ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2015, 07:22:19 AM »


ชาวสวนยางฮึ่มปลุกชุมนุมใหญ่จี้รัฐชดเชยราคา


 หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2558 00:00:05 น.
 
กระทรวงเกษตรฯ * ศึกราคายางรอบใหม่ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เผย 26 นี้ประชุม แต่ยืนยันไม่ชดเชยราคา ขณะที่ชาวสวนยางฮึ่ม! ภายใน 2 สัปดาห์หากไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา นัดชุมนุมใหญ่ให้รัฐบาลชดเชยราคายางที่กิโลกรัมละ 65 บาท แนะงัด ม.44 สั่งเอาน้ำยางไปทำถนน
 
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประชุมเพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตก ต่ำ ซึ่งจะมีมาตรการแก้ไขอย่าง ครบวงจร เพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวสวนยาง โดยไม่ชดเชยหรือแทรกแซงราคายาง เพราะมีปัญหา หากดำเนินการอาจมีผล กระทบและขัดกับกฎขององค์การการค้าโลก ซึ่งจะมีตัวแทนเกษตรกร สภาการยางแห่งประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มาร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือทั้งระบบ


เขากล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ รมว.เกษตรฯ เตรียมมาตรการทั้งหมดภายใน 1 สัปดาห์ และนำเสนอคณะกรรมการนโย บายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มีนายกฯ เป็นประธาน เห็นชอบแนวทาง โดยมีทั้งมาตร การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาชีพชาว สวนยาง ให้สินเชื่อ แต่ไม่มีแทรกแซงราคา
 
"มาตรการครั้งนี้จะเป็นเรื่องใหม่ทั้ง หมด เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรทุกมิติ รวมทั้งต้องให้เกิดความรอบคอบกว่าโครง การในอดีต ซึ่งจะมีการซักซ้อมการทำงานให้เป็นตาม พ.ร.บ.ยางแห่งชาติ มีการกำหนดปฏิทินการทำงานให้ละเอียด รวมทั้งการแต่งตั้งบอร์ด กยท.เป็นไปตามกฎหมาย"
 
นายธีรภัทรกล่าวว่า มาตรการต่างๆต้องพยายามทำให้ครบทุกเรื่องตามแผน มีทั้งระยะเร่งด่วนที่จะทำอย่างไรให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเกษตรกรสวนยาง ที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำได้ก่อน ในขณะที่ต้องดู มาตรการรองรับปัญหาจากราคา ตลาดโลก เป็นเรื่องต่อเนื่องด้วย ต้องดูหลายมิติ ส่วนข้อเสนอของเกษตรกรที่ของบปัจจัยการผลิตครัวเรือนละ 2.5 หมื่นบาท ยังไม่มีการพิจารณา
 
ขณะที่นายไพรัช เจ้ยชุม รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จัง หวัดภาคใต้ เปิดเผยว่า จะนัด ประชุมตัวแทนเกษตรกรชาว สวนยางทุกจังหวัด ทั้งภาคเหนือและอีสานที่มีพื้นที่ปลูกยาง เพื่อหารือถึงมาตรการที่รัฐ บาลจะช่วยเหลือ หากภายใน 2 สัปดาห์ยังไม่มีมาตรการออกมาเป็นรูปธรรม จะนัดรวมตัวกันเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยราคายาง ที่กิโลกรัมละ 65 บาท
 
เขากล่าวว่า เกษตรกรสวนยางกำลังประสบปัญหาเดือดร้อนสาหัส ราคายางตกต่ำมาตลอดช่วง 3-4 ปีนี้ วันนี้เกษตรกรประสบปัญหาวิกฤติราคายางมาก เพราะแนวทางการช่วยเหลือดูแล้วไม่เกิดประ โยชน์กับเกษตรกร กลับไปตกกับรายใหญ่หมด
 
"จะรวมตัวกันไปเรียกร้องให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 บังคับให้กระทรวงคมนาคม เอาน้ำยางดิบไปผสมทำถนน จะแก้ยางราคาตกต่ำ เวลานี้วิกฤติสุดแล้ว ราคาในท้องถิ่นเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 30 กว่าบาท พูดกันมาหลายรัฐบาล 10 กว่าบาทไม่เคยทำได้จริง หากนายกฯ มีความจริงใจแก้ไขให้เกษตรกรสวนยางลืมตาอ้าปากได้ สามารถออกคำสั่งให้หน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยา บาล อบต.ซื้อน้ำยาง ซื้อแผ่นยางดิบจากเกษตรกรไปทำผลิตภัณฑ์ใช้ภายในองค์กร เช่น ทำสนามฟุตซอล ทางเดินสุขภาพ หมอน ที่นอนสุขภาพ รวมทั้งการตั้งโรงงานล้อยาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว เพราะจะดูดซับยางที่ล้นระบบตลาดได้มาก ราคายางจะมีเสถียรภาพขึ้นด้วย โดยรัฐไม่ต้องจ่าย ใช้เงินอุดหนุนด้านอื่นเลย
 
นายไพรัชบอกว่า เกษตร กรจะรอฟังประชุม กยน.สัปดาห์หน้า ถ้ารัฐบาลยังไม่แก้ไขราคายาง จะออกไปเรียกร้อง รอรับม็อบได้เลย เพราะเราเดือดร้อนจริงๆ ไม่มีใครกลัวรัฐบาลทหาร ถ้าวันนี้ไม่มีมาตรา 44 มาคุม เจอม็อบเกษตรกรประท้วงทุกวันจนรัฐบาลอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะเกษตรกรเดือดร้อนทั้งประเทศ ได้แต่นั่งประชุมกันอยู่ที่ทำเนียบฯ ไม่มีใครลงไปดูแลแก้ไขให้อย่างจริงใจ.