ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2015, 07:25:30 PM »

'มาร์ค'ลงใต้เปิดถนนลาดยางพารา โครงการช่วยเหลือเกษตรกรสวนยาง
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 25 ก.ค. 2558 15:05


 


"อภิสิทธิ์" ลงใต้เปิดโครงการถนนลาดยางพาราเชื่อมถนนสายบ้านเกาะหมี ต.คอหงส์-ต.คลองแห ถือเป็นสายแรกของ จ.สงขลา ที่สร้างสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต...

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 25 ก.ค. ที่มัสยิดชุมชนบ้านเกาะหมี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดโครงการซ่อมสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติสายแรกของ จ.สงขลา ซึ่งเป็นโครงนำร่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเป็นถนนสายแรกของจังหวัดสงขลา ที่นำยางพาราผสมยางมะตอยมาลาดทำถนน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในภาวะผลผลิตราคายางพาราตกต่ำและช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจยางพาราของไทยให้ดีขึ้น โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี นายก อบจ.สงขลา กล่าวให้การต้อนรับ ท่ามกลางประชาชนชาวจังหวัดสงขลาและใกล้เคียงแห่ต้อนรับอย่างเนืองแน่นพร้อม มอบกระเช้าและดอกไม้เป็นกำลังใจบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น





นายนิพนธ์ กล่าวว่า โครงการซ่อมสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติสายแรกของ จ.สงขลา ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง ถนนสายบ้านเกาะหมี ต.คอหงส์ กับ ถนนบ้านเกาะหมีใน ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ ระยะทางยาวประมาณ 2,445 เมตร เป็นถนนสายแรกของจังหวัดสงขลา ที่นำยางพาราผสมกับยางมะตอยมาลาดบนถนนประมาณ 45 ตัน ใช้งบประมาณ 25.8 ล้านแปดแสนบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในภาวะผลผลิตราคายางพาราตกต่ำ และยังช่วยให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาได้สะดวกและมีความปลอดภัย อีกทั้งยางพาราที่ผสมกับยางมะตอยยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานถนนได้มาก ยิ่งขึ้นและเป็นการใช้วัตถุดิบในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำยางพารามาใช้เป็นส่วนผสมของแอสฟัลท์ติกในการก่อสร้างผิวจราจร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้ยางธรรมชาติ ทดแทนยางสังเคราะห์

หรือปิโตรเคมี.