ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2015, 09:12:54 AM »

พันธุ์ยาง...ปลูกกึ่งแห้งแล้ง
โดย ดอกสะแบง 27 ส.ค. 2558 05:01

 
 ปัจจุบัน...มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งในภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคเหนือ อันเป็นพื้นที่มี ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี ถือว่ากึ่งแห้งแล้ง บางปีอาจมีฝนทิ้งช่วงยาวนานเกือบครึ่งปี...
กรมวิชาการเกษตร...จึงได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยยาง ดำเนิน โครงการวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง พบว่ายางที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับพื้นที่มีช่วงแล้งยาวนานอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3604 (RRIT 3604) กับ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3906 (RRIT 3906)...
คุณอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยถึงยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3604 ว่า...เป็นลูกผสมพันธุ์แม่ PB235 กับ RRIM600 เป็นพันธุ์พ่อ ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงตั้งแต่เริ่มเปิดกรีดปีแรกและสูงในปีต่อๆไป...
...โดยมี ผลผลิตต่อต้นในแต่ละครั้งกรีดเท่ากับ 52.4 กรัม/ ต้น/ครั้งกรีด และให้ ผลผลิตน้ำยาง 9 ปีกรีดเฉลี่ยได้ 392 กิโลกรัม/ไร่/ปี ซึ่งเติบโตในระดับดี มีขนาดรอบลำต้นเมื่ออายุ 15 ปี เฉลี่ย 70.4 เซนติเมตร...
สำหรับ...พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3906 เกิดจากพันธุ์ระหว่างแม่ RRIC121 กับพันธุ์พ่อ RRIC 7 จะให้ ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงมากตั้งแต่เริ่มเปิดกรีดปีแรกและให้ผลผลิตสูงในปีถัด มาเช่นกัน โดยเฉลี่ย 66.4 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด และน้ำยาง 7 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 458 กิโลกรัม/ไร่/ปี
คุณกรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา เสริมว่า...การเพิ่มศักยภาพการผลิตยางพาราในเขตปลูกใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิต น้ำยางเพิ่มมากขึ้น การใช้พันธุ์ยางพาราที่เหมาะกับพื้นที่ปลูกจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปัจจัยนี้เกษตรกรจึงควรตระหนัก
?...กับยาง 12 พันธุ์ที่ท่านอธิบดีฯแนะนำนี้ กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมแผนผลิตกิ่งตารองรับความต้องการของเกษตรกร ทั้งยังมีแผนดำเนินการวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับความต้านทานโรคต่างๆ อาทิ โรคใบร่วงราแป้ง โรคใบจุดก้างปลา และโรคไฟทอปธอรา และ ทดสอบการปรับตัวของยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3604 และกับพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 3906 ในระดับแปลงเกษตรกร...
หากเกษตรกรสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่สถาบันวิจัยยางฯ 0-2579-7557-8 หรือ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 0-3813-6225-6 และ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย 0-4249-0924...เวลาราชการ...!!
ดอกสะแบง