธนาคารออมสินมีเงื่อนไขที่เข้มงวด จึงขอเปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมโครงการได้

นอกจากนี้ จะขอเพิ่มการขยายเวลาการคืนเงินในวงเงินของโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อ ให้สถาบันเกษตรกรกู้เป็นทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อยางแปรรูป1.5 หมื่นล้านบาท ที่ปัจจุบันยังใช้ไม่หมด และขอขยายเวลาโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรกู้ครัวเรือนละ 1 แสนบาท วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อทำอาชีพเสริม ซึ่งมีเกษตรกรมีความต้องการเพิ่มอีก 2 หมื่นราย ต้องขอเงินเพิ่ม2,000 ล้านบาท