ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 02:51:34 PM »

โวยไม้ยางพาราราคาตก แถมเกาหลีหลอกลงทุนรับซื้อถูก

  updated: 08 พ.ค. 2558 เวลา 07:59:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
 ธุรกิจไม้ยางพาราโวยซัพพลายไม้ยาง ล้นราคาตก นักลงทุนสนใจสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ติดปัญหาประชาชนในพื้นที่ต่อต้าน สายส่งไม่รองรับ และรอแก้ไขผังเมืองใหม่ จี้ ก.พลังงานช่วยแก้ไข ล่าสุดเจอนักลงทุนเกาหลีใต้หลอกเสนอราคารับซื้อไม้วูดพาลเลตราคาสูง แต่พอลงทุนซื้อเครื่องจักรเป็น 1,000 ล้าน บ. กลับกดราคารับซื้อแบบขาดทุน
 
นายสุทิน พรชัยสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันปริมาณไม้ยางพาราที่ล้นระบบแต่ไม่สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิงได้ เนื่องจากติดปัญหา 3 ประเด็น คือ 1) ประชาชนในพื้นที่ต่อต้านโรงไฟฟ้าทุกประเภท 2) ปัญหาสายส่งของระบบจำหน่ายไม่พอรองรับ แม้ว่าจะมีการทำหนังสือขอผลิตไฟฟ้าไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แต่ไม่มีการรับรองโครงการในช่วงที่ผ่านมา 3) ผังเมืองใหม่ระบุว่าไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าทุกประเภทโดยเฉพาะในพื้นที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างแก้ไขผังเมืองเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลานาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไม้ยางยังเจอปัญหาจากนโยบายให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไล่ตัดไม้ยางทิ้ง และจูงใจด้วยการชดเชยเพิ่มจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จากเดิมที่ราคา 16,000 บาท/ตัน ปรับเพิ่มเป็น 26,000 บาท/ตัน ส่งผลให้ปริมาณไม้ยางล้นตลาดและถูกกดราคารับซื้อหน้าโรงงานจากเดิมที่เคยรับซื้ออยู่ที่ 900 บาท/ตัน มาอยู่ที่ราคา 330 บาท/ตัน ล่าสุดในกลุ่มไม้ยางพารายังเจอปัญหาการส่งออก "วูดพาลเลต" หรือการนำไม้มาอัดเม็ด สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อไปยังประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีนักลงทุนมานำเสนอรับซื้อที่ 175 เหรียญสหรัฐ/ตัน ถือเป็นราคาที่ดี จึงตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มรวมมูลค่า 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อผ่านไป 8 เดือน กลับกดราคารับซื้อเหลือเพียง 110-120 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นราคาขายแบบขาดทุน จึงไม่มีใครสนใจผลิตเพื่อส่งออก

"การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลในพื้นที่มีศักยภาพสูงมาก แต่ก็มีปัญหามากมายในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหาให้ ควรทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เป้าหมายว่า โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในเมื่อภายในประเทศสามารถผลิตเศษไม้ได้มากก็ควรส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น"

นายสุทินกล่าวเพิ่มเติมว่าก่อนหน้านี้ภายในสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราพยายามจะส่งออกวูดพาลเลตไปยังประเทศอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเกาหลีใต้ แต่ต้องเจอมาตรการกีดกันทางการค้า เพราะในบางประเทศกำหนดว่า ผู้ส่งออกไม้ยางจะต้องมีภาครัฐรับรองว่าภายในประเทศมีการปลูกไม้ยั่งยืนและมีการทดแทน แต่สำหรับประเทศไทยไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบรับรองให้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนอประเด็นปัญหานี้ไปที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) แต่ยังไม่มีการพิจารณา และหากเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศอาจจะต้องมีกระทรวงพาณิชย์มาดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ต้องการให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในส่วนของโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภท รวมถึงอัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบ Feed in Tariff หรือ FiT เรียบร้อยแล้ว และเป็นอัตราที่จูงใจให้ลงทุนคือที่กำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์ ราคา 5.99 บาท/หน่วย กำลังผลิตมากกว่า 1 เมกะวัตต์ ราคา 5.41 บาท/หน่วย และกำลังผลิตมากกว่า 3 เมกะวัตต์ ราคา 4.69 บาท/หน่วย แต่จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงไม่เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล