ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 03, 2015, 11:14:31 AM »
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558ปัจจัย[/t][/t] [/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไปและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซียเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์เดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 39.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลดลง 11 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ยอดจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 32.3 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยมียอดจำหน่ายรวม 55,613 คัน | 3. เศรษฐกิจโลก | - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2556 - ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนให้ประเทศกำลังพัฒนาเตรียมรับมือกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ฉุดให้ เศรษฐกิจโลกอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 2 เดือนก่อนว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 3.3 ในปีนี้ - สมาคมวิศวกรรมเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในประเทศและในภูมิภาค - สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมธุรกิจในนครนิวยอร์กเดือนสิงหาคมขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แม้การจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยรายงานของ ISM ระบุว่าดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กลดลงสู่ระดับ 51.1 ในเดือนสิงหาคม หลังจากพุ่งขึ้นในเดือนกรกฎาคม แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือนมิถุนายน และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์สำหรับรถยนต์ - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ยูโรโซนเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยได้รับผลกระทบจากการลดลงของราคาน้ำมันร้อยละ 0.5 ส่วนดัชนี PPI สหภาพยุโรป (EU) เดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่หากเมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี PPI ยูโรโซนลดลงร้อยละ 2.1 และ EU. ลดลงร้อยละ 2.7 | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 35.83 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 120.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.31 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคมปิดตลาดที่ 46.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรปรับตัวขึ้นเกินคาดในไตรมาส 2 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอุป สงค์พลังงานในสหรัฐฯ และยังสามารถสกัดปัจจัยลบจากรายงานที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว - สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดที่ 50.50ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล - สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 455.4 ล้านบาร์เรล ขณะที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล | 6. การเก็งกำไร | - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 161.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 168.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ - ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 132.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - ผลสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (APD) ระบุว่า เดือนสิงหาคมภาคเอกชนของสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง - คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า รัฐบาลจีนเตรียมปรับลดค่าธรรมเนียมตามท่าเรือ ด่านศุลกากร และด่านกักสินค้า เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจ พร้อมระงับการเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้อิงตามกฎหมายก่อนสิ้นปีนี้ - ไนท์แฟรงค์ บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ราคาบ้านทั่วโลกขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในช่วง 12 เดือน จนถึงเดือนมิถุนายน 2558 เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจยูโรโซนและตลาดเกิดใหม่บางแห่ง | 8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางน่าจะทรงตัวไม่ปรับลดลงมากตามราคาต่างประเทศ เพราะผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญาขายล่วง หน้า แหล่งข่าวรายงานว่ามีสัญญาขายในราคา 46 - 47 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับราคาตลาดต่าง ประเทศ | ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอ่อนค่า ส่วนปัจจัยลบมาจากค่าเงินเยนค่อนข้างผันผวนและขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ขณะที่นักลงทุนชะลอการซื้อและจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)?
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
|