ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2015, 11:17:17 AM »

44 สหกรณ์เมืองพัทลุงลงขัน 100 ล้าน ตั้งโรงงานน้ำยางข้น - ยางแท่ง STR 20

44 สหกรณ์ยางเมืองพัทลุงลงขัน 100 ล้าน ตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ "น้ำยางข้น-ยางแท่งเอสทีอาร์ 20" รุกส่งออกจีน คูเวต ระบุชาวสวนยางได้มูลค่าเพิ่ม 1-2 บาท/กก. นายไพรัช เจ้ยชุม ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดพัทลุง จำกัด โดยกลุ่มยางและสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดพัทลุง จำนวน 44 แห่ง ได้ร่วมมือกันเตรียมก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา บนเนื้อที่ 49 ไร่ ในเขตอุตสาหกรรมตำบลวังใหม่ อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ใช้งบประมาณลงทุน 100 ล้านบาท โดยจะทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำยางข้น 100% และยางแท่ง เอสทีอาร์ 20 ทั้งนี้ จะเริ่มก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในปี 2559 กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2561 ซึ่งการแปรรูปยางพาราจะเกิดมูลค่าเพิ่มประมาณ 1-2 บาท /กิโลกรัม รวมทั้งสามารถสร้างงานรองรับคนในท้องถิ่นได้ 100-200 คน ขณะเดียวกันทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดพัทลุง จำกัด ได้เริ่มหาตลาดรองรับไว้แล้ว โดยมีผู้ซื้อจากต่างประเทศหลายรายติดต่อประสานงานเข้ามาทั้งจากประเทศจีน และกลุ่มตะวันออกกลาง เช่น คูเวต เป็นต้น ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 856,000 ไร่ สามารถเปิดกรีดให้ผลผลิตแล้วจำนวน 622,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 164,000 ตัน ซึ่งในช่วงยางราคาดีมีมูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ด้านนายวีระศักดิ์ สินธุวงศ์ ประชาสัมพันธ์ สมาคมเครือข่ายชาวสวนยาง กยท. กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม บูรณาการร่วมกันใช้ยางพาราในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดสัดส่วนการส่งออก เช่น การแก้ไขกฎกระทรวง TOR สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ให้นำยางพาราไปใช้ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการราดพื้นถนน และต้องส่งเสริมสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้เข้าสู่การแปรรูปโดยเร็วที่สุด ส่วนเงินทุนหมุนเวียน 10,000 ล้านบาท ที่ดำเนินการผ่านธนาคารของรัฐนั้น สถาบันเกษตรกรเข้าไม่ถึงวงเงินก้อนนี้เลยดังนั้นรัฐบาลควรทบทวนเรื่องนี้และ จัดตั้งรับเบอร์แบงก์ขึ้นมาพัฒนายางพาราทั้งระบบ



ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