ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2015, 02:27:02 PM »

ดึงอินโดฯ-มาเลย์สร้างเครือข่าย


  นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนาตลาดยางพารา รวมถึงอุตสาหกรรมยางเพิ่มมากขึ้น โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) โดยเฉพาะผู้ผลิตยางรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครือข่ายตลาดภูมิภาค (Region Market) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านตลาดยางของกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางที่ปรับตัวขึ้นลงอย่าง กะทันหัน ทั้งยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองราคายางในตลาดโลก และลดการอ้างอิงราคาจากตลาดล่วงหน้า รวมถึงตลาดยางโตคอม (TOCOM) ของญี่ปุ่น และตลาดยางไซคอม (SICOM) สิงคโปร์ ซึ่งไม่มีการส่งมอบยางจริง

 "ตลาดยางภูมิภาคที่ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ร่วมกันผลักดันและพัฒนาขึ้นนี้ มุ่งให้มีการซื้อขายยางแบบส่งมอบจริง โดยที่ราคาซื้อขายยางธรรมชาติสะท้อนความเป็นจริงให้มากขึ้น ซึ่งคาดว่ากลไกตลาดดังกล่าวจะเริ่มขับเคลื่อนได้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้านี้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 และยางแท่งเอสทีอาร์ 20 (STR20) ผ่านตลาด Region Market พร้อมส่งมอบสินค้าจริงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการปั่นราคาและเพิ่มเสถียรภาพราคายางได้มากขึ้น และมุ่งสู่การเป็นตลาดอ้างอิงในอนาคต " นายอำนวย กล่าว

 นอกจากนี้ไทยยังมีแผนดึงผู้ประกอบการและนักลงทุนจากจีนมาร่วมลงทุน อุตสาหกรรมล้อยางภายในประเทศมากขึ้น ขณะนี้มีบริษัทจากจีนลงทุนตั้งโรงงานในไทยแล้ว เพื่อนำวัตถุดิบไปใช้ในการผลิตล้อยาง รวมทั้งป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตล้อยาง ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของอาเซียนอีกด้วย





      คมชัดลึก (Th)