ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 09:46:55 AM »

คอลัมน์: เกษตรนวัตกรรม: สกย.เตรียมความพร้อมสู่'การยางแห่งประเทศไทย'



       ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 3 เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2558 ที่ผ่านมา และจะเกิดองค์กรใหม่ คือ "การยางแห่งประเทศไทย" หรือ กยท. ขึ้นมา

 นายอำนวย ปะติเส รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ทันทีที่พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยประกาศบังคับใช้จะมี 3 หน่วยงานยางพาราที่ต้องยุติบทบาทลงและยุบรวมกัน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง และสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ขณะเดียวกันจะมีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้น คือ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 มีหน้าที่พัฒนาระบบยางพาราของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยาง ของภูมิภาคอาเซียน และผู้นำตลาดยางพาราโลกในอนาคต สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งเตรียมความพร้อม คือ การบริหารจัด การองค์กร ทั้งระบบการเงิน บัญชี และงบประมาณของปี 2558-2559 เบื้องต้นต้องเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอด คล้องกับบทบาทหน้าที่ และภารกิจของ กยท. และพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ทั้งยังต้องพัฒนาระบบไอที (IT) เพื่อการบริหารจัดการยาง พาราให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังต้องเตรียมยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนพัฒนายางพาราให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล

 และตามมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวม 16 โครงการ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความมั่นคงและยั่งยืนในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง และสามารถยกระดับระบบตลาดให้มีเสถียรภาพด้วย

 นอกจากนั้น ยังเตรียมความพร้อมบริหารจัดการกองทุนพัฒนายางพารา โดยจัดสรรเงินกองทุนฯเพื่อวัตถุประสงค์ 6 ข้อ คือ 1. ใช้เพื่อบริหารจัดการองค์กร 10% 2. ใช้สนับสนุนการศึกษาวิจัยยางพารา 5% 3. ใช้เพื่อส่งเสริมการปลูกแทน 40% 4. ใช้เพื่อส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ พัฒนาระบบตลาดและการขนส่ง และรักษาระดับราคายางให้มีเสถียรภาพ 35% 5. สวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยาง 7% และ 6. ใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนสถาบันเกษตรกร 3%

 อย่างไรก็ตาม วาระเริ่มแรกจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยหรือบอร์ด กยท. และแต่งตั้งผู้ว่าการ กยท. เป็นการชั่วคราว ขึ้นมาดูแลก่อน และภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ครม.จะมีการแต่งตั้งประธานบอร์ด กยท. พร้อมแต่งตั้งผู้ว่าการ กยท. ตัวจริง เพื่อทำหน้าที่บริหารและขับเคลื่อน กยท. ต่อไป

 และเดินหน้าอย่างเต็มกำลังโดยมีหน่วยงานยางระดับจังหวัดเป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนพัฒนา และบริหารจัดการยางพาราในพื้นที่อย่างครบวงจรตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกร การผลิต การแปรรูป และการตลาดต่อไป               



 
 เดลินิวส์ (Th)