ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 04:32:49 PM »

เจาะลึก RSS3 ว่าที่สินค้าใหม่ TFEX


  ต้นยางพารา เป็นไม้ยืนต้น กำเนิดแถวอเมริกาใต้กลุ่มลุ่มน้ำอเมซอน โดยมีศูนย์กลางการซื้อขายอยู่ที่เมือง "พารา" จึงถูกเรียกว่า Para Rubber หรือ ยางพารา นั่นเอง เริ่มเข้ามาในเอเชียโดยอังกฤษนำเข้ามาปลูกที่ศรีลังกา ก่อนที่มาปลูกครั้งแรกที่จังหวัดตรังในสมัย 110 กว่าปีที่แล้วโดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง และเริ่มถูกนำไปปลูกตามภาค ตะวันออก ก่อนไม่กี่สิบปีมานี้เริ่มนิยมเพิ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
 ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่สุดในโลกมากว่า 20 ปีต่อเนื่อง โดยมีวัตถุดิบยางหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น ยางผสม ฯลฯ ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้ ยางมากๆก็จะเป็นพวก อุตสาหกรรมรถยนต์ ถุงมือยาง ยางพาราคา เส้นยางยืด ซึ่งประเทศผู้นำเข้าหรือที่ใช้ยางเยอะๆก็จะเป็น จีน อินเดีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
 พอพูดถึงปริมาณยางที่จะถูกใช้ เรามักจะโฟกัสไปที่ตัวเลขการผลิตรถยนต์ใหม่ๆ ซึ่งจริงๆแล้วความต้องการใช้ยางของตลาดรถเก่านั้นมีขนาดใหญ่กว่ามาก สัดส่วนความต้องการใช้ยางจากตลาดรถเก่าเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ยางของ ตลาดรถยนต์ใหม่นั้นอยู่ที่ 94 ต่อ 6 เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ถึงแม้ตัวเลขจำนวนรถใหม่ที่ถูกผลิตทั่วโลกจะมีจำนวนมากขึ้นทุกปี แต่ราคายางกลับปรับลงสวนทางมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นราคาน้ำมันโลกที่ปรับลง ส่งผลให้ยางสังเคราะห์ที่ผลิตจากน้ำมันเป็นหลักปรับลงไปด้วย ก็ดึงราคายางธรรมชาติให้ปรับลงไปด้วยเช่นกัน ประกอบกับเศรษฐกิจโลกก็ยังเปราะบาง ผู้ใช้ยางเยอะอย่างประเทศจีนก็มีการเติบโตที่ชะลอตัวลง
 ถึงแม้ราคายางโลกยังไม่กลับตัวเป็นขาขึ้น แต่ การนำฟิวเจอร์สราคายางพาราแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) มาให้ซื้อขายนั้นถือเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้ยางโดยตรง เกษตรกร พ่อค้าคนกลาง หรือบริษัทนำเข้าส่งออกยางที่ได้รับผลกระทบจากราคายางผันผวน ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ก็สามารถบริหารความเสี่ยงจาก RSS3 Futures ได้แน่นอน
 ก่อนหน้านี้เรามีตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าหรือ AFET ที่เคยนำสินค้าตัวนี้มาให้ซื้อขายในรูปแบบฟิวเจอร์สอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเนื่องจากฐานนักลงทุนในตลาด AFET น้อยกว่าตลาดหุ้นและ TFEX มากพอสมควร แต่ คาดว่าหลังจาก RSS3 Futures เข้ามาเทรดในตลาด TFEX แล้ว จำนวนผู้ซื้อขายสินค้าฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 น่าจะมีจำนวนและปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และน่าจะดึงดูดให้นักลงทุนต่างประเทศที่เทรดอยู่ในตลาดฟิวเจอร์สยางอื่นๆ อย่างใน TOCOM, SHFE, SICOM หันมาเทรดฟิวเจอร์สยางในบ้านเรา แทน รายละเอียดสัญญา RSS3 เป็นอย่างไรนั้น สัปดาห์หน้าเรามาเตรียมความพร้อมไปด้วยกัน--จบ--
      ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)