ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 22, 2015, 11:46:04 AM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  22  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ระยอ จันทบุรี และตราด ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ข้อมูลของกรมสถิติมาเลเซียพบว่า ปริมาณสต๊อคยางสิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ 176,348 ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.8 แต่สูงกว่าเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 19.1
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้น 5,030 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 อยู่ที่ 140,569 ตัน จากระดับ 135,539 ตัน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้น 1,495 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.24 อยู่ที่ 12,784 ตัน จากระดับ 11,289 ตัน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงระดับการประเมินเศรษฐกิจของประเทศ โดยชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลาง รวมทั้งคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินไว้ที่ระดับเดิม พร้อมระบุว่าการขยายตัวอย่างซบเซาของการส่งออกถือเป็นความเสี่ยงล่าสุดของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศในภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวราวร้อยละ 6.0 ในปี 2558 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเอเชียมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพฤษภาคมทรงตัวจากเดือนเมษายน ตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี PPI หดตัวลงร้อยละ 1.3 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงร้อยละ 1.1 เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลง- นักวิชาการจากสถาบันการพัฒนาและกลยุทธ์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเหวินหมิน ชี้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะยุติการชะลอตัวในไตรมาส 3 และฟื้นตัวในไตรมาส 4 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดอสังหาริมทรัพย์และการบริโภค- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจจีนไตรมาส 2 แตะที่ 58.3 ลดลง 0.9 จุดจากไตรมาสแรก และลดลง 6.6 จุดเมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากแรงกดดันที่มีต่อการปรับตัวลดลงของเศรษฐกิจประเทศ
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.67 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.75 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากยังไม่มีแนวโน้มของการบรรลุข้อตกลงในประเด็นปัญหาของกรีซ- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.02 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 219.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 227.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- นายกรัฐมนตรีกรีซจัดประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อสรุปกลยุทธ์สำหรับการประชุมฉุกเฉินกลุ่มสหภาพยุโรป (EU.) ในวันที่ 22 มิถุนายน 2558 โดยจะมีการหารือในประเด็นที่ว่ารัฐบาลจะยอมปรับเปลี่ยนนโยบายที่เคยใช้ในระหว่างการหาเสียงหรือไม่ เพื่อที่จะทำให้กรีซสามารถรอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้- ผู้นำประเทศยุโรปมีกำหนดประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซในวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ซึ่งมีขึ้นหลังจากที่การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยุโรปไม่สามารถทำข้อตกลงในประเด็นวิกฤตหนี้ของกรีซได้- ชาวกรีซหลายพันคนออกมาชุมนุมประท้วงบริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภา โดยผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสรุปข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ เพื่อช่วยให้กรีซยังคงเป็นสมาชิกของยูโรโซนต่อไป
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก เพราะในระยะนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ส่วนมากยังเป็นปัจจัยจากต่างประเทศที่กดดันราคายาง ขณะที่ในประเทศปัจจัยด้านปริมาณผลผลิตก็ยังเป็นแรงหนุนราคายางอยู่ ทำให้ไม่ปรับขึ้นหรือลดลงมาก
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยด้านลบจากเงินเยนแข็งค่า ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตหนี้กรีซ ประกอบกับสต๊อคยางจีนล่าสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 แตะที่ 140,569 ตัน (วันที่ 19 มิถุนายน 2558) จากระดับ 135,539 ตัน (วันที่ 12  มิถุนายน 2558) อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่งทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา