ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 10:52:04 AM »

ด่วน!!! เตรียมนำ พ.ร.บ.การยางฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ


โดย ไทยรัฐออนไลน์ 16 พ.ค. 2558 04:19


 


เตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมาย หลัง สนช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยแล้ว 'ปีติพงศ์' มั่นใจจากนี้การบริหารงานยางธรรมชาติจะเป็นไปอย่างครบวงจร ...

นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ว่าเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ถือว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ผ่านกฎหมายนี้สำเร็จ เนื่องจากได้มีความพยายามที่จะผ่านกฎหมายนี้มาเป็นเวลานับ 10 ปี ซึ่งเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ก็จะทำให้การบริหารงานยางธรรมชาติทั้งด้านการ ผลิต การจำหน่าย งานวิชาการ เป็นไปอย่างครบวงจร ทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับหลัก สำคัญของกฎหมายนี้ นายปีติพงศ์ บอกว่า ได้แก่การรวมองค์การสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร (สถาบันวิจัยยาง) เข้าด้วยกัน มีกรรมการนโยบายเป็นผู้กำหนดนโยบาย ทำให้การดำเนินการและการสั่งการมีเอกภาพ สามารถสนับสนุนผู้ปลูก ผู้ประกอบการ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที การแก้ไขหลักการการใช้เงิน CESS เพื่อให้สามารถครอบคลุมกิจการต่างๆ ช่วยทำให้การพัฒนาการผลิตและการใช้ยางธรรมชาติมีประสิทธิภาพขึ้น นอกเหนือไปจากการปลูกทดแทน

ส่วนเรื่องของการควบคุมการผลิตและจำหน่าย ยางตาม พ.ร.บ. ควบคุมการยางนั้น รมว.กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า กรมวิชาการเกษตรจะต้องดำเนินการด้านการควบคุมข้อมูล การพัฒนา และควบคุมการส่งออก ตลอดจนการกำหนดคุณภาพการผลิต การพัฒนาการผลิตและจำหน่ายในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ผลิตทั้งที่เป็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชนผู้จำหน่ายยางธรรมชาติ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง จะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง มาตรการ นโยบาย และโครงการต่าง ๆ ร่วมกัน ความร่วมมือของทุกฝ่ายจะทำให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตและอุตสาหกรรมยางธรรมชาติอย่างแน่นอน.