ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 12:36:21 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  24  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนตกกระจายร้อยละ 20 ของพื้นที่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ขณะที่ภาคเหนือยังคงมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- รายงานล่าสุดขององค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ หรือ IRSG ระบุว่า การผลิตยางธรรมชาติในปี 2558 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 อยู่ที่ 12.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 12.07 ในขณะที่ IRCO ให้ความเห็นว่าการผลิตยางธรรมชาติทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก หากราคายังคงอยู่ในระดับต่ำและยังประสบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งต่อเนื่อง
3.เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศประจำเดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ +0.08 จาก 0.08 ในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานและการผลิตและบ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้า 6.9 หมื่นล้านเยนในเดือนมิถุนายน ขณะที่การส่งออกเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เทียบรายปี และการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.9 ส่วนยอดขาดดุลการค้าในช่วง เดือนมกราคม ? มิถุนายน ลดลงร้อยละ 77.4 เทียบรายปีสู่ระดับ 1.7251 ล้านล้านเยน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าที่ปรับตัวลงอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง- Conference Board เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 สู่ระดับ 123.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนพฤษภาคม และร้อยละ 0.6 ในเดือนเมษายน- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเตือนว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ในระยะกลาง เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานท่ามกลางสังคมที่มีแต่ผู้สูงอายุ โดยรายงาน IMF ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.7 ในระยะกลาง แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 2.0 หรือมากกว่าในปี 2020- IOBE ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยของกรีซ ระบุเตือนในรายงานไตรมาสว่า กรีซอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง จากการที่รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเงินทุนในเดือนที่แล้ว โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจกรีซจะหดตัวลงถึงร้อยละ 2.0 - 2.5 ในปีนี้ และจะยังคงเผชิญภาวะถดถอยในปีหน้า ทั้งนี้กรีซมีการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปีที่แล้ว
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.88 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.96 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กันยายน ปิดตลาดที่ 48.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 6.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว และกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกันยายน ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 0.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 55.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 198.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 209.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.3 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 165.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 18 กรกฎาคม ลดลง 26,000 ราย สู่ระดับ 255,000 ราย โดยเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์ของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 และตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 20 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- รัฐสภากรีซมีมติอนุมัติมาตรการปฏิรูปด้านการธนาคารและกระบวนการยุติธรรมแล้วเมื่อวานนี้ ซึ่งจะเป็นการปูทางสู่การเริ่มเจรจาเพื่อรับเงินช่วยเหลือวงเงิน 8.6 หมื่นล้านยูโรจากเจ้าหนี้ และเพื่อเลี่ยงการผิดชำระหนี้ตลอดจนความเสี่ยงที่กรีซจะต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ เนื่องจากโดยภาพรวมความต้องการใช้ยางยังคงซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเปราะบาง ดังนั้น แม้ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อย ก็ไม่สามารถผลักดันราคาได้ เพราะผู้ประกอบการซื้อสูงเกินมากก็ไม่ได้ เพราะขาดทุนมาระยะหนึ่งแล้ว การซื้อขายก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากราคายางในตลาดล่วงหน้าค่อนข้างผันผวน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยว่าจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 42 ปี ขณะที่ผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนของยุโรปและสหรัฐฯ ออกมาย่ำแย่  อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยและเงินบาทอ่อนค่ายังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา