ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2015, 08:56:10 AM »

โค่นยาง..ปลูกพืชอื่นทดแทน ระวัง..หนีเสือปะจระเข้


โดย ชาติชาย ศิริพัฒน์แม้ไทยจะไม่ได้ปลูกยางมากเป็นอันดับ 1 เท่าอินโดนีเซีย แต่ผลผลิตน้ำยางที่ออกมาจากสวนบ้านเรามีมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะผลผลิตน้ำยางของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 262 กก.ต่อไร่ต่อปี ในขณะที่อินโดนีเซียทำได้แค่ 143 กก.เท่านั้นเราจึงกลายเป็นผู้ผลิตยางพาราเบอร์ 1 ของ โลก แต่ผลผลิตของเราต้องพึ่งพาตลาดโลกเป็นหลัก เพราะส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 90% มี 10% เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกซบความต้องการใช้ยางน้อยลง ยางล้นตลาดราคาร่วง รัฐบาลจึงมีนโยบาย
คิดง่ายๆ...ลดยางล้น ลดพื้นที่ปลูกยางให้เกษตรกรล้มสวนยางเก่า ปลูกพืชอื่นทดแทนเป็นนโยบายที่คิดดีมองรอบด้านแล้วหรือ...ไม่ใช่นโยบายชักเข้าชักออก เดี๋ยวส่งเสริมให้ปลูกเดี๋ยวส่งเสริมให้เลิก เหมือนหลายโครงการที่ผ่านมา?ยางไม่ได้มีปัญหา นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างหากที่เป็นปัญหา เราปลูกยางมาเป็น 100 ปี แต่ภาครัฐแทบไม่เคยส่งเสริมแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์จริงจังเลย ที่คิดจะโค่นสวนยางไม่รู้รึว่า ยางพาราคือพืชที่สร้างอนาคตให้กับประเทศไทยได้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น ยังเป็นพืชแก้ปัญหาหลายอย่างให้กับประเทศได้ โดยพืชตัวอื่นทำไม่ได้?ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย บอกว่า แม้ยางจะใช้เวลาปลูกถึง 7 ปีกว่าจะกรีดได้ แต่หลังจากนั้นเกษตรกรจะมีรายได้ทุกวัน มีพืชตัวไหนทำได้อย่างนี้บ้าง ปาล์มน้ำมันต้องรอ 4 เดือนถึงจะได้เงิน อ้อยปีละครั้งยางกรีดได้แล้วเกษตรกรมีงานให้ทำทุกวัน ไม่สามารถทิ้งสวนไปทำอย่างอื่นได้ ไม่เหมือนข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มีเวลาว่างพักหลายเดือน เกิดปัญหาแรงงานอพยพเข้าเมือง...แต่ยางไม่มียางเป็นไม้ยืนต้น ปลูกแล้วเท่ากับเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มป่า เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดิน...ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ทำได้ไหม...ถึงสวนผลไม้จะทำได้ แต่ให้รายได้แค่ปีละครั้ง ไม่เหมือนยางได้ทุกวัน


เป็นพืชทนแล้งดูแลรักษาง่าย โรคน้อย ยาสารเคมีไม่ต้องใช้ มีค่าใช้จ่ายแค่ปุ๋ยเท่านั้นเอง...เหมาะกับภาคอีสานมาก เกษตรกร 2 ผัวเมียมีสวนยางแค่ 10?15 ไร่ กรีดเองทำเองอยู่ได้สบายที่จะให้โค่นยางหันไปปลูกปาล์มน้ำมัน ดร.อนันต์ มองว่า แน่ใจได้แค่ไหนจะไม่เป็นกรณี ?หนีเสือปะจระเข้? ทุกวันนี้ปาล์มน้ำมันมีปัญหาผลิตได้มากกว่าใช้ในประเทศ แถมรัฐบาลยังมีนโยบายอั้นราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ไม่ให้เกินลิตรละ 42 บาท...ผลปาล์มราคาดี เกษตรกรทำท่าจะยิ้มได้ กระทรวงพาณิชย์สั่งน้ำมันปาล์มดิบเข้ามาทุบราคาผลปาล์มสดทุกทีไปมิใช่หรือส่วนที่อ้างมีตลาดรองรับ เพราะจะเอาไปทำไบโอดีเซล B7...นโยบายทำ B7-B10 ไปยัน B100 มีมานานเท่าไรแล้ว ที่ผ่านมามีแต่ชักเข้าชักออก ไม่เอาไม่ทำจริงสักทีเพราะในทางปฏิบัตินักการเมืองดูจะเป็นห่วง ปตท.จะขายน้ำมันได้น้อย กลัวหุ้น ปตท.จะตก... มากกว่าจะช่วยเกษตรกรมิใช่หรือ.