ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 11:47:04 AM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  3  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลมลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนตกกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่นมีฝนเพิ่มมากขึ้นในระยะ 1 - 2 วันนี้
2. การใช้ยาง
- ผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายที่มากกว่าที่คาดการณ์ในเดือนพฤษภาคม จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้บริษัทเฟียต ไครส์เลอร์ ออโตโมบิล รายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์พุ่งขึ้นร้อยละ 4.0 ในเดือนพฤษภาคม ถือเป็นยอดจำหน่ายประจำเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่เจเนอรัล มอเตอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และนักวิเคราะห์คาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะ 17 ล้านคันในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2543
3. เศรษฐกิจโลก
- ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เศรษฐกิจยังคงมีความเปราะบางเกินกว่าที่จะรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด พร้อมกล่าวว่าความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาอาจไม่ใช่ปัจจัยที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวอย่างที่นักวิเคราะห์คาดหวังไว้ และควรให้เวลามากขึ้นในการพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจก่อนขึ้นอัตราดอกเบี้ย- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมยังคงปรับตัวขึ้น หลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 เดือน- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รายจ่ายมีเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเดือนเมษายน บ่งชี้ว่าชาวอเมริกันยังคงมีความระมัดระวังในการบริโภค โดยรายงานระบุว่าในเดือนเมษายนชาวอเมริกันมีรายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมีนาคม- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือนมีนาคม บ่งชี้ว่าภาคโรงงานยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และการลดลงของการใช้จ่ายในภาคพลังงาน- สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 ชี้ให้เห็นว่ายูโรโซนได้ผ่านพ้นภาวะเงินฝืดแล้ว- ธนาคารกลางอินเดียมีมติลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.25 จากเดิมที่ร้อยละ 7.50 นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ของปีนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการผลิตขยายตัวในอัตราสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยผลการสำรวจของ ISM พบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 52.8 เพิ่มขึ้นจาก 51.1 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษเดือนพฤษภาคมขยายตัว 52.0 จาก 51.8 ในเดือนเมษายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.72 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.90 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 61.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงอีก และได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ลดลง 13 แห่ง สู่ระดับ 646 แห่ง- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 65.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 230.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 243.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 188.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กรรมาธิการเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (EU.) เผยการเจรจาระหว่างกรีซและเจ้าหนี้มีความคืบหน้า แต่ต้องอาศัยความพยายามจากทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อที่จะบรรลุข้อตกลงให้ได้มากที่สุด- กระทรวงแรงงานสเปนเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงงานเดือนพฤษภาคมลดลง 117,985 ราย สู่ 4.22 ล้านราย บ่งชี้ถึงผลดีที่เกิดขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง- สำนักงานแรงงานเยอรมันระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเดือนพฤษภาคมลดลง 6,000 รายจากเดือนเมษายน สู่ 2.786 ล้านราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี และยังเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นได้อีกจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เพราะชาวสวนยางกรีดยางได้น้ำยางน้อยจากภาวะภัยแล้ง และฝนที่เริ่มตกชุกทำให้กรีดยางได้น้อยลง ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย โดยเฉพาะการเปิดกรีดที่ล่าช้า สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวกว่าทุกปี ภาคใต้ของไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน และการโค่นต้นยาง ทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยลง อีกทั้งความร่วมมือของเอกชนไทยและอินโดนีเซียเพื่อแก้ไขปัญหาราคายาง นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่าจีนจะซื้อยางเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม เงินเยนแข็งค่าและนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และวิกฤตหนี้กรีซ ยังเป็นปัจจัยด้านลบที่กดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา