ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2015, 04:08:18 PM »รัฐเตรียมทุ่มหมื่นล้านช่วยสวนยาง-บีบฝากเงินสำรองแก้วิกฤต
updated: 21 ต.ค. 2558 เวลา 20:15:56 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รัฐเตรียมทุ่ม 1 หมื่นล้าน ช่วยเหลือชาวสวนยางรายย่อย "มนต์ชัย" ชี้เป็นการช่วยเหลือในการปรับตัว ไม่ได้นำส่วนต่างต้นทุนกับราคาซื้อขายมาเป็นตัวพิจารณาหลัก พร้อมวางเงื่อนไขต้องนำเงินฝากธนาคารตามเปอร์เซ็นต์ของเงินช่วยเหลือนาน 4 ปี เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร ประธานคณะทำงานการพิจารณาส่วนต่าง ของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าที่ประชุมคณะทำงานปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีมติตั้งคณะทำงานชุดเล็กพิจารณาเชิงลึกช่วยเหลือชาวสวนยาง โดยที่ประชุมได้ให้แนวทางศึกษาว่า รัฐบาลจะช่วยเหลือโดยใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แก่ชาวสวนยางรายย่อยที่มีสวนยางเฉลี่ยครอบครัวละ 15 ไร่ โดยพิจารณาจากต้นทุนเกษตรกรบวกกำไรในอัตรา 10-15-30% อัตราใดอัตราหนึ่ง
"ที่เสนอต่อคณะทำงานมีทั้งเสนอให้ช่วยเหลือไร่ละ 799 บาท และไร่ละ 1,000 บาทเศษ ช่วยชาวสวนยางรายย่อย ที่ปรับตัวไม่ทันกับราคายางที่ตกต่ำ โดยนำส่วนต่างต้นทุนการผลิตกับราคาตลาดที่ซื้อขายมาประกอบการพิจารณา หากนำส่วนต่างราคาต้นทุนการผลิตกับราคาตลาดมาพิจารณาเป็นหลัก เกษตรกรอาจคาดหวังมากเกินไป จะช่วยเหลือเพื่อปรับตัวเป็นหลัก"
เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทางคณะทำงานจะเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กำหนดเงื่อนไขชาวสวนยางที่ได้รับการช่วยเหลือว่า เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้วจะต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปฝากธนาคารตามสัดส่วนเป็นเวลา 4 ปี ให้เกิดความยั่งยืน หากปีใดราคาเกิดตกต่ำกว่าปกติ อาจงดเว้นไม่ต้องฝากเงินกับธนาคาร ปีใดราคาปกติ ต้องนำเงินฝากธนาคารตามที่กำหนด
ที่ผ่านมารัฐบาลช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบกับปัญหาราคายางตกต่ำ 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2556 ช่วยเหลือชาวสวนยางไร่ละ 2,500 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 25 ไร่ และปีที่ผ่านมาให้เงินชดเชย 1,000 บาท/ไร่ ครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ 42 จังหวัด เกษตรกรเป้าหมาย 8.5 แสนครัวเรือน พื้นที่ 8.2 ล้านไร่ วงเงิน 8,500 ล้านบาท
นายไพรัช เจ้ยชุม ประชาสัมพันธ์สมาคมเครือข่ายชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนไร่ละ 1,000 บาท และแนวทางให้เงินกู้ยืม เพราะที่ผ่านมานอกจากไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังเพิ่มหนี้ ต้องการให้รัฐส่งเสริมแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ภายในประเทศ โดยสนับสนุนสถาบันเกษตรกรยางพาราร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยางปูพื้นทั้งนำไปสร้างถนน สนามกีฬา และให้กระทรวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เข้ามาใช้บริการ
ส่วนที่รัฐจะช่วยเหลือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ถ้าช่วยจริงควรให้ไร่ละ 3,000 บาท โดยให้เจ้าของสวน 2,000 บาท/ไร่ และลูกจ้างกรีดยาง 1,000 บาท/ไร่ จึงได้ทั่วถึง และต้องได้รับถึงชาวสวนยางพาราที่ไม่เอกสารสิทธิด้วย
updated: 21 ต.ค. 2558 เวลา 20:15:56 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รัฐเตรียมทุ่ม 1 หมื่นล้าน ช่วยเหลือชาวสวนยางรายย่อย "มนต์ชัย" ชี้เป็นการช่วยเหลือในการปรับตัว ไม่ได้นำส่วนต่างต้นทุนกับราคาซื้อขายมาเป็นตัวพิจารณาหลัก พร้อมวางเงื่อนไขต้องนำเงินฝากธนาคารตามเปอร์เซ็นต์ของเงินช่วยเหลือนาน 4 ปี เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร ประธานคณะทำงานการพิจารณาส่วนต่าง ของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าที่ประชุมคณะทำงานปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีมติตั้งคณะทำงานชุดเล็กพิจารณาเชิงลึกช่วยเหลือชาวสวนยาง โดยที่ประชุมได้ให้แนวทางศึกษาว่า รัฐบาลจะช่วยเหลือโดยใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แก่ชาวสวนยางรายย่อยที่มีสวนยางเฉลี่ยครอบครัวละ 15 ไร่ โดยพิจารณาจากต้นทุนเกษตรกรบวกกำไรในอัตรา 10-15-30% อัตราใดอัตราหนึ่ง
"ที่เสนอต่อคณะทำงานมีทั้งเสนอให้ช่วยเหลือไร่ละ 799 บาท และไร่ละ 1,000 บาทเศษ ช่วยชาวสวนยางรายย่อย ที่ปรับตัวไม่ทันกับราคายางที่ตกต่ำ โดยนำส่วนต่างต้นทุนการผลิตกับราคาตลาดที่ซื้อขายมาประกอบการพิจารณา หากนำส่วนต่างราคาต้นทุนการผลิตกับราคาตลาดมาพิจารณาเป็นหลัก เกษตรกรอาจคาดหวังมากเกินไป จะช่วยเหลือเพื่อปรับตัวเป็นหลัก"
เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทางคณะทำงานจะเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กำหนดเงื่อนไขชาวสวนยางที่ได้รับการช่วยเหลือว่า เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้วจะต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปฝากธนาคารตามสัดส่วนเป็นเวลา 4 ปี ให้เกิดความยั่งยืน หากปีใดราคาเกิดตกต่ำกว่าปกติ อาจงดเว้นไม่ต้องฝากเงินกับธนาคาร ปีใดราคาปกติ ต้องนำเงินฝากธนาคารตามที่กำหนด
ที่ผ่านมารัฐบาลช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบกับปัญหาราคายางตกต่ำ 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2556 ช่วยเหลือชาวสวนยางไร่ละ 2,500 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 25 ไร่ และปีที่ผ่านมาให้เงินชดเชย 1,000 บาท/ไร่ ครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ 42 จังหวัด เกษตรกรเป้าหมาย 8.5 แสนครัวเรือน พื้นที่ 8.2 ล้านไร่ วงเงิน 8,500 ล้านบาท
นายไพรัช เจ้ยชุม ประชาสัมพันธ์สมาคมเครือข่ายชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนไร่ละ 1,000 บาท และแนวทางให้เงินกู้ยืม เพราะที่ผ่านมานอกจากไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังเพิ่มหนี้ ต้องการให้รัฐส่งเสริมแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ภายในประเทศ โดยสนับสนุนสถาบันเกษตรกรยางพาราร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยางปูพื้นทั้งนำไปสร้างถนน สนามกีฬา และให้กระทรวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เข้ามาใช้บริการ
ส่วนที่รัฐจะช่วยเหลือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ถ้าช่วยจริงควรให้ไร่ละ 3,000 บาท โดยให้เจ้าของสวน 2,000 บาท/ไร่ และลูกจ้างกรีดยาง 1,000 บาท/ไร่ จึงได้ทั่วถึง และต้องได้รับถึงชาวสวนยางพาราที่ไม่เอกสารสิทธิด้วย