ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2015, 07:44:17 AM »ชาวสวน-คนงานสุดระทมทิ้งกรีดยาง-ให้ลูกหยุดเรียน
updated: 28 ต.ค. 2558 เวลา 19:01:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน
คนกรีดยางพารา "ไทย-เมียนมา" เศร้า รายได้ไม่พอรายจ่าย แห่ทิ้งสวน หวนกลับภูมิลำเนา-เข้าโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของสวนยางขนาดใหญ่ตัดใจขายสวนทิ้ง แม้ราคาร่วงแรงจากไร่ละ 4 แสนบาท เหลือเพียง 2.5 แสนบาท แต่ยังไร้คนซื้อ ด้านกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.อำเภอนาทวี ฮึดสู้ ลงทุน 44 ล้านสร้างโรงรม โรงอัดก้อน หวังเพิ่มมูลค่าอีก 4-5 บาท/กิโลกรัม
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สถานการณ์ของลูกจ้างกรีดยางพารา จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ทั้งชาวไทยและชาวเมียนมาได้ทยอยเลิกรับจ้างกรีดยางพารา เนื่องจากปัจจุบันการรับจ้างกรีดยางพารามีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย จากเดิมที่ยางพารามีราคาสูงกว่า 100 บาท/กิโลกรัม คนรับจ้างกรีดจะได้ส่วนแบ่งระหว่างเจ้าของสวนยางกับคนกรีดในสัดส่วน 60/30 70/30 หรือ 50/50 แต่เมื่อราคาร่วงลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ค่าจ้างกรีดที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แรงงานจึงต้องทยอยเลิกรับจ้างกรีดยาง และตัดสินใจกลับสู่ภูมิลำเนาที่ประเทศเมียนมา ขณะที่บางส่วนได้เข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และรับจ้างทั่วไป สำหรับคนไทยก็ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม โดยเฉพาะกลับพื้นที่จังหวัดพัทลุง
"ตอนนี้คนรับจ้างกรีดยาง นอกจากกรีดยางตอนกลางคืนแล้ว ตอนกลางวันก็จะหันไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนบุตรเจ้าของสวนที่เรียนหนังสืออยู่ต่างจังหวัด ให้กลับมาเรียนที่ภูมิลำเนาเดิม เพราะลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายได้ และบางรายให้บุตรเว้นวรรคการเรียนลงชั่วคราว โดยตั้งใจว่าจะให้เรียนต่อเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
ด้านนายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และคณะกรรมการสมาคมเครือข่ายชาวสวนยาง เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนปัจจัยการผลิต 2,520 บาท/ไร่ แต่ละรายไม่เกิน 25 ไร่ โดยให้สนับสนุนช่วยเหลือลูกจ้างกรีดยางด้วยในวงเงินดังกล่าว โดยให้ได้รับทั้งผู้มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ
"ยางพาราตกต่ำมานาน ลูกจ้างกรีดยางทั้งชาวไทยและเมียนมาต่างเลิกเป็นลูกจ้างกรีด และหันไปทำงานโรงงานและกลับประเทศ ส่วนคนไทยก็กลับภูมิลำเนา เดิม บางคนไปทำงานรับจ้างทั่วไปเพราะรายได้จากกรีดยางไม่พอกับค่าใช้จ่าย ขณะที่ราคาสวนยางพาราในขณะนี้ซื้อขายกันที่ราคาไร่ละ 250,000 บาท จากเดิมที่เคยขยับสูงถึง 350,000-400,000 บาท/ไร่ แม้ราคาจะถูกลงแต่เจ้าของสวนที่ต้องการขายก็ยังขายไม่ได้เพราะไม่มีคนซื้อ"
นายสมพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางได้พยายามหาทางออกด้วยการลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปจากน้ำยางสดมาเป็นยางรมควัน และยางอัดก้อน ซึ่งจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณกิโลกรัมละ 4-5 บาท โดยขอกู้เงินจากรัฐบาลรวม 44 ล้านบาท ก่อสร้างโรงรมยาง 1 แห่ง เงินลงทุนราว 25 ล้านบาท และใช้งบประมาณอีก 19 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานยางอัดก้อน
