ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2015, 12:03:45 PM »

ทุกข์หนัก! ราคาต่ำไม่พอ แล้งซ้ำเติมสวนยางพาราบุรีรัมย์แห้งตายกว่า 5,000 ต้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
27 มิถุนายน 2558 13:14 น. (แก้ไขล่าสุด 27 มิถุนายน 2558 13:30 น.)


ทุกข์หนัก! ราคาต่ำไม่พอ แล้งซ้ำเติมสวนยางพาราบุรีรัมย์แห้งตายกว่า 5,000 ต้น


แล้ง หนักในรอบ 30 ปี กระทบสวนยางพาราเกษตรกร 3 หมู่บ้าน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ต้นยางอายุ 8 ? 10 ปี ยืนต้นแห้งตายยกสวนเสียหาย กว่า 5,000 ต้น วอนรัฐช่วยเหลือบรรเทาเดือดร้อน วันนี้ ( 27 มิ.ย.)       บุรีรัมย์ - แล้งหนักในรอบ 30 ปี กระทบสวนยางพาราเกษตรกร 3 หมู่บ้าน อ.สตึก บุรีรัมย์ ต้นยางอายุ 8-10 ปี ยืนต้นแห้งตายยกสวนเสียหายสิ้นเชิงกว่า 5,000 ต้น คาดสูญหลายล้าน วอนหน่วยงานภาครัฐเร่งเข้ามาสำรวจช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ชี้ทุกข์หนักแบกหนี้สิน ประสบปัญหาราคายางตกต่ำแล้ว ยังเจอภัยแล้งซ้ำเติมอีก
       
        วันนี้ (27 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกร 3 หมู่บ้าน มีบ้านลิ้นเกี่ย ม.13 บ้านหัวช้าง ม.6 และบ้านตำหนัก ม.21 ต.นิคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ที่มีอาชีพปลูกยางพารามากกว่า 1,000 ไร่ กำลังประสบปัญหาภัยแล้งคุกคามอย่างหนักในรอบ 30 ปี ทำให้สวนยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 8-10 ปี เปิดกรีดนำผลผลิตจำหน่ายได้เพียง 2-3 ปี ประสบปัญหาขาดน้ำหล่อเลี้ยงยืนต้นแห้งตายเสียหายสิ้นเชิงมากกว่า 4,000-5,000 ต้น ในจำนวนนี้ตายยกสวนมากกว่า 10 ราย
       
        สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรต้องประสบปัญหาขาดทุนจากการทำสวนยาง หลายล้านบาท บางรายเพิ่งได้เก็บผลผลิตน้ำยางขายเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ทำให้เกษตรกรต้องมีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินมาลงทุนเพาะปลูก และเสียโอกาสที่จะเก็บผลผลิตขายที่ประเมินมูลค่าไม่ได้
       
        ทั้งนี้ ต้นยางของเกษตรกรทั้ง 3 หมู่บ้านที่เหลือยังมีสภาพขาดน้ำลำต้นแห้งกรอบใบเหี่ยวเฉาใกล้ตายอีกเป็น จำนวนมาก กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเรียกร้องให้ทางจังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งเข้าไปสำรวจช่วยเหลือเยียวยาบรรเทาความเดือด ร้อนให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งหนักอยู่ในขณะนี้ด้วย เพราะเกษตรกรไม่รู้จะไปร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือจากใคร
       
        ด้านนายประสิทธิ แตร่งยอดรัมย์ อายุ 58 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม.13 บ้านลิ้นเกี่ย ต.นิคม บอกว่า ภัยแล้งปีนี้หนักที่สุดในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ยางพาราของเกษตรกรทั้ง 3 หมู่บ้าน ขาดน้ำยืนต้นแห้งตายที่ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ เสียหายสิ้นเชิงกว่า 10 ราย ทั้งยังมีสวนยางพาราของเกษตรกรที่ขาดน้ำใกล้ยืนต้นตายอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหาขาดทุนและเสียโอกาสจากการเก็บผลผลิตออกขาย ประเมินค่าไม่ได้
       
        จากผลกระทบดังกล่าวจึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาตรวจสอบช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางอย่างเร่งด่วนด้วย
       
        ด้าน นางราตรี หมายงาม และนางรมย์นริน ชฎาชัย เกษตรกรผู้ปลูกยางระบุว่า ปีนี้ประสบปัญหาแล้งหนักจนทำให้ต้นยางที่ปลูกไว้ที่เพิ่งเปิดกรีดได้เพียง 1-2 ปี ยืนต้นแห้งตายเสียหายจำนวนมาก ทำให้ต้องประสบปัญหาขาดทุน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะยางพาราถือเป็นอาชีพ และรายได้หลักที่เลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งนอกจากจะประสบปัญหาราคายางตกต่ำแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งซ้ำอีก จึงอยากวิงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาสำรวจช่วยเหลือเกษตรกรผู้ ปลูกยางโดยเร็วด้วย
 
 
ทุกข์หนัก! ราคาต่ำไม่พอ แล้งซ้ำเติมสวนยางพาราบุรีรัมย์แห้งตายกว่า 5,000 ต้น
ทุกข์หนัก! ราคาต่ำไม่พอ แล้งซ้ำเติมสวนยางพาราบุรีรัมย์แห้งตายกว่า 5,000 ต้น
ทุกข์หนัก! ราคาต่ำไม่พอ แล้งซ้ำเติมสวนยางพาราบุรีรัมย์แห้งตายกว่า 5,000 ต้น