ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2015, 10:33:29 AM »

ถึงคราวเช็คบิลนายทุน!ทวงป่าคืนจากสวนยาง

ถึงคราวเช็คบิลนายทุน!ทวงป่าคืนจากสวนยาง : ธนิสา ตันติเจริญ   




ถึงคราวเช็คบิลนายทุน!ทวงป่าคืนจากสวนยาง height=347ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า ตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเดินหน้าอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (กขย.คสช.) ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบแผนปฏิบัติการปราบปรามการปลูกยางพาราที่บุกรุกพื้นที่ป่าทั่วประเทศ เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำและแก้ปัญหายางพาราตกต่ำนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ พร้อมด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เดินหน้าสำรวจพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกอย่างเอาจริงเอาจัง และพบว่ามีป่าไม้อย่างน้อย 5 ล้านไร่ ตกเป็นที่ยึดครองของนายทุนปลูกยางไปอย่างไม่น่าเชื่อ
     
              ในงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง ?ทางออกประเทศไทยในสถานการณ์บุกรุกป่า : ถึงคราวเช็คบิลสวนยางพารา? จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ และสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม มีข้อมูลต้องติดตามต่อว่า  สถานการณ์การบุกรุกป่าซึ่งมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ป่าไม้ที่เดิมทีมีอยู่ 171 ล้านไร่ ก่อนปี 2504 ปัจจุบันเหลือเพียง 102 ล้านไร่เท่านั้น
     
              นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ ให้ข้อมูลว่า จากการตรวจสอบการบุกรุกป่าไม้ในพื้นที่ 10 ล้านไร่ พบว่าเป็นการบุกรุกทุกรูปแบบ แต่การบุกรุกเพื่อการเกษตรมีมากที่สุด โดยเฉพาะการปลูกยางพารามีทั้งหมด 5 ล้านไร่ โดยในจำนวนนี้ 4.4 ล้านไร่ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบุกรุกใหม่หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และพบมากหลังปี 2552 โดยผู้บุกรุกเหล่านี้มักมี นายทุน แฝงตัวอยู่เบื้องหลัง
     
              "ตอนนี้เรามีข้อมูลบางส่วนแล้วว่า นายทุนที่ว่านี้เป็นใคร ซึ่งในปีนี้ ทางกรมป่าไม้ มีแผนปฏิบัติขอคืนพื้นที่เพื่อปลูกป่าประมาณ 4 แสนไร่ และในปี 2559 ขอคืนพื้นที่อีกประมาณ 6 แสนไร่ เท่ากับว่าเบื้องต้นเรายึดพื้นที่คืน เน้นเฉพาะที่เป็นนายทุน ส่วนของเกษตรกรรายย่อยที่ยากจนจริง ไม่ต้องเป็นห่วง ทางกรมป่าไม้กำลังจะพิจารณาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้" นายธีรภัทร กล่าว
     
              อธิบดีกรมป่าไม้ บอกด้วยว่า สำหรับพื้นที่ที่ถูกบุกรุกที่ทางการจะเร่งตรวจสอบและยึดคืนระยะแรกใน 17 จังหวัด มีประมาณ 2.5 แสนไร่ ส่วนที่จะดำเนินการในระยะสองในพื้นที่ 16 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ล้านไร่ ส่วนในพื้นที่ 38 จังหวัด ที่กระจัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ตามลุ่มน้ำแควน้อย ป่าสัก วัง ยม น่าน รวมทั้งพื้นที่ภาคใต้นั้นจะเป็นปฏิบัติการระยะสุดท้ายที่จะดำเนินการ
     
