ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 12:08:27 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  10  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณทางตอนบนของภาค ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ฟิลิปปินส์มีความพยายามที่จะขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของอาเซียน ล่าสุดประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์อนุมัติแผนกลยุทธ์ฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างสมบรูณ์แบบ (คาร์ล) ด้วยงบประมาณ 4,500 ล้านเปโซ (ราว 3,360 ล้านบาท) เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างงานได้ราว 2 แสนตำแหน่งภายใน 6 ปี โดยโครงการนี้จะทำให้ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งอาเซียนใน 5 - 10 ปี
3. เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเผยประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประทศ (GDP) ไตรมาสแรก ครั้งที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ทรงตัวจากตัวเลขประมาณการครั้งแรก หลังจากที่ GDP ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาส 4 ปี 2557- คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 2 ราย ปรับตัวลดลง 0.1 จุดจากเดือนเมษายน แตะ 41.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาปรับลดการประเมินดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากที่เมื่อเดือนที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคกำลังฟื้นตัว- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสเปนปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 และปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับคาดการณ์เดิมว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และชะลอลงจากอัตราร้อยละ 1.5 ในเดือนเมษายน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ร้อยละ 1.4 พร้อมระบุว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ดัชนี CPI เฉลี่ยปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่งเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 1.4 จุด สู่ระดับ 98.3 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่สดใสของเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนเมษายน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนมีนาคม ส่วนยอดค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือนเมษายน เป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 0.2 ในเดือนมีนาคม
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.73 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 60.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) จะเปิดเผยรายงานสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์ในวันนี้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 64.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) คาดการณ์ว่า การผลิตน้ำมันโดยเฉลี่ยของสหรัฐฯ ปี 2558 จะอยู่ที่ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 9.36 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2559 นอกจากนี้ EIA. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 61.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2558 และ 67.00 ดอลล่าร์สหัฐต่อบาร์เรล ในปี 2559 ขณะเดียวกันคาดว่าราคาน้ำมัน WTI ทั้งปี 2558 และ 2559 จะต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ประมาณ 5 ดอลล่าร์สหรัฐ
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 224.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 236.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 187.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตำแหน่งที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.4 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลในปี 2543 สะท้อนให้เห็นถึงภาวะแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯ- ข่าวล่าสุดระบุว่า กรีซได้ยื่นข้อเสนอปฏิรูปเศรษฐกิจต่อเจ้าหนี้เมื่อวานนี้ เพื่อแลกกับการขอรับเงินช่วยเหลืองวดต่อไป แต่เจ้าหนี้หลายรายของสหภาพยุโรป (EU.) ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอดังกล่าวของกรีซ โดยระบุว่าข้อเสนอเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ EU. มอบเงินช่วยเหลืองวดต่อไป
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะปัจจัยลบจากต่างประเทศมีมาก โดยเฉพาะภาวะซบเซาของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ทำให้ขายออกยากไม่มีผู้ซื้อ หากซื้อก็ซื้อในราคาต่ำ ซึ่งถ้าขายก็จะขาดทุนประมาณ 3 - 4 บาท เมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ที่ผู้ซื้อใช้อ้างอิง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของจีนและวิกฤตหนี้กรีซ รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ได้กระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา