ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 12:26:23 PM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  11  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน   และร้อนจัดในบางพื้นที่ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นได้บางแห่ง   ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นระยะนี้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 60   ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต ตรัง กระบี่ และสตูล ส่งผลให้ต้นยางได้รับความชุ่มชื้นและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
 
2.   การใช้ยาง
 
- นายอุทัย สอนหลักทรัพย์   ประธานสมัชชา สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณาคายางพาราที่สูงขึ้นในขณะนี้ เนื่องจาก 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี บริษัทเซาท์แลนด์รับเบอร์ และบริษัทไทยฮั้วยางพารา ได้ร่วมมือกัน 7 บริษัทยางพาราในประเทศอินโดนีเซีย โดยให้มีการขายยางให้แก่ผู้ใช้โดยตรง และเลิกส่งสินค้าเข้าตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ซึ่งเริ่มแล้วในเดือนพฤษภาคม นี้
 
3.   สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม   58 มีจำนวน 127,178 ตัน ลดลง 7,902 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5.85 จากระดับ 135,080   ตัน (วันที่ 24   เมษายน 58)
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 30   เมษายน เพิ่มขึ้น 535 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.77 แตะที่ระดับ 9,801 จาก 9,266   ตัน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 58
 
4.เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดสภาพคล่องมูลค่า 6.5 หมื่นล้านหยวน เข้าสู่ภาคธนาคารในเดือนเมษายน โดยผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ทั้งนี้จีนได้นำเครื่องมือนโยบาย   MLF มาใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน ปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวลดลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า   สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมีนาคม หลังจากปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนกุมภาพันธ์   ส่วนยอดค้าส่งลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนมีนาคม หลังจากหดตัวลงร้อยละ 0.6   ในเดือนกุมภาพันธ์
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) รายงานว่า   มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของ ECB กำลังดำเนินไปตามแผน และจะช่วยสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงิน แทนที่จะสร้างความเสี่ยง ทั้งนี้หลายรายกังวลว่ามาตรการ QE จะทำให้นักลงทุนทำการลงทุนแบบเสี่ยงมากเกินไปเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต การเงิน
- ธนาคารกลางจีน ระบุว่า   เศรษฐกิจจีนเผชิญกับแรงกดดันในช่วงขาลงในระยะใกล้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่จีนจะต้องใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการกระตุ้นสภาพคล่อง
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน   เปิดเผยว่า
 
  • ดัชนี ภาคผู้บริโภค   (CPE)   ซึ่งเป็นมาตรการวัดเงินเฟ้อหลัก ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในเดือนเมษายน   เมื่อเทียบรายปีจากระดับร้อยละ 1.4 ในเดือนมีนาคม และร้อยละ 0.8 ในเดือนพฤษภาคม แต่หากเทียบรายเดือน พบว่าดัชนี CPI เดือนเมษายน ขยับลงร้อยละ 0.2 ซึ่งน้อยกว่าเดือนมีนาคม ที่ปรับลงร้อยละ 0.5
-    ดัชนีภาคผู้ผลิต (PPI) ลดลงร้อยละ 4.6   ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันยาวนานถึง 38 เดือน บ่งชี้ว่าอุปสงค์ในตลาดของจีนยังคงอ่อนแอ
- กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น   เปิดเผยว่า หนี้สินของรัฐบาลกลางญี่ปุ่นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่   1,053.4 ล้านล้านเยน หรือ 8.78 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลให้หันมาใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม
 

 
- สำนักงานศุลกากรจีน เปิดเผยว่า   การส่งออกของจีนในเดือนเมษายน ปรับตัวลงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบรายปี   ขณะที่การนำเข้าในเดือนเมษายน ลดลง ร้อยละ 16.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนเพิ่มขึ้นแตะ 2.1021 แสนล้านหยวน   เทียบกับ 1.816 หมื่นล้านหยวนในเดือนมีนาคม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี   เปิดเผยว่า การส่งออกของเยอรมนีในเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 1.2   เมื่อเทียบรายเดือน
- ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากลงอีกร้อยละ   0.25 สู่ระดับร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 2.25 ตามลำดับ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11   พฤษภาคม นี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   33.55 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ไม่เปลี่ยนแปลง
-   เงินเยนอยู่ที่ 119.85 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 59.39 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น   0.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล  หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับการคาดการณ์ ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะช่วยหนุนอุปสงค์พลังงานให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย
- สำหรับสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   ส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 0.15 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
 
7.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 216.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.1เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2558   อยู่ที่ 224.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 183.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง ในเดือนเมษายน จากระดับ 85,000 ตำแหน่ง ในเดือนมีนาคม   ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับร้อยละ 5.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี
 
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการมองว่าเป็นการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้ามากกว่า ยังคงรอดูสถานการณ์   เนื่องจากปัจจุบันตลาดยางเป็นของผู้ซื้อ ถ้าราคาสูงเกินไป ก็ชะลอการซื้อลง เพราะโดยภาพรวมอุปทานยางยังมีจำนวนมาก เพียงแต่ลดลงในระยะสั้น ๆ   ช่วงฤดูยางผลัดใบ เมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดเต็มที่ ราคาอาจจะปรับตัวลดลง
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้แรงหนุนจากธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 6 เดือน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะลอตัว รวมทั้งอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย  นอกจากนี้สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ลดลงร้อยละ 5.85 สู่ระดับ 127,178 ตัน จากระดับ 135,080 ตัน ณ วันที่ 24 เมษายน และอินเดียนำเข้ายางเพิ่มขึ้น



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา