ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 10:13:39 AM »

IRCo คาดปี 58 ผลผลิตยางไทย-มาเลย์-อินโดลด 30% (02/06/2558)

"เยี่ยม" IRCo เผย ไทย-มาเลย์-อินโด ลดพื้นที่ปลูกยาง ปี 57 ผลผลิตยางลดแล้ว 1.58 แสนตัน คาดปี 58 ลดอีกประเทศละ 30% ของผลผลิตเดิม คาดราคายางครึ่งหลังปี 58 กระเตื้องแม้เศรษฐกิจจีนยังชะลอตัว 8-9 มิ.ย.นี้ ประชุมผู้แทน 3 ประเทศ จีบเวียดนามร่วมด้วย


นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธาน เจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) เปิดเผยว่า ปี 2557 ผลผลิตยางพาราของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงรวม 158,447 ตันจากนโยบายลดพื้นที่การปลูกยางที่มีร่วมกัน ซึ่งปริมาณดังกล่าวคิดเป็น 10% ของปริมาณเดิมเมื่อปี 2556 และคาดว่าปีนี้ที่ยังคงมีนโยบายการลดพื้นที่ปลูกยางอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผลผลิตยางพาราลดลง 30% จากปริมาณเดิมเมื่อปี 2557 ซึ่งผลผลิตยางของทั้ง 3 ประเทศ คิดเป็น 92% ของตลาดโลก ดังนั้นจะส่งผลให้ราคายางพาราปี 2558 ขยับตัวสูงขึ้น


อย่าง ไรก็ตาม นายเยี่ยมกล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางพาราอันดับ 1 ของโลกยังชะลอตัว และนโยบายป้องกันการทุ่มราคา (Anti-Dumping) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังมีผลบังคับใช้กับจีนอยู่ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกยางล้อรถยนต์ราคาถูกของจีน อัตราการใช้ยางพาราของจีนเพื่อผลิตยางล้อไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร ด้านราคายางพาราที่ซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ซื้อขายล่วงหน้าก็อ่อนตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจของโลก และยอดจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกในปี 2558 ของหลายประเทศปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีที่ผ่านมานาย เยี่ยมกล่าวว่า ในวันที่ 8-9 มิ.ย.58 นี้ IRCo จะจัดการประชุมผู้แทน 3 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เมืองยอร์คยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเร่งความคืบหน้าของนโยบายต่างๆ ดังนี้ 1)การจัดตั้งสภายางอาเซียน 2)จัดตั้งตลาดซื้อขายยางพาราส่งมอบจริง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในกลางปี 2559 3)จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อใช้บริหารการเก็บสต็อกยางและการจำหน่ายยางร่วมกัน เพื่อรักษาสมดุลอุปสงค์อุปทานยาง ซึ่งจะมีผลต่อระดับราคา โดยทั้งหมดนี้ IRCo จะชักชวนให้ประเทศเวียดนามซึ่งมีการปลูกยางมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วม ด้วย

นอก จากนี้ สำหรับประเทศไทยควรดำเนินนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางต่อไปประมาณ 5-6 ปี และจัดทำทะเบียนเกษตรกรเพื่อให้เป็นฐานข้อมูลวางแผนการเพิ่มหรือลดการปลูก ต่อไปในอนาคต



ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 1 มิถุนายน 2558)