ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2015, 02:23:57 PM »

เกษตรฯเตรียมแผนตั้ง "กองการยาง" ควบคุมการผลิต-ค้ายาง


  กรมวิชาการเกษตรเตรียมแผนตั้ง "กองการยาง" ควบคุมการผลิต-การค้า ส่งออก-นำเข้า พร้อมตั้งศูนย์ควบคุมยาง 6 แห่งทั่วประเทศ เป็นกลไกพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานยางตามกฎหมาย หนุน กยท. ดันสินค้ายางพาราไทย สู่ตลาดโลก

 นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมวิชาการเกษตรได้จัดตั้งกองการยาง เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการผลิต การค้า การส่งออกและนำเข้ายางพาราตาม พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 พร้อมรองรับพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย ขณะเดียวกันกองการยางยังทำหน้าที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการ ปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 ทั้งยังให้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Lab) สำหรับให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพยาง ตลอดจนให้บริการวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ นักวิจัย เกษตรกรและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้วย

 นอกจากนั้น ภายใต้กองการยางกรมวิชาการเกษตรยังจัดตั้งกลุ่มพัฒนาระบบมาตรฐานยาง เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและควบคุมกำกับมาตรฐานยาง โดยตั้งศูนย์ควบคุมยาง 6 ศูนย์ครอบคลุม ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมยางสงขลา สุราษฎร์ธานี ฉะเชิงเทรา บุรีรัมย์ หนองคาย และศูนย์ควบคุมยางเชียงราย เพื่อควบคุมการผลิต การค้าส่งออกและนำเข้ายางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งยังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยางพารา และให้บริการวิเคราะห์ และตรวจสอบคุณภาพยางเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้ายางพาราสู่ตลาดโลก

 นายอนันต์กล่าวอีกว่า หลังพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ จะเกิดรัฐวิสาหกิจใหม่ คือ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ซึ่งตาม พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 จะอยู่ภายใต้องค์กรรัฐวิสาหกิจไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรจึงจำเป็นต้องตั้งกองการยางขึ้นมารองรับเพื่อเป็นกลไกช่วย ขับเคลื่อนพัฒนาการผลิตยางพารา พร้อมสนับสนุนการค้า ส่งออกและนำเข้ายาง ซึ่งช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางการตลาดและอุตสาหกรรมยางของประเทศให้มี ความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และช่วยผลักดันการส่งออกสินค้ายางพาราไทยสู่ตลาดโลกเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

 "ศูนย์ควบคุมยาง 6 ศูนย์ที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ จะทำหน้าที่ควบคุมการผลิตยางในพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งการตรวจรับรองแปลงขยายพันธุ์ยาง รวมทั้งให้บริการตรวจวิเคราะห์ และตรวจสอบคุณภาพยางให้กับผู้ประกอบการ พร้อมควบคุมการค้ายาง ส่งออกและนำเข้ายาง ซึ่งคาดว่า จะช่วยพัฒนามาตรฐานยางพาราไทยให้เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า และตลาดโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยสนับสนุนงานของ กยท.ด้วย" อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว--จบ--



      ไทยโพสต์ (Th)