ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 10:00:28 AM »


ไทยจับมือมาเลย์-อินโดฯ เดินหน้าใช้ยางในประเทศเพิ่ม 10 % เพิ่มช่องทางตลาดให้เกษตรกรรายย่อย พร้อมดึงกลุ่ม CLMV ร่วมเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติ ขยายแนวร่วมสร้างอำนาจต่อรอง


ThaiPR.net -- อังคารที่ 15 กันยายน 2558 09:37:23 น.

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสกรณ์
 
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงผลการประชุมภาคีประเทศผู้ปลูกยางพารา 3 ประเทศ ครั้งที่ 25 หรือ The 25thMeeting of International Tripartite Rubber Council (ITRC) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2558 ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมITRC ซึ่งมีประเทศสมาชิก ได้แก่ มาเลเชีย อินโดนีเซีย และไทย ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันกำหนดเป้าหมายขยายการใช้ยางพาราในแต่ละประเทศเพิ่ม ขึ้นเป็น 10 % จากเดิมที่มีการใช้ไม่เกิน 5 % โดยให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรการที่มีความชัดเจน เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดส่งออก และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีช่องทางทางการตลาดเพิ่มขึ้นด้วย


โดยแนวทางขยายการใช้ยางพาราในประเทศ ทั้ง 3 ประเทศเห็นตรงกันว่าสามารถใช้ยางพาราราดถนนทดแทนยางมะตอยได้ ซึ่งจะมีความคงทนสูงกว่า ขณะเดียวกันยังสามารถใช้ยางพาราปูพื้นสนามกีฬา สนามเด็กเล่น ตลอดจนใช้ปูพื้นคอกสัตว์เพื่อกันลื่นได้ ขณะที่มาเลเชียได้กำหนดให้สถานพยาบาลของรัฐใช้ถุงมือยางที่ทำจากยางพารา โดยมีการศึกษามาตรฐานถุงมือยางให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานความปลอดภัย
 
"นอกจากนี้ ที่ประชุมฯยังได้เร่งรัดการศึกษาวิจัยด้านคาร์บอนเครดิตของผลิตภัณฑ์ยางพารา แต่ละชนิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปลูกสร้างสวนยางอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดโอกาสให้สวนยางพาราเป็นส่วนหนึ่งของตลาดคาร์บอนเครดิต จะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งยังจะปล่อยให้ราคายางพาราเป็นไปตามกลไกของตลาดปกติ และทั้ง 3 ประเทศยังมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษารูปแบบและความเป็นไปได้ใน การจัดตั้งตลาดยางพาราในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคาดว่า ผลการศึกษาดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในปี 2559?และเป็นตลาดสำหรับภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง" นายสมชาย กล่าว
 
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม ITRC ครั้งนี้ ยังได้หารือกับผู้แทนของกัมพูชาและเวียดนามซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางเป็นจำนวน มากและมีความพร้อม ให้เข้าร่วมเป็นภาคีผู้ผลิตยางพาราด้วย ขณะที่ สปป.ลาว และเมียนมาร์ อยู่ระหว่างการตัดสินใจเข้าร่วมภาคีฯเช่นกัน ซึ่งคาดว่า การผนึกกำลังของประเทศผู้ผลิตยางพาราครั้งนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้า และเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสวนยางพารารายย่อยให้มีความเป็น อยู่ดีขึ้นในอนาคต