updated: 28 ต.ค. 2558 เวลา 19:01:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน
คนกรีดยางพารา "ไทย-เมียนมา" เศร้า รายได้ไม่พอรายจ่าย แห่ทิ้งสวน หวนกลับภูมิลำเนา-เข้าโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของสวนยางขนาดใหญ่ตัดใจขายสวนทิ้ง แม้ราคาร่วงแรงจากไร่ละ 4 แสนบาท เหลือเพียง 2.5 แสนบาท แต่ยังไร้คนซื้อ ด้านกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.อำเภอนาทวี ฮึดสู้ ลงทุน 44 ล้านสร้างโรงรม โรงอัดก้อน หวังเพิ่มมูลค่าอีก 4-5 บาท/กิโลกรัม
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สถานการณ์ของลูกจ้างกรีดยางพารา จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ทั้งชาวไทยและชาวเมียนมาได้ทยอยเลิกรับจ้างกรีดยางพารา เนื่องจากปัจจุบันการรับจ้างกรีดยางพารามีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย จากเดิมที่ยางพารามีราคาสูงกว่า 100 บาท/กิโลกรัม คนรับจ้างกรีดจะได้ส่วนแบ่งระหว่างเจ้าของสวนยางกับคนกรีดในสัดส่วน 60/30 70/30 หรือ 50/50 แต่เมื่อราคาร่วงลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ค่าจ้างกรีดที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แรงงานจึงต้องทยอยเลิกรับจ้างกรีดยาง และตัดสินใจกลับสู่ภูมิลำเนาที่ประเทศเมียนมา ขณะที่บางส่วนได้เข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และรับจ้างทั่วไป สำหรับคนไทยก็ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม โดยเฉพาะกลับพื้นที่จังหวัดพัทลุง
"ตอนนี้คนรับจ้างกรีดยาง นอกจากกรีดยางตอนกลางคืนแล้ว ตอนกลางวันก็จะหันไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนบุตรเจ้าของสวนที่เรียนหนังสืออยู่ต่างจังหวัด ให้กลับมาเรียนที่ภูมิลำเนาเดิม เพราะลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายได้ และบางรายให้บุตรเว้นวรรคการเรียนลงชั่วคราว โดยตั้งใจว่าจะให้เรียนต่อเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
ด้านนายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และคณะกรรมการสมาคมเครือข่ายชาวสวนยาง เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนปัจจัยการผลิต 2,520 บาท/ไร่ แต่ละรายไม่เกิน 25 ไร่ โดยให้สนับสนุนช่วยเหลือลูกจ้างกรีดยางด้วยในวงเงินดังกล่าว โดยให้ได้รับทั้งผู้มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ
"ยางพาราตกต่ำมานาน ลูกจ้างกรีดยางทั้งชาวไทยและเมียนมาต่างเลิกเป็นลูกจ้างกรีด และหันไปทำงานโรงงานและกลับประเทศ ส่วนคนไทยก็กลับภูมิลำเนา เดิม บางคนไปทำงานรับจ้างทั่วไปเพราะรายได้จากกรีดยางไม่พอกับค่าใช้จ่าย ขณะที่ราคาสวนยางพาราในขณะนี้ซื้อขายกันที่ราคาไร่ละ 250,000 บาท จากเดิมที่เคยขยับสูงถึง 350,000-400,000 บาท/ไร่ แม้ราคาจะถูกลงแต่เจ้าของสวนที่ต้องการขายก็ยังขายไม่ได้เพราะไม่มีคนซื้อ"
นายสมพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางได้พยายามหาทางออกด้วยการลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปจากน้ำยางสดมาเป็นยางรมควัน และยางอัดก้อน ซึ่งจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณกิโลกรัมละ 4-5 บาท โดยขอกู้เงินจากรัฐบาลรวม 44 ล้านบาท ก่อสร้างโรงรมยาง 1 แห่ง เงินลงทุนราว 25 ล้านบาท และใช้งบประมาณอีก 19 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานยางอัดก้อน