              นายนิมิตพงษ์ เชาวนปรีชา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ในส่วนกรมอุทยานฯ มีพื้นที่ป่าถูกบุกรุกกว่า 1 ล้านไร่ แต่ในจำนวนนี้เป็นการบุกรุกหลังจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จำนวนกว่า 7 แสน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ไปพบปะเกษตรกรบางส่วนเพื่อชี้แจงถึงกรณีที่อุทยานฯ มีความจำเป็นต้องขอพื้นที่คืน แต่จะดูว่า ถ้าเกิดบุกรุกก่อนมติ ครม.ปี 2541 ก็อาจผ่อนปรนให้ แต่จะแก้ปัญหาผู้ที่บุกรุกหลังปี 2541 เน้นกลุ่มนายทุน โดยเบื้องต้นจะขอคืนพื้นที่ 2 แสนไร่ก่อน
     
              กระนั้น นายสังเวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายสวนยางแห่งประเทศไทย บอกเหตุผลที่เกษตรกรบุกรุกป่าเพื่อทำสวนยางพาราว่า เนื่องจากเกษตรกรเหล่านั้นยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน ทำให้ต้องบุกรุกป่าเพื่อปลูกส่วนยาง ฉะนั้นการที่ภาครัฐจะเข้าไปจัดการยึดที่ดินคืนจากคนเหล่านั้นจะต้องพิจารณา อย่างเป็นธรรม เพราะพื้นที่บางส่วนเกษตรกรเข้าไปทำกินก่อนการประกาศเขตวนอุทยานแห่งชาติ ปี 2518 "ไม่ทราบว่าเกษตรกรบุกรุกที่ดินของวนอุทยานฯ หรือวนอุทยานบุกรุกที่ดินของเกษตรกร เพราะเกษตรกรทำกินมานานก่อนปี 2518 แล้ว" นายสังเวิน ระบุ
     
              ประธานเครือข่ายสวนยางผู้นี้ เห็นด้วยกับการจัดระเบียบป่าไม้เพื่อคืนผืนป่าสู่ธรรมชาติในรูปแบบ คนกับป่าอยู่ด้วยกัน แต่การที่กรมป่าไม้จะไปตรวจสอบพื้นที่ควรจะตั้งคณะกรรมการระดับท้องถิ่นเข้า มามีส่วนร่วมด้วย
     
              ขณะที่ นายทวีศักดิ์ คงแย้ม ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสงเคราะห์ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ระบุว่า การบุกรุกป่าสงวนฯ ทาง สกย.อยู่ตรงกลาง เพราะเป็นผู้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหลักการส่งเสริมของ สกย. มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ โค่นยางเก่าเพื่อปลูกยางใหม่ และส่งเสริมปลูกยางใหม่ เน้นให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่สิทธิทำกิน เว้นแต่หากจะปลูกในพื้นที่ป่าสงวนต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมป่าไม้เท่านั้น
     
              ส่วนมุมมองของนักวิชาการ อย่าง ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นว่า ทางออกของการแก้ปัญหา อยากจะให้ทำด้วยความประนีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย ดัดแปลงสวนยางให้เป็นในรูปแบบของป่าสวนยาง ให้เกษตรกรที่ปลูกยางอยู่แล้ว ให้ปลูกพืชไม้ยืนต้นอื่นแซมด้วย เพื่อความผสมผสาน เพราะว่าต้นยางพารามีประโยชน์เหมือนกัน ดีกว่าเกษตรกรบุกรุกเพื่อปลูกข้าวโพด แต่ในส่วนรูปแบบการจัดการต้องมาคุยกันว่าทางออกจะเป็นอย่างไร เห็นด้วยอย่างยิ่งกับอธิบดีกรมป่าไม้ ที่จะให้คนกับป่าอยู่ด้วยกัน
     
              เป็นการสรุปที่ชัดเจนทั้งในส่วนของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่า การจัดระเบียบ หรือการเช็คบิล ผู้บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกยางพารานั้นเบื้องต้นจะเน้นเฉพาะพื้นที่ของนาย ทุนเท่านั้น ส่วนเกษตรกรนั้น ทั้ง 2 กรมกำลังหาทางออกในรูปแบบของอนาคต "คนกับป่าอยู่ด้วยกัน"